วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เข้าใจ"สติปัญญา"แบบไทยๆทำให้ระบบการศึกษาไทยติดหล่ม?



จากการที่ได้ติดตาม พัฒนาการของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่มีการหวั่นๆ จะครองโลกหรือไม่ จึงมีการเรียกหาจริยธรรมมานำ ในที่สุดก็ทราบว่า จะต้องนำ "สติ" เท่านั้นมานำ  ทำให้ฉุกคิดว่า ความจริงแล้วปราชญ์ของไทยก็ได้เตือนสติมานานแล้ว จึงคำว่า สติ กับ ปัญญามาคู่กันคือ "สติปัญญา" ที่มีความหมายเอาสติไปกำกับปัญญา ไม่ได้มีหมายที่เน้นด้านปัญญาเพียงอย่างเดียว  

เมื่อพิจารณาจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้ความหมายคำว่า "สติปัญญา" ถ้าเป็นคำนามหมายถึงปัญญารอบคอบ ปัญญารู้คิด เช่น เขาเป็นคนมีสติปัญญาดี เมื่อศึกษาทฤษฎีทางสติปัญญาแล้วส่วนใหญ่จะเน้นทางด้านสมองหรือวัตถุมากกว่าทางด้านจิตวิญญาณ จึงตั้งสมมติฐานว่า คนไทยเข้าใจคำว่า "สติปัญญา"  ถูกต้องมากน้อยเพียงใด


พระนาคเสน ได้ชี้แจงเรื่อง "สติ" แก่พระยามิลินทร์ มีลักษณะ 2 ประการ คือ   1. "มีการเตือน" ๒. "มีการถือไว้" เป็นลักษณะ  สรุปความ สติ คือ เตือนให้ระลึกรู้ จักสิ่งที่เป็นกุศล อกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เลวดี ขาวดำ ว่า เหล่านี้เป็น สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้เป็นสัมมัปปธาน 4 เหล่านี้เป็นอิทธิบาท 4 เหล่านี้เป็นอินทรีย์ 5 เหล่านี้เป็นพละ 5 เหล่านี้เป็นโพชฌงค์ 7 เหล่านี้เป็นอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8  อันนี้เป็นสมถะ อันนี้เป็นวิปัสสนา อันนี้เป็นวิชชา อันนี้เป็นวิมุตติ เหล่านี้เป็นเจตสิกธรรม ดังนี้ ลำดับนั้น พระโยคาวจรก็เกี่ข้องธรรมที่ควรเกี่ยวข้อง ไม่เกี่ยวข้องธรรมที่ไม่ควรเกี่ยวข้อง คบหาธรรมที่ควรคบหา ไม่คบหาธรรมที่ไม่ควรคบหา อย่างนี้แหละ มหาบพิตร เรียกว่า "สติมีการเตือน" เป็นลักษณะ" อุปมานายคลังของพระราชาเตือนให้ระลึกถึงราชสมบัติมีเท่าใด


ทั้งนี้นายบุญชัย โชควัฒนา กรรมการอำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/573830,8 เมษายน 2557) ได้่ข้อสังเกตไว้ว่า ปกติแล้วคำว่า สติ ก็มักจะพูดกันโดยทั่วไป แต่คงไม่มีใครมาคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้งว่า จริงๆ แล้วสติ หมายถึงอะไร มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของเราอย่างไรบ้าง ส่วนมากก็พูดถึงในความหมายแคบๆ เพียงแค่ว่า มีสติ หรือ เสียสติ เท่านั้น คำว่า สติ หมายถึง ความระลึกได้ การรับรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องให้ใครมาบอก ตัดสินใจได้ด้วยตัวเองว่า สิ่งใดต้องทำหรือไม่ควรทำ สิ่งใดควรทำอย่างรวดเร็วหรือทำช้าๆ จะดีกว่า ในความเป็นจริง สติ เกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของเราทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตประจำวัน หรือชีวิตการทำงาน


