วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561

การพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาระให้พระสงฆ์ในสังคมไทย




วัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาระให้พระสงฆ์ในสังคมไทยจนสามารถพัฒนาเป็นพระสื่อข่าวในอนาคต เพราะข่าวคืออาวุธที่สำคัญยิ่ง ที่จะเป็นเครื่องมือในการสร้างสันติภาพโลก

ทุกวันนี้การพัฒนาระหว่างร่างกายและจิตใจหรือสมองและจิตใจเข้ามาใกล้กันและกัน เนื่องจากมีการพัฒนา AI ประดิษฐ์หรือมนุษย์หุ่นยนต์เหมือน การใช้พื้นที่ต่างๆ ทั้งด้านอุตสาหกรรมแทนแรงงานคน ด้านการสื่อสารสารสนเทศที่ทำมาใช้ด้านบวกและลบ ด้านบวกอย่างเช่่นเฟซบุ๊กนำมาใช้สกัดข่าวปลอมหรือข่าวที่สร้างความเกลียดชังหรือความรุนแรง  หรือสำนักข่าวบีบีซีนำมาใช้เอื้อให้สามารถเข้าใจ ตั้งคำถามได้ ให้คำ อธิบายที่สามารถตีความเพื่อให้การเสนอข่าวที่เป็นความจริง ไม่ใช่เรื่องแต่ง และใช้ตรวจสอบข้อมูลในทุกวันให้เกิด หรือด้านลบคือใช้ AI สร้างข่าวปลอมปล่อยในสื่อออนไลน์

ทั้งนี้มีการนำเสนอบทความวิชาการได้มีผู้เสนอเนื้อหาเกี่ยวกับ AI ที่สัมพันธ์กับวิญญาณด้วย จึงนับได้ว่าการพัฒนาความคิดด้านกายขยับเข้ามาใกล้ด้านจิตทุกขณะ แม้ว่าจะนักวิชาการแสดงความเห็นว่าแม้ว่า AI จะพัฒนาไปมากเพียงใดก็ตามก็จะไม่กระทบต่อผู้นำทางจิตวิญญาณคือศาสนาก็ตาม ดังนั้นจึงเป็นประเด็นที่ต้องวิจัยต่อว่า AI จะสัมพันธ์กับฝ่ายจิตวิญญาณในบริบทใด ฝ่ายใดจะถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือจะเอื้อกันอย่างไร เพราะล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ได้มีการคิดรหัสที่จะสะกัด AI คลองโลกได้แล้วโดยให้ชื่อว่า "โง่ประดิษฐ์" และพระพุทธศาสนาจะมีเครื่องมือใดที่จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ "โง่ประดิษฐ์" อย่างไร

รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เข้ามาบริหารประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๗ เป็นต้นมา ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประชากรยุคศวรรษที่ ๒๑ ที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะ ๓ ด้าน (๓ Types of 21st Century SkillS ) คือ 

๑) ทักษะการเรียนรู้ (Learning skills) ประกดอบด้วย ๔ C คือ ๑.๑ ทักษะเชิงวิเคราะห์(จิ)  (Critical thinking)   โดยรู้จักวิเคราะห์ด้วยด้วยทฤษฎีสวอท(Swot Analysis) โดยมีองค์ประกอบคือ จุดแข็ง   (Strength) จุดอ่อน (W=Weakness) โอกาส Opportunity และสิ่งคุกคามหรืออุปสรรค (T=Threat) รู้จักหัวใจนักปราชญ์คือรู้จักฟัง(สุ) รู้ตั้งคำถาม (ปุ)  รู้จักประเมิน  (จิ)  รู้จักสรุปหรือเขียน (ลิ) 

๑.๒ ทักษะการคิดสร้างสรรค์(Creative,Creativity) สร้างความแตกต่าง  สร้างคุณค่า  มีประโยชน์  สังเคราะห์ทางออกใหม่(นวัตกรรม)  นวัตกรรมทางความคิด (Innovation of Thought) มีทัศนคติ (Attituce)  แนวคิด  (Concept) การจำแนกแจกแจง (segmentation) 

๑.๓ ทักษะการสื่อสาระ (Communication)  เข้าถึง เข้าใจ (Knowledge)ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างเช่นทฤษฎี SMCR และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในปริบทหรือรูปแบบต่างๆ หรือพัฒนาได้ผลดี อย่างเช่นรู้จักลักษณะของสื่อเช่น Tele communication  Online Muti Journatitsm Convergent Journatitsm  Peace Journalism Online Journalism Convergence , Convergent  Journalism Peace Journalism  Mobie Journalism  Big Journalism ทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนข้อมูลมาก หรือวารสารศาสตร์ บิ๊กสื่อ นิยามจากพิจิตรา หนังสือวารสารสมาคม ทำหน้าที่ประสาน 5G และ IOT Backpack ournalism Robo Journalism (โรบอต) Cross-media journalism Peace Journalism รวมถึงนวัตกรรมการสื่อสาร( Inovation of Communication) 

๑.๔ ทักษะการทำงานร่วมกัน(สังฆะ) (Collaborating, Collaborative) ใจกว้าง เคารพความแตกต่าง (ขันติ)   ทำงานเป็นทีม  (prosperity)  ความรุ่งเรืองร่วมกัน  (Mutual Benefit)  และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน

๒) ทักษะการรู้เท่าทัน (Literacy Skills)   ๒.๑ การรู้เท่าทันข่าวสาร (Information Literacy) เช่นการแชร์( Share)เป็นต้น ๒.๒ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)  ๒.๓ การรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Technology Literacy) อย่างเช่น Machine Learning E-Electronic

