วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561
"สกว."ชูวิจัย"มจร"พบกลไกศาสนา สร้างสันติวัฒนธรรมสันติสุขอาเซียน
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2561 ตามที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) โดยฝ่ายนโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติกลุ่มประชาคมอาเซียน ได้เผยแพร่ผลการวิจัยเรื่อง การผสานกลไกทางพระพุทธศาสนาเพื่อสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในประชาคมอาเซียน ซึ่งเจ้าของงานวิจัย คือ พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ.รศ.ดร. รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 โรงแรมพลูแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพมหานคร ที่ผ่านมานั้น
พระมหาบุญเลิศ เปิดเผยว่า การสร้างสันติสุขโดยใช้กลไกทางศาสนาที่ผู้คนในบริเวณพรมแดนเคารพนับถือร่วมกัน มีผลต่อการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เป็นผลมาจากสาเหตุอื่นอันได้แก่ ความขัดแย้งด้านประวัติศาสตร์ เขตแดน การค้าขาย เป็นต้น ที่เกิดขึ้นในบริเวณพรมแดนไทย ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชา ซึ่งส่งผลต่อความสัมพันธ์ของผู้คนบริเวณชายแดนให้เลวร้ายลง และกระทบต่อเศรษฐกิจชายแดนของไทยและเพื่อนบ้านในบางช่วงเวลา
งานวิจัยได้พบว่า รูปแบบการสร้างความร่วมมือระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านผ่านกลไกของศาสนาพุทธ ประกอบด้วยหลักธรรม พิธีกรรมและสถาบัน องค์กร 3 ภาคส่วนที่สำคัญ คือ ภาครัฐกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชากิจ ต้องเข้ามาสนับสนุน และดำเนินการผ่านกิจกรรม (1) วันสำคัญทางพุทธศาสนา (2) การจัดกิจกรรมไหว้พระ 9 วัดสองแผ่นดิน (3) การจัดประเพณีสงกรานต์ (4) การจัดงานประจำปีตามจารีตประเพณีของท้องถิ่น และ(5) การร่วมมือทางด้านการศึกษาและกิจการพระพุทธศาสนา ร่วมจัดตั้งองค์กรความร่วมมือทางพุทธศาสนาระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การถักทอผู้คนในประชาคมอาเซียนให้เป็นหนึ่งเดียว
การจัดกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นต้นแบบและสามารถเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในศาสนาเดียวกันและต่างศาสนาให้อยู่ร่วมกันได้ คือ การจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นในอำเภอแม่สอด จังหวัดตากกับเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ และประเทศไทยกับลาว ส่วนไทยกับกัมพูชานั้นมีเพียงการจัดงานวันอาสาฬหบูชา แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก สาเหตุสำคัญที่ทำให้กิจกรรมเกิดขึ้นและไม่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่เป็นผลมาจากการขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนทั้งสองประเทศ ขาดผู้ริเริ่มที่จะทำหน้าที่ประสานงานหลักในการออกแบบกิจกรรมทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้เพื่อให้มีกลไกที่จะทำหน้าที่ในการออกแบบกิจกรรมและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง จึงมีข้อเสนอให้จัดตั้งผู้ประสานงานวัฒนธรรมสัมพันธ์อาเซียน เป็นกลุ่มเครือข่ายจิตอาสาจากหลายศาสนาในพื้นที่ชายแดนมาทำหน้าที่สร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรม
แนวทางการสร้างความร่วมมือทางศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในประชาคมอาเซียน คือ การส่งเสริมการสร้างพื้นที่การเรียนรู้เข้าถึงแก่นของศาสนาตนและสามารถอธิบายคำสอนของผู้สอนศาสนาได้อย่างถูกต้อง ปราศจากอคติและควรมีการส่งเสริมให้เรียนรู้จักศาสนาต่างๆ เพื่อเป็นกระบอกเสียงในการทำความเข้าใจกับศาสนิกของตนกรณีหากมีประเด็นความสงสัยหรือความขัดแย้ง การส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำศาสนาในบริเวณรอบข้าง การเอื้อเฟื้อเกื้อกูล การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นรากฐานที่ทำให้ศาสนิกของตนได้ซึมซับและสร้างพื้นที่กัลยาณมิตรที่ไร้พรมแดนทางศาสนา
พระมหาบุญเลิศ กล่าวด้วยว่า ประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ คือ การได้ต้นแบบของกลไกทางศาสนาที่เป็นเครื่องมือในการสานสัมพันธ์นำมาซึ่งความสันติสุขได้จริง โดยมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในระดับองค์กร คือ องค์กรของรัฐทั้งสองฝ่ายได้ร่วมมือจัดทำแผนงานและโครงการกิจกรรมทางศาสนา มีการยกระดับทุนทางวัฒนธรรมมาส่งเสริมการท่องเที่ยวสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้าน ในระดับประชาชนคือ ประชาชนมีความร่วมมือในการจัดกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน ทำให้ประชาชนเปิดรับความเป็นมิตรภาพต่อกันระหว่างศาสนาและระหว่างชาติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"เสริมดวงรับปีใหม่ 2567: เหรียญมงคลหลวงปู่ดุสิต วัดไผ่แขก"
รายงานข่าวจาก วัดไผ่แขก อ.เมืองสุพรรบุรี แจ้งว่าเมื่อวันศุกร์ ที่ 15 พฤศจิกายน 2567ผ่านมา ทางวัดโดยทีมงานพี่เสือนำโดยป้อม สกลนคร และ นิภัทร์...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ขอบคุณมากครับ
ตอบลบสามารถติดตามหรือติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไหนบ้างครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ขวัญชิต โพธิ์กระสังข์
0874569517
19 ม.ค. 62