วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561

AIบุกงานข่าวแน่!เสวนาส.สื่อแนะใช้จริยธรรมนำแนะคนไทยทำบุญด้วยการส่งเสริมนักข่าวสร้างสรรค์



สมาคมนักข่าวฯ จัดสัมนา คาดอนาค AI มีบทบาทเข้ามามีส่วนช่วยในการทำข่าว แนะใช้จริยธรรมนำ AI กูเกิล ผุดเครื่องมืออำนวยความสะดวกนักข่าว จับมือองค์กรสื่อ สกัดข่าวปลอม  'ไลน์'  ชี้ความถูกต้องต้องมาก่อนความเร็ว แนะคนไทยทำบุญด้วยการส่งเสริมนักข่าวสร้างสรรค์

วันที่ 19 ต.ค.2561  ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)  จัดการสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 หัวข้อ  “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค 4.0” โดยมีนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงาน  และ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวต้อนรับ มีคณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ประมาณ 200 คน

ช่วงแรงเป็นการบรรยายพิเศษ (TED TALK) หัวข้อ “เทคโนโลยี 4.0  ข่าวแห่งอนาคต” นายชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช.กล่าวว่า ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอจะเข้ามามีส่วนช่วยในการทำข่าวอย่างมากมายในอนาคต ทั้งการเลือกข่าวจากข้อมูลมากมายมหาศาล ไม่ให้ข่าวที่ออกมาจมไปกับข้อมูลซึ่งคาดกันว่า ในปี 2024 เอไอจะสามารถเขียนบทความได้ในระดับนักเรียนมัธยม และต่อไปจะแต่งเพลงได้ในอีก 10 ปี ข้างหน้า ที่จะติดท็อปชาร์ตด้วย และปี 2049 จะเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ได้

"อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้เคยมองกันว่าเอไอจะทำงานศิลปไมไ่ด้ แต่หลังๆ จะเห็นเอไอทำงานศิลปะกันมากขึ้น หรือการออกแบบการเขียนข่าวตามสไตล์เฉพาะตัว ด้วยการเรียนรู้สำนวนของคนเขียน อังกฤษ ใช้เอไอเปลี่ยนข่าวให้เข้ากับแต่ละพื้นที่ในการนำเสนอญีปุ่่นสามารถใช้เอไอเขียนนวนิยายสั้น เกือบชนะรางวัล Literary Prize" นายชัย กล่าวและว่า 

เอไอไม่ได้มีแต่เฉพาะด้านบวก เพราะอาจไม่สามารถทราบได้ว่าข่าวที่เอไอเขียนมาลอกใครมาหรือไม่ หรือเอไอมีการตระหนักถึงสิ่งที่เขียนหรือไม่ ดังนั้น ถึงเทคโนโลยีเปลียนแต่ นักข่าวไม่เปลี่ยน ซึ่งเอไอก็อาจตามไม่ทันศัพท์ใหม่ๆ ที่สำคัญต้องใช้จริยธรรมนำเอไอ ต้องใช้จริยธรรมนักข่าว ควบคุมเอไอ ป้องกันเรื่องความเป็นส่วนตัวของมนุษย และเลือกบิ๊กดาต้าที่จะป้อนให้กับเอไอ

น.ส.สายใย สระกวี หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรและมวลชนสัมพันธ์ กูเกิล ประเทศไทย กล่าวว่า กูเกิลมีโครงการกูเกิล นิวส์ อินิชิเอทีฟ สนับสนุนนักข่าวทั่วโลก 300 ล้านเหรียญ พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตข่าว และหลักสูตรออนไลน์ ยังช่วยการสร้างการเติบโตร่วมกันไปกับผู้สื่อข่าว เจ้าของสื่อ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ และกูเกิลมีเครื่องมือมากมายในการช่วยทำข่าว ทั้งเครื่องมือแผนที่ที่สามารถวัดระยะทาง ระยะเวลาเดินทางที่ค่อนข้างแม่น  มีกูเกิล ทรานสเลทรวมทั้งโปรแกรมจดโน๊ตด้วยคำสั่งเสียงที่เป็นแบบเรียลไทม์ จดโน๊ตข้างนอกคนในออฟฟิศเห็นหมดพร้อมกัน  หรือ อิมเมจกูเกิลที่สามารถตรวจสอบว่าเป็นรูปจริงรูปแต่ง มีที่มาจากไหน

