วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561
รัฐบาลเล็งตั้งสถาบันวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ตั้งคณะทำงานร่วมติดตามและประเมิน“เน็ตประชารัฐ”
รัฐบาลเล็งตั้งสถาบันวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ตั้งคณะทำงานร่วมติดตามและประเมิน“เน็ตประชารัฐ”
วันที่ 14 ก.ย.2561 พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบาย เพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานและแนวทาง ปฏิบัติการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศ เพื่อการประมวลผลข้อมูลภาครัฐมาใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายและแก้ปัญหาให้กับประชาชน
"อีกทั้งยังจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลภาครัฐ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของรัฐบาลและคณะกรรมการระดับชาติ พร้อมให้คำปรึกษาด้านการจัดหาวิเคราะห์และบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ ตลอดจนยกระดับความสามารถและทักษะบุคลากรของภาครัฐ รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นอกจากนี้ยังมีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศเพื่อการประมวลผลข้อมูลภาครัฐ" พลอากาศเอกประจิน กล่าว
วัตถุประสงค์ให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปสร้างกำลังคนที่มีความสามารถในด้านการดูแลระบบคลาวด์ และบิ๊กดาต้า รวมทั้งสร้างความเข้าใจทางด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ขณะที่รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เคยสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ให้ทุกหน่วยงาน ภาครัฐนำดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในภารกิจ และภารกิจเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยให้ดำเนินการเกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน
ตั้งคณะทำงานร่วมติดตามและประเมิน“เน็ตประชารัฐ”
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2561 นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงดิจิทัลฯ จัดตั้งคณะทำงานร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ "เน็ตประชารัฐ" พร้อมทั้งรายงานผลให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรับทราบ
กระทรวงดิจิทัลฯ ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แต่งตั้งคณะทำงานร่วมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการเน็ตประชารัฐ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นประธานคณะทำงานฯ นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นคณะทำงานร่วมกับ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลฯ หัวหน้าผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผู้แทนจาก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และผู้อำนวยการศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ เป็นเลขานุการคณะทำงาน
สำหรับอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานฯ ชุดนี้ ประกอบด้วย การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ "เน็ตประชารัฐ" ในด้านคุณภาพการให้บริการตลอดจนติดตามการแก้ไขปัญหา และอุปสรรค รวมถึงการเชิญผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หรือเชิญบุคคลมาชี้แจงให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียด ข้อคิดเห็น ได้ตามความจำเป็น รวมทั้งเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ตลอดจนการปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย พร้อมรายงานผลการดำเนินงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ รับทราบ เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ทั้งนี้ ดร.พิเชฐ กล่าวต่อว่า ในโอกาสครบรอบ 2 ปี วันคล้ายวันสถาปนากระทรวงดิจิทัลฯ ทิศทางการดำเนินงานนับจากนี้จะเน้นผลักดันใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่ เรื่องที่ 1 การเตรียมการจัดทำร่างแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามภารกิจงานของกระทรวงฯ โดยได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (2561 – 2565) ตามภารกิจงานของกระทรวงฯ ซึ่งมีแผนงานในโครงการสำคัญที่ต้องเร่งรัดให้เกิดขึ้น ภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ (1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง (2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
เรื่องที่ 2 การผลักดันส่งเสริมการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Park Thailand : EECd) เพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล ในการขับเคลื่อนประเทศ สู่การเป็น Thailand 4.0 รองรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลแห่งอนาคต เพื่อให้การดำเนินการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม
เรื่องที่ 3 การเร่งรัดต่อยอดการพัฒนาเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านโครงการ Digital For All โดยเป็นการรวม 3 โครงการสำคัญของกระทรวงฯ เน้นการยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ โครงการเน็ตประชารัฐ โครงการระบบงานร้านค้าดิจิทัลชุมชน (Point of Sale : PoS) และโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน ให้มีการดำเนินงานเชื่อมโยงต่อยอดซึ่งกันและกัน ผลักดันประโยชน์ต่อประชาชนในชุมชนทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า เทคโนโลยีดิจิทัลมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นทั้งตัวเร่งการขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเป็นเครื่องมือพลิกโฉมประเทศไทยตามแนวทางของ “Digital Transformation” เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักทางเศรษฐกิจ โดยกระทรวงฯ ได้ดำเนินการตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลทั่วประเทศ สร้างรายได้ให้ประชาชนในชุมชนผ่าน E-Commerce และยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ การเรียนรู้ การเข้าถึงบริการของรัฐ การทำการเกษตรยุคใหม่ รัฐบาลเร่งปรับฐานเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัลผ่านโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ อาทิ Smart City, Coding Nation, Digital Transformation และ Digital Park Thailand ที่จะส่งให้ไทยเป็นผู้นำด้านการค้าการลงทุน และการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค
สำหรับการจัดงาน Digital Thailand Big Bang คือโอกาสสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมให้กับคนไทยได้เข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ สร้างการรับรู้และเล็งเห็นประโยชน์ของการนำดิจิทัลมาขับเคลื่อนทั้งระบบเศรษฐกิจและสังคม ปีนี้กระทรวงฯ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ดำเนินการจัดงานขึ้น 2 ส่วน คือ ส่วนภูมิภาค จัดใน 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น, เชียงใหม่, ระยอง และสงขลา ทั้ง 4 เมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับการคัดเลือกว่าที่มีศักยภาพและเป็นเมืองนำร่องสมาร์ทซิตี้ ภายใต้โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนที่สำคัญ
งานในส่วนภูมิภาคประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย มีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 61,000 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการ นักพัฒนาดิจิทัลซอฟต์แวร์ โปรแกรมเมอร์ นักเรียน นักศึกษา ครูและผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป งานส่วนที่สอง จัดในส่วนกลาง ระหว่างวันที่ 19-23 กันยายน ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค โดยได้เพิ่มพื้นที่จัดงานให้ใหญ่ขึ้นเป็น 60,000 ตารางเมตร เต็มพื้นที่ชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพ็ค สามารถรองรับการแสดงเทคโนโลยีชั้นนำ และเพิ่มวันจัดงาน เป็น 5 วัน
ทั้งนี้ กระทรวงดีอีตั้งใจให้งานเป็นมหกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพันธมิตรจาก 12 ประเทศ กว่า 500 หน่วยงานภาครัฐ เอกชนและดิจิทัลสตาร์ทอัพ ร่วมนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีหลากหลายสาขา ให้ผู้ร่วมงานได้สัมผัสประสบการณ์ตื่นตาตื่นใจ เข้าใจถึงประโยชน์ ความสะดวกสบายและโอกาสใหม่ทางธุรกิจ
ด้านนายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) กล่าวว่า Digital Thailand Big Bang 2018 ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในประเทศ กว่า 100 หน่วยงาน และความร่วมมือระดับนานาชาติจาก 12 ประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น ลาว มาเลเซีย โปแลนด์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม เนปาล อินเดียและอิสราเอล มาเพื่อให้ผู้เข้าชมงานได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล การก้าวให้ทันเทคโนโลยีและนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยตั้งเป้าจะมีผู้เข้าชมงานทั้ง 5 วัน ไม่ต่ำกว่า 250,000 คน
งานนี้จะทำให้ทุกคนได้พบกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศใน 8 ด้านคือนวัตกรรม Cloud computing ที่เชื่อมโยงโลกทั้งใบอย่างไร้ขีดจำกัด การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคที่เชื่อมโยงไปทั่วโลกผ่านดิจิทัลเทคโนโลยี อาทิ ระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำ (Submarine Cable) และดวงดาวอัจฉริยะหรือดาวเทียม เป็นต้น มิติของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลขนาดใหญ่ ที่นำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีแห่งอนาคต ทั้งเทคโนโลยีใหม่ เทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) และนวัตกรรมดิจิทัลจากเหล่า digital innovators กว่า 800 ราย โอกาสมหาศาลในโลกแห่งข้อมูลไร้พรมแดนที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่กับบล็อคเชน ที่ไม่ใช่ดิจิทัลเฉพาะโลกการเงินแต่คือดิจิทัลสำหรับทุกคน
การศึกษาระบบใหม่ ให้คนไทยก้าวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ coding ถึงระดับ advance อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ก้าวล้ำสู่อีกขั้นของ 7 เมืองอัจฉริยะ กับการเตรียมพร้อมรองรับเป็นเจ้าภาพระดับอาเซียน ปี 2019 และ มหกรรมการแข่งขันระดับเยาวชนเข้าร่วมกว่า 5,000 คน เพื่อแสดงความสามารถทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยี ในการแข่งขันหุ่นยนต์ การแข่งขันบินโดรน การแข่งขันออกแบบภาษาคอมพิวเตอร์ เป็นต้น(ที่มา http://www.banmuang.co.th/news/politic/125096)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต
วิเคราะห์ ๕. ปารายนวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย สุตตนิบาต ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ "ปารายนวรรค...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น