ดูจากรายชื่อพรรคการเมืองและกลุ่มคนที่จัดตั้งพรรคการเมืองนั้นมีชื่อที่มีคำว่า "พลัง" อยู่หลายพรรค ทั้งนี้คงต้องการสร้างจุดสนใจ หรือต้องการที่จะยึดโยงพรรคการเมืองพรรคเก่าบางพรรค หรือต้องการที่จะแบ่งกลุ่มแบ่งฝ่ายการเมืองให้ชัดเจนว่าอยู่ฝ่ายไหน
คำว่า "พลัง" ตามพจนานุกรม มีความหมายถึง กําลัง มักใช้พูดเข้าคู่กันว่า กําลังพลัง เมื่อดูคำว่า " กําลัง" พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า น. แรง สิ่งที่ทําให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง.น. (คณิต) เลขชี้กําลังที่เขียนลงบนจํานวนจริง เช่น 52 อ่านว่า 5 ยกกําลัง 2 7 อ่านว่า 7 ยกกําลัง (ฟิสิกส์) จํานวนงาน ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งกระทําได้โดยสม่ำเสมอในหนึ่งหน่วยเวลา เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ คือ กําลัง = อัตราของการทํางานก็เรียก ขนาดของของกลมที่วัดโดยรอบ เช่น ช้างมีกําลัง (วัดรอบอก) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว ไม้มีกําลัง (วัดรอบลําต้น) เท่านั้นนิ้ว เท่านี้นิ้ว
เมื่อพจนานุกรมได้ความหมายไว้เช่นนี้ พรรคที่มีคำว่า"พลัง" นำหน้าคงจะหมายความว่า คือพรรคที่ทำให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง หรือพรรคที่รักษาอำนาจไว้นั่นเอง
แล้วจะใช้เครื่องมืออะไรถึงจะทำให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง ก็คงจะดูคำต่อไป อย่างเช่น พรรคพลังพละห้า ก็หมายความว่า ใช้หลักธรรมพละห้า ทำให้เกิดอํานาจความเข้มแข็ง
พละห้านี้คือหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ได้ราวบรวมไว้ พละ หรือ พละ 5 คือ กำลังห้าประการได้แก่
ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย ความวิตก
วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุม การทำเกินพอดี
สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท ความงมงาย
เป็นหลักธรรมที่คู่กับอินทรีย์ 5 คือศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือนความแตกต่างและความเกี่ยวเนื่องคือ พละ 5 เป็นธรรมที่กำจัดแก้อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์เป็นธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท
พละ 5 กับนิวรณ์ 5
พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าพละห้า ไม่สมดุล ท่านว่าจะเกิดนิวรณ์ทั้งห้า
ศรัทธาพละมากกว่าปัญญาพละ จะทำให้มีโมหะได้ง่าย จนเกิดราคะ โทสะได้ง่าย ทำให้อาจเกิดกามฉันทะนิวรณ์หรือพยาบาทนิวรณ์
ปัญญาพละมากกว่าศรัทธาพละ จะเกิดวิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัย
วิริยะพละมากกว่าสมาธิพละ จะเกิดอุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ ฟุ้งซ่านและรำคาญใจ
สมาธิพละมากกว่าวิริยะพละ จะเกิดถีนมิทธะนิวรณ์ ควางง่วงและท้อแท้ เกียจคร้าน
พละ 5 กับสติปัฏฐาน
ตามหลักปฏิบัติสติปัฏฐานท่านว่าเป็นเหตุให้เกิด พละ5 ตามอารมณ์ของสติปัฏฐานที่ได้เจริญ
ศรัทธาพละ เกิดจากการกำหนดสัมปชัญญะหรืออิริยาบถย่อย เช่น กิน ดื่ม ชำระ การเคลื่อนไหวระหว่างเปลี่ยนอิริยาบถ
ปัญญาพละ เกิดจากการกำหนดขณิกสมาธิหรืออารมณ์แทรกคืออารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้ง 6 เช่น อาการ สุข ทุกข์ เฉย นึก คิด เห็น ยิน กลิ่น รส คัน ปวด เมื่อย ร้อน เย็น เป็นต้น
วิริยะพละ เกิดจากการกำหนดการเดินจงกรม
สมาธิพละ เกิดจากการกำหนดในอานาปานสติ
น่าจะมีการตั้งพรรคพลังพละห้า โดยมีนโยบายนำหลักพละห้านี้เป็นกรอบความคิดให้กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งควรที่จะนำหลักพละห้าไปเป็นตัวชี้วัดหรือเป็นตัวตรวจสอบว่าพรรคการเมืองหรือนักการเองมีหลักธรรมทั้งห้านี้มากน้อยเพียงใด เริ่มจาก
ศรัทธาพละ ต้องมีความน่าเชื่อถือไม่โกง มีวาจาสุภาษิต ไม่ดีแต่พูดไม่พูดแบบครึ่งเดียว ไม่พูดจาเสียดสี หรือพูดเอาดีใส่ตัวอย่างเป็นต้น
ปัญญาพละ มีนโยบายหรือกึ่นที่จะแก้ปัญหาประเทศได้มากน้อยเพียงใด
วิริยพละ มีความขยันไปพบปะประชาชนมากน้อยเพียงใด หรือจะเห็นหน้าก็ตอนหาเสียงเท่านั้น
สติพละ รู้เท่าทันเล่ห์นายทุนมากน้อยเพียงใด
สมาธิพละ มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของประเทศมากน้อยเพียงใดหรือเป็นนอมินี หรือเข้ามาเพื่อเห็นประโยชน์ส่วนตัวเป็นต้น
เชื่อแน่ว่าผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งหากนำนโยบายของพรรคพลังพละห้าไปเป็นเครื่องวัดพรรคและนักการเมืองแล้ว การเมืองไทยจะพลิกเป็นหน้ามืออย่างแน่นอน เชื่อแน่ว่าคนไทยทำได้ คนไทยต้องเปลี่ยนคนเป็นไทย 5.0 รู้เท่าทันนักการเมืองนักอำนาจนิยม
เพราะหลักธรรมพละห้านี้ก็เป็นองค์ประกอบในอิทธิบาท 4 คือฉันทะ วิริยะ จิตะ วิมังสา ฉันทะก็คือศรัทธาพละ จิตะก็คือสมาธิพละ วิมังสาคือปัญญาพละ ที่เป็นหลักธรรมที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น