น.ส.สายใย กล่าวว่า กูเกิลเทรนด์เป็นอีกเทคโนโลยีที่ใช้ท่ามกลางการค้นหาข้อมูลล้านล้านเว็บไซต์  เมื่อเรามีข้อมูลคนใช้เราก็จะรู้ว่าคนสนใจข่าวอะไร เช่น ช่วงนี้มี “คีย์เวิร์ด” ไหนที่คนค้นหาเยอะ นอกจากนี้ กูเกิล  ยังทำงานร่วมกับสมาคมนักข่าวทั่วโลก เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง ไม่ผิด เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเราไม่เสนอข้อมูลผิด ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร โดยเฉพาะเฟคนิวส์ กูเกิล มีนโยบายให้ความสำคัญ โดยทำงานร่วมสามาคมข่าวฯ  โดยเร็วๆ นี้ จะมีให้สำนักข่าวร่วมยืนยันความถูกต้องลงในเนื้อหาที่เผยแพร่

นายก้าวโรจน์ สุตาภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ กล่าวว่า เมื่อทุกอย่างเป็นดิจิตอล พฤติกรรมคนอ่านก็เปลี่ยน  การทำข่าวก็เปลี่ยนไป ขณะที่ปัญหาเรื่องข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์เป็นปัญหาระดับชาติหากเป็นสำนักข่าวใหญ่ๆ เมื่อทำผิดก็สามารถไปติดตามฟ้องร้องหรือหาคนผิดได้ไม่ยากดังนั้นเขาคงไม่ทำข่าวปลอมให้อ่าน

ช่วงที่สองเป็นการเสวนาเรื่อง “ทางเลือกฝ่าวิกฤตวารสารศาสตร์” โดย  นิกร จันพรม  77kaoded.com นิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์  The Paperless บุญลาภ  ภูสุวรรณ Thaipublica นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ The Standard อภิรักษ์ โรจน์อำพร Thairath online โดยมีเนื้อหาสรุป ความ ว่า สื่อจะอยู่เฉยไม่ปรับตัวไม่ได้แล้วจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ค้นหาตัวตนให้พบและสิ่งสำคัญคือประเด็น มองหาตลาดหรือกลุ่มเป้าหมายให้ชัดมีเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งภูมิภาคและส่วนกลาง พร้อมกับรักษาความน่าเชื่อถือให้คงอยู่  ซึ่งเนื้อหาหนึ่งประเด็นจะสามารถเล่าเรื่องหรือนำเสนอให้หลายรูปแบบ แบบนี้อยู่รอดแน่นอน

ด้าน น.ส.บุญลาภ ภูสุวรรณ บรรณาธิการบริหาร สำนักข่าวไทยพับลิก้า กล่าวว่า  แพลตฟอร์มก็ต้องปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบ
          
ด้านนายนครินทร์ วนกิจไพบูลย์ บรรณาธิการบริหาร เดอะ แสตนดาร์ด กล่าวว่า  นำเสนอข่าวด้วยอินโฟกราฟฟิคย่อยข้อมูลยากๆ ให้เข้าใจง่าย คนชอบอ่านอะไรสั้นๆ มีโมชั่นกราฟฟิค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจ  นำเสนอหลายแพลตฟอร์มไขว้กันไปหมด ซึ่งต้องมีพื้นฐานทางด้านวารสารศาสตร์ อย่างนักข่าวต้องไลฟ์ เปิดหน้า จัดรายการ ทำได้หลายแพลตฟอร์ม ซึ่งสิ่งที่สถาบันการศึกษายังต้องให้ความสำคัญในการสอนคือศาสตร์ของการเล่าเรื่อง
          
นายอภิรักษ์ โรจน์อำพร บรรณาธิการบริหารไทยรัฐออนไลน์ กล่าวว่า จากบิ๊กดาต้า ทำให้เรารู้ว่าเราจะไปทางไหน บอกได้ว่าอนาคต จะเกิดอะไรขึ้น แต่ด้วยความเป็นองค์กรข่าว อย่างไรก็ต้องคงคุณค่าความเป็นข่าวให้ได้
          
นายนิกร จันพรม ผู้ก่อตั้ง เว็บไซต์ 77kaoded.com กล่าวว่า นักข่าวหากไม่คิดปรับตัวก็ตาย เวลานี้ต้องสามารถทำงานแบบมัลติฟังก์ชั่น ต้องระวังเรื่องข่าวเท็จ ข่าวลวง แต่นักข่าวท้องถิ่น ทำกันมา 10-20 ปี มีประสบการณ์ มีตัวตนในจังหวัด เดินไปไหนใครก็รู้หมด จากที่เปิดเว็บไซต์มา ทำให้เห็นว่าเดินทางมาถูกทาง


