วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

ดุษฎีนิพนธ์พระวิทยากรธรรมะโอดี4.0 สุดยอดสันตินวัตกรรมเล่มแรก




ดุษฎีนิพนธ์พระวิทยากรธรรมะโอดี4.0 สุดยอดสันตินวัตกรรมเล่มแรก : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน 


เมื่อวันเสาร์ที่ 1 เดือนกันยายน พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา มีการโฟกัสกรุ๊ปดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา รุ่น 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มแรก  เรื่อง"รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบธรรมะโอดีโดยพุทธสันติวิธี" ของพระปราโมทย์ วาทโกวิโท  โดยมีผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณด้านพระพุทธศาสนา พุทธสันติวิธี สันติวิธี สันติภาพ วิทยากรการฝึกอบรม การพัฒนาวิทยากรมืออาชีพ และการพัฒนางานวิจัยจากทั่วประเทศ จำนวน 16 รูป/คน แสดงความคิดเห็น โดยมีพระเมธาวินัยรส,รศ.ดร.รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร)  เป็นประธาน ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา เป็นวิทยากร เพื่อให้การทำวิจัยประกอบดุษฎีนิพนธ์ครั้งนี้ดีที่สุดเพื่อเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาและสังคมต่อไป

การวิจัยครั้งนี้ได้ลงพื้นที่จริงทำภารกิจ "4 ส." คือ "สัมภาษณ์ สังเกตการณ์ สนทนากลุ่ม" พร้อมด้วยการ "คิด ค้น คลุก คว้า คีย์"  โดยได้ลงภาคสนามคลุกคลีกับแหล่งข้อมูลมีการเฝ้าสังเกตอย่างมีส่วนร่วม สัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม สำหรับการออกแบบการวิจัยเชิงเพื่อสันติภาพควรออกแบบ คือ การสำรวจความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนกระบวนการสันติภาพ การสำรวจมุมมองที่มีต่อสาเหตุแห่งความขัดแย้ง การสอบถามทางเลือกที่อาจมีความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหา การสำรวจข้อคิดเห็นการนำข้อตกลงไปปฏิบัติจริง กระตุ้นให้สังคมได้รับรู้ตื่นตัวกระบวนการสันติภาพ การวิจัยที่นำประชาชนไปสู่ความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของกระบวนการแก้ไขปัญหา เป็นการวิจัยที่เปิดโอกาสให้คู่ขัดแย้งและกลุ่มผู้มีส่วนร่วมได้ส่วนเสียทำงานร่วมกัน 

การวิเคราะห์ คือ การแยกแยะทางความคิด หรือ ทางวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เห็นองค์ประกอบต่างๆ ที่ทำให้เกิดสิ่งนั้น เช่นการอ่านหนังสือแล้ววิเคราะห์ว่า จากการอ่านมีอะไรที่เป็นส่วนสำคัญและแบ่งส่วนสำคัญได้ส่วนการสังเคราะห์คือ กระบวนการหรือผลของการนำเอาปัจจัยสองอย่างขึ้นไปที่แยกกันมารวมกันเข้าแล้วก่อให้เกิดสิ่งใหม่ เช่น การรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วสังเคราะห์ให้เหลือที่สำคัญที่สุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น 

จนทำให้ได้รูปแบบ คือ "ฝึก เตรียม ร่วม ทำ : PPJD" จนสำเร็จนำมาสู่การโฟกัสกรุ๊ปจนเสร็จสิ้นกระบวนการ หลังจากมีความเห็นจากผู้ร่วมกระบวนการครั้งนี้เช่น นายวุฒิชัย บุญครอง วิทยากรและนักสร้างแรงบันดาลใจ หรือ "ครูอ๊อฟ วิทยากรนอกกรอบ" เห็นว่า  "ประเด็นเนื้อหาที่ผมวิพากษ์ ผมเพิ่มมุมมอง ไปที่ “ความเป็นครู” ไม่ว่าเราจะใช้คำว่า พระวิทยากร หรือ วิทยากร สุดท้ายแล้วหัวใจในแก่นแท้ของ วิทยากร ก็คือการเป็นผู้ให้ ซึ่งการเป็นผู้ให้ที่แท้จริงแล้วก็ คือ ครู ให้โดยไม่หวังผลอะไร ตัวผลงานวิจัยนั้นดีมาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้กัน คือ ผลงานวิจัยชิ้นนี้จะเกิดเป็น นวัตกรรม ในโลกปัจจุบันแต่นี้จนถึงอนาคต ดังนั้น“ความเชื่อ ในครั้งเก่าก่อนอาจจะไม่ใช่ ไม่ตอบโจทย์ ไม่เหมาะสมกับบริบท อีกต่อไป”

"ดังนั้นวิทยากรในความหมายของผม คือต้อง มีหัวใจที่เป็น “ครู” และ ครูนั่นแหละที่จะต้องฝึกฝนกระบวนยุทธไปเป็น Facilitator เราต้องเรียนรู้ในบริบทว่า “ฟา” จริงๆแล้วนั้นมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร และผสานกระบวนยุทธกับการเป็น Coach หรือเรียกง่ายๆว่า เรียนรู้จากบทบาท “ฟา” เติบโตอย่างมีความหมายในกระบวนการเรียนรู้และ กลับมาในบทบาท Coach อีกครั้ง เพื่อพัฒนาและต่อยอดในขั้นตอนต่อไป การเรียนรู้จึงรวดเร็วและต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา"  "ครูอ๊อฟ วิทยากรนอกกรอบ" ระบุและเสริมว่า 

ผลงานวิจัยชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นในยุคสมัยที่คนที่ทำหน้าที่ในบทบาท “วิทยากร” “ครู” “พระวิทยากร” หรือ แล้วแต่จะนิยาม เป็นงานที่งดงามและมีความเป็นกุศลประโยชน์สูงมาก พระอาจารย์ต้องอาศัยความทุ่มเทอย่างมาก ในการเก็บรวบรวมในแง่มุมต่างๆในทุกๆรายละเอียด เเละต้องใช้หลักการ ทฤษฏีมากมายมาอธิบายในทุกมิติ

ขณะที่ดร.จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร วิทยากรกระบวนการผู้เชี่ยวชาญการฝึกอบรม ระบุว่า ประเด็นเนื้อหาที่ตนให้มุมมองมุ่งไปที่ “ความเป็นวิทยากร” ให้ความเห็นเเละเขียนบันทึก ถึงประเด็นนี้ผ่านประสบการณ์การทำงานของตัวเองที่คิดว่าตกผลึกในระดับหนึ่งในเเวดวงวิทยากร  วิทยากรในยุคศตวรรษที่ 21 หรือ อาจเรียกว่า วิทยากร 4.0 ต้องรื้อวิธีคิดแบบใหม่ทั้งหมด เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคม วิธีการเรียนรู้แบบเดิมอาจใช้ได้ เเต่ไร้พลัง วิทยากรจึงต้องมีสมรรถนะในการออกแบบการเรียนรู้แบบใหม่ที่เท่าทันกับสังคมใหม่ ...วิทยากรในความหมายนี้ต้องเป็น Process and Knowledge Facilitator ไปพร้อมกัน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นงานเชิงนวัตกรรม ตอบโจทย์การเรียนรู้ในปัจจุบันเเละเริ่มต้นสำหรับอนาคต

"วิทยากรในความหมายผมจึงไม่ใช่แค่คนที่ส่งผ่านความรู้ หรือ อาจมีทักษะปฏิบัติบ้างเเต่ยังไม่ตกผลึก วิทยากรในความหมายผมจะหมายถึง “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Facilitator)เริ่มที่ตัววิทยากรก่อนที่ต้องมีเเรงบันดาลใจ มีวิธีคิดที่ถูกต้อง (Right Concept)มุมมองที่ใช่(Right View) คุณลักษณะเหล่านี้จะทำให้วิทยากรเป็นบุคคลเรียนรู้ (รู้รอบ - รอบรู้) ส่วนทักษะนั้นพัฒนาได้ เมื่อทุกอย่างพร้อม วิทยากรจะเป็นผู้ที่เป็นผู้ออกแบบการเรียนรู้ เเละสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลังการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เรื่องของ Contents ผมจึงมองว่าสำคัญน้อยกว่าตัววิทยากรที่กำลังจะถูกพัฒนาในทุกมิติผ่านชุดความรู้ไปสู่การปฏิบัติของงานวิจัยชิ้นนี้" ดร.จตุพร ระบุ

ทางด้านพระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ ประธานพระวิทยรกรธรรมะอารมณ์ดี เสนอแนะว่า  พระวิทยากรที่ทำหน้าที่เผยแพร่นอกจากจะมีความรู้(วิชชา) แล้วจะต้อมีคุณธรรม(จรณะ) คือต้องทำงานเผยแผ่ให้หนักแน่น อดทนอดกลั้นต่อคำดูหมิ่นได้ดี แต่ในบริบทสังคมที่กินเร็ว อิ่มเร็ว จึงต้องเปลี่ยนวิธีการจากวิถีเดิมๆ  ส่วนจะเผยแผ่ในยุค 4.0 ว่า อะไรที่ได้จากเทคโนโลยี อะไรที่จะนำเสนอในเทคโนโลยี และจะนำเทคโลยีมารับใช้การเผยแผ่และการเผยแพร่พระพุทธศาสนาได้อย่างไร ในภาววิสัยของพระนักเผยแผ่ตามพระธรรมวินัยเราจะได้คำตอบจากงานวิจัยดุษฏีนิพนธ์เล่มนี้

ดังนั้น จากผลการโฟกัสกรุ๊ปดุษฎีนิพนธ์หลักสูตรปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา รุ่น 1 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มแรก  เรื่อง"รูปแบบการพัฒนาวิทยากรต้นแบบธรรมะโอดีโดยพุทธสันติวิธี" ครั้งนี้สามารถประมวลความเห็นต่อยอดได้ว่า 



เป็นพระวิทยากรจงอดกลั้น
แต่อย่าแค่บากบั่นตามวิถี
จงต่อยอด4.0ธรรมะโอดี
นี่แหละสุดยอดนวัตกรรม

1 ความคิดเห็น:

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...