เมื่อบวกคำว่า ปัญญา เข้าไปกับสติด้วย คนทั่วไปคงทราบความหมายกันดีอยู่แล้ว ปัญญา มีความหมายหลายอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถ ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้ทัน รู้ประจักษ์ ดังนั้นเมื่อมารวมกับสติที่หมายถึงการรู้ด้วยตัวเอง สติปัญญา จึงหมายถึง การรู้ตัวและมีความสามารถที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จได้ องค์กรทุกองค์กรมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสรรหาคนที่มีครบทั้ง สติ และ ปัญญา มาทำงานให้กับองค์กร คิดว่าการมีสติหรือปัญญา อย่างหนึ่งอย่างใดคงไม่พอ ปัญญากับสติต้องไปด้วยกันเสมอ เพราะการรวมตัวของการรับรู้และทักษะความสามารถ จึงจะทำให้เกิดผลสำเร็จในการทำงาน หากมีปัญญาแต่ไม่มีสติก็คงจะไม่ดี หรือมีสติแต่ไม่มีปัญญาก็คงทำงานไม่สำเร็จ เพราะรู้ว่าต้องทำแต่ทำไม่เป็น หรือทำแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าประโยชน์ องค์กรอาจเกิดความเสียหายหรือไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร


ดังนั้น เมื่อเรามี สติ แล้วต้องฝึกฝนให้มี ปัญญา ด้วย ปัญญาไม่ใช่สิ่งที่สร้างไม่ได้ แต่ด้วยยุคปัจจุบันนี้ คนเราไม่ได้ถูกปลูกฝังให้ใช้ปัญญามากนัก เพราะทุกอย่างมี manual หรือคู่มือมาให้แล้วว่าต้องทำอย่างไร คนส่วนใหญ่ก็ทำตามระบบไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นการคิดด้วยตนเอง การพัฒนาทักษะความสามารถด้วยตนเองจึงมีน้อยมาก ผู้บริหารส่วนมากก็ไม่ค่อยสอนลูกน้องให้หัดคิดด้วยตัวเอง หัดสร้างระบบงาน สร้างเทคนิคด้วยตัวเอง หรือไม่เคยมอบหมายภารกิจให้ลูกน้องไปทำด้วยตัวเอง แต่ใช้วิธีการให้ลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาทำตามคำสั่ง ผมคิดว่าประเทศไทยเราขาดการพัฒนาสิ่งนี้ แต่ในต่างประเทศก็ยิ่งขาดมาก เพราะมีคู่มือการทำงานทุกอย่าง ทุกคนทำตามคู่มือ ไม่ต้องคิด ไม่ต้องใช้ปัญญา จนทำให้คนเป็นเหมือนเครื่องจักร ผมมองว่าคนที่ทำตามคู่มือจนทำงานได้สำเร็จ ไม่ใช่คนที่มีสติปัญญา

ฉะนั้นในฐานะผู้นำ เรามีหน้าที่แก้ไขและสร้างคนให้มีสติแล้ว ต้องสร้างคนให้มีปัญญาด้วย เพราะ 2 สิ่งนี้ เมื่อรวมกัน จะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้คนมีคุณประโยชน์ต่อตัวเอง ต่อองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติมากกว่าการมีแค่อย่างหนึ่ง อย่างใดเพียงอย่างเดียว

"ผู้ที่ไม่รู้จักใช้สติปัญญาให้เหมาะสมกับโอกาส คือ คนดื้อรั้น ผู้ที่ใช้สติปัญญาไม่เป็น คือคนโง่ ผู้ที่ไม่กล้าใช้สติปัญญา คือ ทาส เพลโต" นักปรัชญากรีก กล่าวไว้ 

เมื่อศึกษาทฤษฎีทางสติปัญญาตามแนวคิดของปรัชญาตะวันตกแล้วทำให้ทราบว่าการตั้งข้อสังเกตของนายบุญชัย โชควัฒนาเป็นความจริงเพราะว่า ส่วนใหญ่จะเน้นด้านสมองหรือตัวปัญญาทำให้บทบาทของสติลดน้อยลงหรือไม่เห็นความสำคัญ หรืออาจเป็นเพราะการนิยามความหมายของคำว่า "สติปัญญา" ยึดแนวคิดของนักปรัชญาตะวันตกโดยให้ความสำคัญของที่มาของคำว่า สติ และปัญญา ทางพระพุทธศาสนา ที่เป็นองค์ธรรมคนละส่วนที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน

