วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2561
5 เทรนด์ วิศวกรยุคใหม่รับไทยแลนด์ 4.0
คอลัมน์: บทความพิเศษ: 5 เทรนด์ วิศวกรยุคใหม่รับไทยแลนด์ 4.0
รศ.ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
AI ปัจจัยพื้นฐานสะท้อนวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังมีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตเรามากขึ้น ซึ่งการวิเคราะห์ ที่แม่นยำ ฉลาด การประมวลผลที่รวดเร็ว และใช้ต้นทุนต่ำ คือจุดเด่นของเทคโนโลยีนี้ จึงไม่แปลกที่จะเห็นเทคโนโลยี AI ถูกประยุกต์ใช้ในนวัตกรรมต่างๆ มากขึ้น สังเกตได้จากสมาร์ทโฟนที่นำเทคโนโลยี AI มาช่วยยกระดับอุปกรณ์สื่อสารบนมือเราให้ฉลาดขึ้น รู้ใจผู้ใช้งาน กลายเป็นจุดขายที่ผู้ผลิตนำมาแข่งขันในตลาดสมาร์ทโฟนมากขึ้น
นอกจากนี้ AI ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านวิศวกรรมได้ทุกสาขา กลายเป็นเทรนด์ที่วิศวกรในปัจจุบันจะต้องปรับตัว และคาดว่า AI จะกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของการผลิตในอนาคต และมีความสำคัญต่อชีวิต ประจำวันของเรามากขึ้น
5.ไทยจะใช้ IoT ในทุกภาคส่วนไม่เว้นแต่เกษตรกรรม
การเข้ามาของการสื่อสารรูปแบบใหม่ "อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง" หรือ Internet of Things (IoT) ที่สามารถเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ โดยผู้ใช้งานไม่ต้องอยู่ในพื้นที่นั้นๆ กำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยในอนาคตสิ่งที่น่าจับตา คือ การนำเทคโนโลยี IoT ไปใช้ในภาคเกษตรกรรม เชื่อมต่อกับอุปกรณ์และเครื่องจักรทางการเกษตรที่จะพลิกโฉมเกษตรกรรมไทยไปสู่ Smart Farming ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ควบคุมปัจจัยในโรงเรือนให้เหมาะสมกับพืชหรือสัตว์ เช่น ความชื้น อุณหภูมิ สารอาหารที่จำเป็น ปรสิต แมลงศัตรูพืช ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในอนาคต
จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 เทรนด์ กำลังเกิดขึ้นจริงในอนาคต สถาบันการศึกษาจะต้องปรับวิธีการเรียนการสอนใหม่ โดยเน้นประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ และพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต และทันต่อความเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ 2 พ.ย. 2561 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะจัดงานใหญ่ ในรอบ 30 ปี ภายใต้ชื่อ "Unbox TSE" ซึ่ง มีความสำคัญอย่างมากต่อการเรียนด้านวิศวกรรมศาสตร์ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความสำเร็จท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของอนาคต
สามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT
ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน
การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น