วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561

"บิ๊กตู่"ปลื้ม"ดารา"ทำเรตติ้งกระฉูด หรือแค่ใช้ทฤษฎีเข็มฉีดยา?



ตามที่นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงดารานักแสดงที่ร่วมเป็นพิธีกรและรายที่จะมีคิวเป็นพิธีกรในรายการเดินหน้าประเทศไทยสร้างไทยไปด้วยกัน ตอนพิเศษว่าเรื่องปฏิรูปในทุกวันเสาร์ว่า จะเข้าพบ



การที่รัฐบาลภายใต้การนำของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ได้มีการปรับปรุงรายการเดินหน้าประเทศไทยสร้างไทยไปด้วยกัน โดยเฉพาะตอนพิเศษ"ปฏิรูปในทุกวันเสาร์" โดยได้ดึงดารานักแสดงที่ร่วมเป็นพิธีกร อาทิ 



"มิว นิษฐา, เฌอปราง อารีย์กุล กัปตันวง BNK48 "ฟิล์ม"ธนภัทร กาวิละ ดาราหนุ่มสุดฮอตเจ้าของบท"บอสวศิน"ในละครเมีย 2018 "บี"น้ำทิพย์ จงรัชตวิบูลย์ ที่สวมบท"อรุณา"ในละครเมีย 2018  "ท็อป"จรณ โสรัตน์ และ"ตั๊ก"มยุรา เศวตศิลา  "ณเดชน์ คูกิมิยะ"  "ญาญ่า"อุรัสยา เสปอร์บันด์" "เป๊ก"ผลิตโชค อายนบุตร นักร้องชื่อดังมาเป็นพิธีกรด้วย"



"กอบศักดิ์ ภูตระกูล"  รมต.ประสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวระบุว่า  "หลังได้ดารามาเป็นพิธีกรทำเรตติ้งรายการสูงขึ้นมีประชาชนติดตามสูงสุดถึง 6 ล้านคน โดยนายกฯได้กล่าวชื่นชมบอกว่าดีแล้ว ซึ่งนายกฯได้ติดตามดูทั้ง 6 ตอน"



หากพิจารณาตามทฤษฎีการสื่อสารหลักคือ  SMCR ของ “เดวิด เค. เบอร์โล” (David K.Berlo) ประกอบด้วย  1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญสร้างเนื้อหาของรายการให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับสาร ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย เมื่อมีการดึงดาราเข้ามาเสริมทีมเพื่อโน้มแนวดึงดูดผู้รับสาร นั้นแสดงว่าผู้ส่งสารเดิมเป็นอย่างไร  



2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหาของรายการ 3.. ช่องทางในการส่ง (Channel) คือทีวีพูล พร้อมกันนี้ยังเผยแพร่ผ่านทางสื่อออนไลน์ที่ภาครัฐเข้าไปล็อกอินอย่างเช่นเฟซบุ๊ก ไลน์ 4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการตีความ รวมถึงต้องการสำรวจว่าเป็นกลุ่มใดที่รับสารหรือชมรายการที่บอกว่าเรตติ้งดี



จากการที่ดึงดาราเข้ามาเสริมทีมคงเป็นไปตามทฤษฎีการโน้มน้าวของอริสโตเติลนักปรัชญากรีก และทฤษฎีของการจูงใจ (theories of motivation) คือ "โน้มน้าวหรือมักชักนำบุคคลเกิดการกระทำหรือปฏิบัติการ หรือเป็นกระบวนการที่ชักนำโน้มน้าวให้บุคคลเกิดความมานะพยายามเพื่อที่จะสนองตอบความต้องการบางประการให้บรรลุผลสำเร็จ" 



หากมีการกระทำเช่นนี้บ่อยๆ ก็เข้าข่ายทฤษฎีอำนาจนิยมเช่นทฤษฎีเข็มฉีดหรือทฤษฎีโฆษณาชวนเชื่อ ซึ่งทฤษฎีอำนาจนิยมนั้นตั้งอยู่บนฐานรัฐหรือรัฐบาลเป็นผู้สื่อสารสิ่งที่ถูกต้อง ความจริง ข้อเท็จจริง เท่านั้น โดยสื่อมวลชนทำหน้าที่เพียงเครื่องมือหรือช่องทางการเผยแพร่สาร จึงยากที่จะเห็นทฤษฎีที่มุ่งพัฒนาสังคมอย่างเช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมทฤษฎีการปลูกฝังความเป็นจริง



ถึงกระนั้นสื่อมวลชวนระดับชาติทั่วไปมักรายงานข่าวความขัดแย้งทั่วโลก และนำเสนอข้อมูลที่ตัวเองและผู้รับสารชื่นชอบ และเฉพาะเหตุการณ์โดยไม่ค่อยนำเสนอผลกระทบโดยอ้างว่ามีเวลาจำกัดเท่ากับว่ามีอคติส่งผลกระทบต่อสังคมด้านลบทั้งความขัดแย้ง รุนแรง และสังคมตั้งแต่ระดับบุคคลจนถึงกระดับโลก จึงทำให้มีนักคิดอย่างเช่น “โยฮัล กันตุง” (Johan Galtung) นักวิชาการชาวนอร์เวย์ด้านสันติภาพและความรุนแรงศึกษา  เจ้าตำรับ “สื่อเพื่อสันติภาพ” ได้ศึกษา “การสื่อสารเพื่อสันติภาพ”



การดึงดาราเข้ามาเสริมทีมนั้นนอกจากจะเป็นไปตามทฤษฎีการโน้มน้าวหรือการจูงใจแล้ว ก็สอดคล้องหลักพุทธลีลา ข้อ "สมาทปนา"  ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ เป็นขั้นเป็นตอน แต่หลัก "สมาทปนา" ต้องเป็นไปตามหลัก"วาจาสุภาษิต" คือจริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์ และจิตต้องประกอบด้วยเมตตาเป็นสำคัญ  



เชื่อแน่ว่าประชากรยุคไทยแลนด์ 4.0 จะมีทักษะศตวรรษที่ 21 คือรู้จักวิเคราะห์รู้เท่าทันเนื้อหาแห่งข่าวสารตรงตามหลัก"วาจาสุภาษิต" มากน้อยเพียงใด เพราะว่าปัจจุบันนี้ข่าวปลอมข่าวปล่อยข่าวโยนหินถามทาง สร้างข่าวเพื่อกลบข่าวมีมากซึ่งอัตรายมาก หากรู้เท่าทันมีสติ ใช้โยนิโสมนสิการ ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อง่ายๆ 

............

(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจาก https://www.youtube.com/watch?time_continue=1&v=6cpaKbATtZ0)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...