อย่างเช่นการอธิบายความการพัฒนาการด้านสติปัญญานั้น  พัฒนาการของเด็กหมายถึงพฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกให้สังเกตเห็นได้ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการของสมองและระบบประสาทที่ได้รับอิทธิพลจาปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่ช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดาและในสภาพแวดล้อมภายหลังเกิด มีหลายทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาการด้านสติปัญญา ดังจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร 


ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว 

อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์ ทฤษฎีการเรียนรู้ 1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก 2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ 3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ 4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ 5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ 


1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ 2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้ 3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้ 


6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของกาเย่ การจำแนกแยกแยะ (Discriminaitons) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือน พัฒนาการในช่วงปฐมวัยมีการแบ่งเป็นด้านต่างๆ ประมาณ 4-5 ด้าน ได้แก่ การทรงตัวและการ เคลื่อนไหว (gross motor) ทักษะด้านภาษาซึ่งหมายถึงความเข้าใจและการใช้ภาษา (receptive and expressive language) ทักษะการใช้ตาและมือเพื่อแก้ปัญหา (fine motor-adaptive) ทักษะการช่วยเหลือ ตัวเองและด้านสังคม (personal-social)9 พัฒนาการด้านหลักที่มีการศึกษาพบว่ามีความสัมพันธ์กับสติปัญญา เมื่อเด็กเติบโตขึ้นคือ พัฒนาการด้านภาษาและการกระทำซึ่งหมายถึงการใช้ตาและมือเพื่อแก้ปัญหา10 


ส่วนพัฒนาการด้านสังคมมีความสัมพันธ์บ้างในระดับหนึ่งแม้การทรงตัวและการเคลื่อนไหวจะมีความสัมพันธ์กับทักษะด้านสติปัญญาในช่วงวัยถัดไปค่อนข้างน้อยแต่ยังสามารถสะท้อนถึงวุฒิภาวะหรือพัฒนาการของสมองและระบบประสาทเบื้องต้นได้ในการศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยอายุ 12-71 เดือนครั้งนี้ ได้เลือกใช้ milestoneของพัฒนาการด้านภาษา โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารหรือทักษะทางสังคมเป็นส่วนใหญ่ และมี milestone ของพัฒนาการด้านอื่นๆ บ้าง สรุปคือ การพัฒนาของสติปัญญา หมายถึง การมีทักษะทางการเรียนรู้ที่สมกับวัย มีทักษะในการทิดทั้งการคิดแบบหาเหตุผลและจินตนาการ นำไปสู้ทักษะการแก้ปัญหา การสังเกต การสื่อความหมายและการหาเหตุผล 


เพียงเท่านั้นก็คงจะอนุมานได้ว่าระบบการศึกษาไทยเน้นที่ปัญญาที่เป็นสมอง มากว่าปัญญาที่เป็นจิตใจที่ต้องมีสติเป็นตัวกำกับ เพราะไม่มีการบูรณาการแนวคิดตะวันตกและตะวันออกให้มีความสมดุลนั้นเอง จึงทำให้ไม่เห็นความสำคัญของแนวคิดตะวันออกที่มีพื้นฐานการพัฒนาทางด้านจิตใจ ทำให้จิตตามไม่ทันปัญญาหรือสมองทางด้านวัตถุที่ปัจจุบันพัฒนาขึ้นขั้นมีประสาทสัมผัสเช่นเดียวกันมนุษย์ที่เรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) 


ดังนั้น จึงต้องมาทบทวนการนิยามคำว่า สติ ปัญญา และสติปัญญา กันใหม่ โดยบูรณาการแนวคิดตะวันตกและตะวันออกให้มีความสมดุล การพัฒนาพลเมืองไทยถึงจะเป็นพลเมือง 4.0 รองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ได้ จะทำระบบการศึกษาไทยไม่ติดหล่มอีกต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...