วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ผู้บริหารธนาคารไทยใฝ่คุณธรรมฝึกสติรองรับAI




ผู้บริหารธนาคารไทยใฝ่คุณธรรม พัฒนาจิตใจผ่านกระบวนการฝึกสติ หวังสร้างองค์กรสันติสุข รองรับเทคโนโลยีล้ำยุคAI


วันที่ 25 ต.ค.2561 พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท  พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี  พระนิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  เปิดเผยว่า เป็นพระวิทยากรกระบวนการฝึกอบรมผู้บริหารธนาคารกรุงไทย โดยมีการประชุมผู้บริหารธนาคารผู้ใช้บริการ ประจำปี 2561 ที่โรงแรมฮิลตัน ถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้บริหารจากธนาคารต่างๆ ทั่วประเทศเข้าร่วม 11 แห่ง เข้าร่วมในช่วงเช้า

"ส่วนช่วงบ่ายเป็นการบูรณาการธรรมะเพื่อสร้างความสุขในการทำงานและการดำเนินชีวิต โดยพระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดีได้รับการนิมนต์จากนายสุริยนต์ จันทร์ศิริ รองผู้อำนวยการฝ่าย ผู้บริหารศูนย์บริหารและจัดการธนบัตรระยอง นิสิตปริญญาเอก รุ่น 2  สาขาสันติศึกษา มจร  ถือว่าเป็นการนำพุทธสันติวิธีมาประยุกต์ใช้ในองค์กร จึงขออนุโมทนากับนายสุริยนต์ในการเสริมสร้างสันติภายในสู่คนในองค์กร โดยได้รับการชื่นชมจากธนาคารต่างๆ ที่เข้าร่วมว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมาก" พระวิทยากรกระบวนการธรรมะโอดี กล่าวและว่า

การฝึกวิปัสสนากรรมฐานสามารถควบคุมเทคโนโลยีระดับสูงอย่างปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ  (Artificial Intelligence=AI) โดยการพัฒนาจิตใจเริ่มจาก "การทำสติให้มีความเข้มแข็ง" สติเป็นจุดเริ่มต้นของคุณงามความดี เพราะ AI มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก เพราะจะสร้างความสะดวกสบายแต่ต้องมีสติในการใช้ เพราะ AI เป็นหุ่นยนต์เครื่องจักรจะมาทำงานแทนมนุษย์ในอนาคตนี้โดยจะมีความฉลาดกว่ามนุษย์ แต่ AI ไม่ใช่มนุษย์ แต่จะฉลาดกว่ามนุษย์

"วิธีเดียวที่มนุษย์จะฉลาดได้คือ กลับมาดูตนเองจะสามารถสู้กับ AIได้ หุ่นยนต์ไม่มีมโนทัศน์ ฉลาดได้โดยอาศัยข้อมูลที่มนุษย์ป้อนเข้าไป มนุษย์เป็นผู้ควบคุม แต่การป้อนข้อมูลจะบอกเชิงบวกหรือเชิงลบ กรรมฐานจะช่วยควบคุมทัศนคติให้เป็นสัมมาทิฐิตลอดเวลา ฉลาดแต่สร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์สังคมโลก กรรมฐานจะมีประโยชน์ แต่ถ้ามีผู้ใส่ข้อมูลเชิงทำลายล้างเข้าไปจะส่งผลร้ายได้ เราจึงต้องฝึกสติ  ดังนั้น จึงขออนุโมทนากับคุณจีรณา รามสูตร ผู้อำนวยการฝ่ายผู้บริหารฝ่าย ฝ่ายบริหารจัดการการเงินสดธนาคารกรุงไทย ในส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาคุณชีวิตผ่านกระบวนทางพระพุทธศาสนา ภายใต้ องค์กรสันติสุข" พระอาจารย์ปราโมทย์ ระบุ



#Mindfulness_Based_Learning #การเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน



พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ในฐานะกรรมการการปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียนของ สพฐ. เปิดเผยว่า #สติปัฏฐาน คือ ชุดฝึกสำหรับกระบวนการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน หรือ "Mindfulness Based Learning" สติปัฏฐาน หมายถึง ที่ตั้งแห่งการระลึกรู้ ซึ่งประกอบด้วย (1) กายได้แก่ลมหายใจ ความเป็นของร่างกาย รวมถึงอิริยาบทและความเคลื่อนไหวต่างๆ (2) เวทนาอันหมายถึงความรู้สึก ทั้งที่ชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ (3) จิต อันหมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่คิด และนึก และ (4) ธรรม หมายถึงสภาวธรรมต่างๆ ที่ปรากฏขึ้น





ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม จึงเป็นฐานให้สติได้เข้าไปเรียนรู้ อธิบายง่ายๆ การจัดค่ายลูกเสือจะมีฐานที่เรียกชื่อต่างๆ ให้เด็กๆ ได้เข้าไปเรียนรู้ กาย เวทนา จิต และธรรมก็จัดเป็นฐานให้เราได้ใช้สติเข้าไปเรียนรู้โดยการระลึกรู้ เพื่อให้รู้เท่า และรู้ทันความเป็นไปต่างๆ ของฐานทั้ง 4



การออกแบบการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน (Mindfulness Based Learning:MBL) คือการเรียนรู้ใช้สติเข้าไปรู้เท่าทันในทุกมิติ ทุกกิจกรรม ผ่านการศึกษาแบบพุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษา และพลศึกษา เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในวิถีชีวิต ทั้งการกิน อยู่ ดู ฟัง เล่น เรียน ยืน เดิน นั่ง นอนฯลฯ เรียนทั้งในโรงเรียน และนอกโรงเรียน



การเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐานจะส่งผลต่อเซลล์สมอง ร่างกาย ลมหายใจ และสุขภาวะ สภาพจิตที่มีเมตตากรุณา ทนต่อแรงเสียดทาน หรืออารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ และมีดวงจิตที่สามารถบริหารจัดการชีวิตได้อย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในการทำงานฯ


แบบอย่างของผู้ที่ใช้การเรียนรู้แบบ Mindfulness Based Learning หรือการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน คือ "พระพุทธเจ้า" พระองค์ทรงย้ำเน้นให้นำ "สติปัฏฐาน ทั้ง 4" มาเป็นฐานในการพัฒนาสติ เพื่อให้รู้เท่าทันกาย เวทนา จิต และธรรม และมีหนังสือ และงานวิจัยมากมายออกมาสนับสนุนทิศทางการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐานส่งผลดีต่อการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลอย่างไร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...