๓) ทักษะชีวิต (Life Skills) ๓.๑ การยืดยุ่นหรือการปรับตัว (Flexibility การจัดวางตัวตน (Positioning) ความไว้เนื้อเชื่อใจ( Mutual Trust)  การเคารพซึ่งกันและกัน  (Mutual Respect)  ๓.๒ ความคิดริเริ่ม ต้นคิด (Initiative)  ๓.๓ ทักษะทางสังคม (Social Skills) เป็นคนมีผลิตภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  ความรับผิดชอบ (Responsibility) ๓.๔ ทักษะด้านคุณภาพ คุณธรรม (Produclivily   Buddist Digital marketing Mindset  Mindfulness  MindmapBuddist Mindset is not I go to AI for All of us)  ๓.๕ มีภาวะผู้นำ (ศาสตร์พระราชา) (Leadership) 

การปรับปรุงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ ที่กำหนดดังนั้น จึงเป็นที่รัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีแนวความคิดแนวคิดไทยแลนด์ ๔.๐ (Thailand ๔.๐)  ภายใต้การวางนโยบายระยะยาวผ่านยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะพัฒนาประเทศไปสู่การใช้เทคโนโลยี ใช้ดิจิทัลเพื่อช่วยพัฒนาประเทศไทย 

การพัฒนาการณ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ก้าวหน้าขึ้นดังกล่าว รัฐบาลายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(พ.ศ.๒๕๕๗-ปัจจุบัน)  ได้มีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ ๔.๐ (Thailand ๔.๐)  โดยมีแผนงานที่รัฐบาลพยายามผลักดันในปี ๒๕๖๑ ประกอบด้วย 

๑) โครงสร้างพื้นฐาน (Digital Infrastructure) ทั้งเน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงหมู่บ้านทั่วประเทศ และเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ โดยเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้าน e-Commerce, e-Health และการเรียนรู้ 

๒) การผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Goverment) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๖ ด้านคือ  ๑. Open Data ๒.  Base Analytics Data ๓. Cloud Services Data  อย่างเช่น Amazon และ  Alibaba or MCU ๔. Hard ware,Soff Ware Data  ๕. Data Analytic และ ๖. Data center เพราะปัจจุบันข้อมมูลที่มีจะต้องเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (Data Analytic)ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และหัวใจสำคัญคือจะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะต้องบอกได้ว่า ข้อมูลอะไรที่สำคัญ ก่อนจะนำมารวมกันและสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ต่อได้

๓) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)
๔) การพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Application and Development)  ได้แก่ IoT Institute, Digital Park, Smart Cities 
และ ๕) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower) ให้แก่บุคลากรและประชาชนทุกระดับ

ทั้งนี้เพื่อ เตรียมเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ 

๑) Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุ กรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ Bio Bank, Gene Bank, PlantFactory และ Bioinformatics เป็นต้น 

๒) Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพรวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ อาทิ High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 

๓) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น และมีเป้าพัฒนาเป็นสตาร์ทอัพ (Startup)  ๖ กลุ่ม ดังนี้ 

๑) E-commerce : การค้าขายผ่านสื่อออนไลน์ทั้งในรูปแบบของสินค้าและบริการ
๒) Fintech : ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีกับการเงิน เช่น การลงทุน การทำบัญชี เป็นต้น
๓) Agritech : เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นกลุ่มที่ช่วยผลักดันให้งานด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้วเพิ่มมูลค่ามากขึ้น 
๔) Edtech : ธุรกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ เน้นกระจายองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย และเป็นวงกว้างมากขึ้น
๕) E-service : บริการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เช่น ชำระค่าบริการออนไลน์ เป็นต้น
๖) IOT : การเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ

หลังจากนั้นรัฐบาลดำเนินการผลักดันตามแผนงานปี ๒๕๖๑  ทั้ง ๕ ด้าน โดยเฉพาะยิ่งด้านการผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ได้เริ่มเดินหน้ารัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower) ขณะเดียวกันให้กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนทั้งด้านภาคเอกชน ภาคการศึกษา รวมถึงพระพุทธศาสนา ได้มีการจัดประชุมสัมมนาทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตามทางด้านพระพุทธศาสนานั้นแม้ว่าจะการจัดทำแผนเพื่อให้สอดคล้องแต่การปรับตัวของคณะสงฆ์ในระดับล่างยังมีน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาทักษะ๓ ด้าน ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประชากรยุคศวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการสื่อสาระ (Communication) มีส่วนสำคัญยิ่งในยุคดิจิทัลการสื่อสารออนไลน์มีความสำคัญเข้าถึงกลุ่มคนทุกกลุ่มรวมถึงกลุ่มคนเจนวาย 

หากพระสงฆ์ในสังคมไทยมีทักษะการสื่อสาระก็จะทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้มากขึ้น และทำให้การเผยแพร่หลักธรรมในพระพุทธศาสนามีประสิทธิภาพ และจำส่วนแก้ปัญหาสังคมได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นจึงมีความฝันที่จะพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาระให้พระสงฆ์ในสังคมไทยจนสามารถพัฒนาเป็นพระสื่อข่าวในอนาคต เพราะข่าวคืออาวุธที่สำคัญยิ่ง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก"

โครงสร้างนิยายเรื่อง "สันติที่รัก" 1. บทนำ เปิดเรื่อง : สันติสุข ชายหนุ่มนักเขียนนิยายธรรมะที่ต้องการค้นหามิติใหม่ของการเล่าเรื่อง...