วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561
สังเคราะห์คำสอนองค์ทะไล ลามะลงในอริยสัจ4ตามที่"วรากรณ์ สามโกเศศ"สรุป
"วรากรณ์ สามโกเศศ" ได้สรุปคำสอนของพระพุทธเจ้าตามที่ องค์ทะไล ลามะ เป็นองค์ที่ 14 ได้เขียนหนังสือและเผยแพร่ไปทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 60 ปี เขียนหนังสือมากกว่า 50 เล่ม หลายเล่มมียอดขายเป็นล้าน เป็นที่รู้จักอย่างดีจากคนทั่วโลกที่เลื่อมใสในวัตรปฏิบัติอันงดงาม เป็นกันเองกับทุกผู้ทุกนาม มีความเมตตาสูงยิ่งโดยยกคำสอนส่วนหนึ่งที่เกี่ยวกับคุณค่าของตัวเอง และการใช้ชีวิต (ขอย่อและต่อเติมจากที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ตซึ่งไม่ทราบผู้เขียน) โดยตีพิมพ์ครั้งแรก คอลัมน์ “อาหารสมอง” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ อังคาร 16 ต.ค. 2561 มีจำนวน 11 ข้อ แต่สังเคราะห์ลงในหลักอริยสัจ 4 ประการดังนี้่
1.ทุกข์
(11) จงมองว่าความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ความทุกข์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้ามัวแต่จะโทษสิ่งต่างๆ เมื่อเกิดความทุกข์ และมองว่าเป็นสิ่งผิดธรรมชาติและไม่เป็นธรรมแล้ว เราก็จะหาความสุขไม่ได้
(2) ความขัดแย้งเกิดขึ้น (เมื่อเรายึดติดกับความแตกต่างระหว่างกันทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ฐานะ แต่จริงๆ แล้วสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่เราต้องจำไว้ก็คือ เราล้วนเป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน)
(6) ถ้ามนุษย์ฆ่าสัตว์มันเป็นเรื่องที่เศร้า แต่ถ้ามนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองมันจะเป็นเรื่องที่เศร้าสลดยิ่งกว่า
2.สมุทัย
(2) (ความขัดแย้งเกิดขึ้น) เมื่อเรายึดติดกับความแตกต่างระหว่างกันทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา การศึกษา ฐานะ แต่จริงๆ แล้วสิ่งสำคัญยิ่งกว่าที่เราต้องจำไว้ก็คือ เราล้วนเป็นมนุษย์เหมือนๆ กัน
3.นิโรธ
(1) จุดประสงค์สูงสุดในชีวิตของคนเราคือการมีความสุข เราไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง แต่อย่างไรหัวใจของเราก็ต้องการความหวัง เพราะมันจะทำให้เราสามารถก้าวต่อไปได้
4.มรรค
(4) ทุกๆ คนต้องเรียนรู้ที่จะสร้างสิ่งดีๆ ที่ไม่เพียงแต่ดีต่อตัวเอง หรือดีต่อครอบครัวเท่านั้น แต่ต้องเป็นผลดีต่อมนุษยชาติด้วย เพราะความรับผิดชอบร่วมกันคือแนวคิดที่ทำให้มวลมนุษย์อยู่รอดต่อไปได้
(3) มิตรภาพ มิได้ขึ้นอยู่กับชื่อเสียง เงินทอง หรือความแข็งแกร่งกำยำของร่างกาย แต่ขึ้นอยู่กับความเชื่อใจกันและความรัก
(5) ถ้าอยากมีชีวิตที่มีความสุขจงเปิดใจกว้างยอมรับและมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพราะนี่คือพื้นฐานของมิตรภาพ
(7) ข้าพเจ้าต้องการเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นเหมือนกับเด็ก นั่นก็คือเปิดใจและยอมรับผู้อื่นในสิ่งที่พวกเขาเป็น
(8) (พรหมวิหารธรรม) ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สามารถลดความกลัว รวมถึงสร้างความมั่นใจในตัวเราให้มากขึ้นได้เมื่อเราเชื่อใจผู้อื่นและเปิดใจยอมรับพวกเขา เราจะไม่รู้สึกเหมือนกับอยู่ตัวคนเดียวอีกต่อไป
(10) (พรหมวิหารธรรม) ความสุขที่ยั่งยืนเกิดจากปัจจัยภายในซึ่งได้แก่สภาพจิตใจที่ฝึกหัดให้เห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างมีความเมตตากรุณา (compassion) ซึ่งหมายถึงสภาพจิตใจอันไม่มีความก้าวร้าว กล่าวคือ มีสภาพจิตที่ต้องการให้ผู้อื่นหลุดพ้นจากความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ศัตรู หรือแม้แต่สัตว์
(9) ข้าพเจ้าเป็นปรมาจารย์ด้านการหัวเราะ แม้ว่าข้าพเจ้าจะเคยพบเจอปัญหาใหญ่ๆ มากมายในชีวิต หรือประเทศของข้าพเจ้ากำลังเจอช่วงเวลาที่โหดร้าย แต่ข้าพเจ้าก็มักจะหัวเราะออกมาบ่อยๆ การหัวเราะเป็นเหมือนโรคติดต่อที่สามารถแพร่ไปได้ง่ายมากๆ และเมื่อมีคนถามว่า ข้าพเจ้าทำอย่างไรถึงมีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะหัวเราะในช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ ข้าพเจ้าก็ตอบไปอย่างง่ายๆ ว่า ‘ก็ข้าพเจ้าเป็นปรมาจารย์ด้านการหัวเราะนี่’
ที่มาภาพ : https://www.dalailama.com/news/2018/final-day-of-teachings-for-taiwanese-group
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน
การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น