วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

'อธิการบดีมจร'แนะโลกพัฒนาถึงAIอย่าลืมพัฒนาด้านจิตใจ




วันที่ 23 ต.ค.2561 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังนัย จ.พระนครศรีอยุธยา พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวสัมโมทนียกถาในงานวันพระปิยมหาราชรำลึกความว่า  เราได้จัดงานวันพระปิยมหาราชมีการอัญเชิญรูปหล่อของบุรพาจารย์มาที่มหาจุฬา ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้สถาปนา  โดยสมเด็จพระปิยมหาราชทรงสถาปนามหาจุฬาในปี 2430  ทำให้มหาจุฬามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ในปี 2494 มีการรับนิสิตในรุ่นแรกขอมหาจุฬาเป็นสืบทอดปณิธานรัชกาลที่ 5  การจัดงานวันปิยมหาราชเป็นการแสดงถึงพระพุทธศาสนา คือ  รู้คุณและตอบแทนคุณเป็นพื้นฐานของคนดี เป็นการกตัญญูต่อพระปิยมหาราชที่สถาปนา          

"เราจึงต้อง "ฟังอดีต เห็นปัจจุบัน สัมผัสอนาคต"  ถือว่าเป็นการพัฒนาประเทศสิงคโปร์ เป็นการพัฒนาประเทศซึ่งจะมีความสำคัญ  มหาจุฬาจะต้องฟังอดีต เราต้องตระหนักว่าบุคคลผู้สร้างคุณูปการต่อมหาจุฬา  เห็นปัจจุบัน เราต้องกลับมาตระหนักว่ามหาจุฬาของเราซึ่งเป็นสถาบันศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง เราต้องเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ อะไรคือจุดแข็งของมหาจุฬา เราต้องไม่ลืมจุดแข็งของตนเอง และสัมผัสอนาคต อนาคตมหาจุฬาเราจะไปสู่ทิศทางใด อะไรเป็นจุดแข็งของมหาจุฬา เราต้องไม่ลืมในสิ่งที่บุรพาจารย์เคยนำปฏิบัติ" พระราชปริยัติกวี กล่าวและว่า
            
ถึงแม้ปัจจุบันจะมีการพัฒนาถึงปัญญาประดิษฐ์ AI  โดยพัฒนาเพียงแค่วัตถุภายนอก แต่ไม่สามารถพัฒนาทางด้านจิตใจ จึงเป็นโอกาสของมหาจุฬาในการพัฒนาจิตใจ โดยยึดหลักของ "อัตถะ  ธรรมะ กามะ  โมกษะ " มหาจุฬาฯต้องเป็นผู้นำพัฒนาทางด้านจิตใจโดยใช้หลักอรรถะหรือประโยชน์สี่  คือ  1)อรรถะ หมายถึง ทรัพย์หรือสิ่งที่เราต้องการแล้วพยายามทำให้ถึงหรือมีให้ได้ 2)กามะ หมายถึง การแสวงหาความสุขทางโลกตามสมควร 3)ธรรมะ หมายถึงหลักศีลธรรมหรือระเบียบความประพฤติของบุคคลในสังคมเพื่อสันติสุข และ 4)โมกษะ หมายถึง ภาวะแห่งความหลุดพ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...