นายนิรันดร์ศักดิ์ บุญจันทร์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วรรณกรรม the paperless กล่าวว่า เริ่มต้นทำเว็บไซต์ด้วยเงิน 7,000 บาท ด้วยต้นทุนสมัยที่เคยทำงานในเซ็กชั่นจุดประกายวรรณกรรม หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ และที่บ้านมีหนังสือมากเหมือนเป็นบิ๊กดาต้า ครั้งแรกชวนนักเขียนใหญ่มาร่วมงานทั้ง อาจินต์ ปัญจพรรค์ แดนอรัญ แสงทอง มาร่วมเขียน
          

“จากที่ได้เปลี่ยนมาทำเว็บไซต์ ทำให้เห็นว่าทำนิตยสารยากกว่า เหนื่อยกว่าเพราะมีหลายขั้นตอน มีภาพ มีคอนเทนต์ แต่พอปรับมาทำเว็บไซต์ ก็ไม่ได้ทำแค่เนื้อหา มีทั้ง แต่งเพลง วิจารณ์หนังสือ ซึ่งให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ระหว่างการทำเว็บไซต์ กับ เนื้อหาในสิ่งพิมพ์ เพราะเว็บไซต์ลงปุ๊บก็รู้ปฏิกิริยาตอบรับ ทำไปก็จะรู้ว่าบางเรื่องเหมาะกับทำพ็อกเก็ตบุ๊ก บางเรื่องเหมาะกับทำออนไลน์ ซึ่งบางเรื่องคิดว่าคนไม่สนใจแต่กลับสนใจได้ฟีดแบ็คกลับมาเร็ว” นายนิรันทร์ศักด์ กล่าว

ช่วงต่อมาเป็นการเสวนาเรื่อง “ทางรอดคนสื่อ” โดย สุทธิชัย หยุ่น Content Creator ได้เสนอว่า สื่อจะรอดต้องมี 3 ท.คือ  1. ทำด้วยตัวเองในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำและให้ดีกว่าคนอื่น ให้ตรงกับกลุ่มคนที่ต้องการหรือผู้รับสาร โดยการเรียนรู้และปรับตัวทุกวัน  สร้างเนื้อหาให้มีคุณภาพ เชิงลึก ไม่ควรที่จะเน้นเนื้อหาเชิงรูทินมากนักเพราะว่าปัจจุบันนี้เอไอและกูเกิดทำให้หมดแล้วอย่างเช่นนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์เอไอสามารถรายงานข่าวแทนคนได้ทันที พร้อมกันนี้จะต้องมีการทดสอบและทดลองรูปแบบการนำเสนออย่างต่อเนื่อง และจะต้องเป็นนักข่าวบล็อกเชน (Blockchain Journalism)และนักข่าวสืบสวนสอบสวน (investigation Journalism) 

นายพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์  Data Journalism  ได้นำเสนอว่าจะต้องนำเอไอมาเป็นตัวช่วย investigation Journalism โดยทำหน้าที่ในการวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล (Data) หรือสนับสนุน  Data Journalism และทางที่ดีนักข่าวควรจะเรียนรู้เรื่องการเขียนโค้ดได้บ้าวไม่ถึงขั้นเป็นโปรแกรมเมอร์ เพราะจะเป็นตัวช่วยในการสั่งเอไอให้ทำงานได้ พร้อมกันนี้จะต้องทำงานเป็นทีม พร้อมกันนี้มองว่า คนไทยในแต่ละปีทำบุญเป็นเป็นแสนล้านบาท ควรจะหันมาทำบุญส่งเสริมการศึกษาหรือส่งเสริมพัฒนานักข่าวที่ทำงานแบบสร้างสรรค์

ขณะที่นายเทพชัย หย่อง ได้กล่าวสนับสนุนว่า สังคมก็ควรที่จะสนับสนุนให้นักข่าวดีๆอยู่ได้ด้วย

นายธีระพงษ์ เจียมเจริญ  Visual Creator เห็นว่า การศึกษาควรจะสนับสนุนเรียนคิดวิเคราะห์และเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ได้ ซึ่งการศึกษาไทยยังอ่อนอยู่

ดังนั้นการศึกษาเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัล Big Data (ข้อมูลขนาดใหญ่)  AI (ปัญญาประดิษฐ์)  ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์  อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ  และ IoT (อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง)  เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้ประกอบกับได้กำหนดในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย

นายณัฐพัชญ์  วงษ์เหรียญทอง นักวิชาการด้าน Digital content Marketing กล่าวว่า ที่น่ากลัวสำหรับสื่อไทยคือ เฟซบุ๊ก และ กูเกิล  สามารถสร้างทราฟฟิคฆษณาได้อย่างมีมีคุณภาพ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเนื้อหาของสื่อจะต้องดี  และต้องรู้ความต้องการของคนดูก่อนว่าเขาอยากได้อะไร ต้องไปดูว่าทำไม คนทำเฟส เพจ ยูทูบ ถึงเวิร์ค เพราะเขามีวิธีการเล่าเลื่องแบบใหม่ที่ไม่น่าเบื่อ คนทำสื่อก็ต้องโพสต์เฟซบุ๊กเป็น ตัดวีดีโอเป็น ทำได้หลายอย่าง ถามเด็กมหาวิทยาลัยที่ทำสื่อผ่านยูทูบได้เงินเดือนเป็นแสน ถึงจะรอด



นายเทพชัย หย่อง กรรมการจริยธรรม สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า  ทางรอดของสื่อซึ่งอาจไม่สำคัญ เท่ากับความอยู่รอดของสังคม  ปัจจุบันมีแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นในยุคที่หลายสื่อกำลังปรับตัวเข้าสู่ออนไลน์  ต้องยอมรับบทบาทของสื่ออยู่ตรงที่เป็นไกลไกตรวจสอบอำนาจรัฐ ต้องมีความรู้ จริยธรรม บทบาทของสื่อสารมวลชนที่ต้องทำหน้าที่เปิดโปงนำความจริงเปิดเผยต่อสังคม ต้องอาศัยองค์กรสื่อ และคนทำข่าวที่มุ่งมั่นที่จะทำข่าวแบบนี้

“องค์กรสื่อจะอยู่รอดต้องถามว่าอยู่รอดไปเพื่ออะไรก่อน เป้าหมายเพื่ออยู่รอดทางธุรกิจไม่มีความหมายเท่าอยู่รอดเพื่อมีบทบาทช่วยสร้างสรรค์สังคม ซึ่งการอยู่รอดทางธุรกิจมีทางเลือกเยอะ แต่ต้องอยู่รอดและตอบโจทย์สังคมด้วย ต้องมีวิธีบริหารจัดการ พัฒนาบุคลากรพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ ซึ่งคนไม่ดูข่าวก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแตกต่างจากในอดีต แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันจะออกแบบยังไงให้คนหันมาดูมากขึ้น“ นายเทพชัย กล่าว



นางสุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล  รองผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ด้านยุทธศาสตร์ สื่อสาธารณะ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่า  การจะปรับเปลี่ยนต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย โดยมองไปที่ผลลัพธ์ที่จะได้ แล้วค่อยย้อนกลับมาดูว่าขั้นตอนที่จะเดินหน้าไปสู่จุดนั้นว่าต้องทำอย่างไร ไม่ใช่เริ่มจากการตั้งต้นไปตามระบบซึ่งไม่รู้ว่าสุดท้ายปลายทางจะได้ผลลัพธ์ออกมาอย่างไรนี่คือปัญหา


อย่างไรก็ตาม หากเราไม่มีระบบคิด เราก็จะเดินไปตามรูทีน ซึ่งในทางปฏิบัติเราไม่จำเป็นต้องเดินหน้าไปตาม หนึ่ง สอง สาม สี่ ถ้าเรามีสเตรติจิกส์ที่ดี เราต้องมองเห็นภาพรวม  เดิมเราเห็นมุมตัวเองเล็กๆ และทำส่วนของเราให้ดีที่สุด ก็ไม่ทำให้เปลี่ยนแปลงได้  ต้องมองทั้งอุตสาหกรรม ให้ครบองค์ประกอบว่าเราจะทำเพื่ออะไร สำหรับสื่อสาธารณะอุดมการณ์ใช่ แต่สำหรับวิธีการอาจต้องปรับ รู้จักการเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่น


Cr.http://www.banmuang.co.th/news/politic/128837

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รวม 4 สุดยอดเหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส จ.นครพนม อายุ109 ปี

เหรียญเจ้าสัวมนต์นาคราช  หลวงปู่คีบ ธีรปัญโญ วัดป่าสุทธาวาส อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม อายุ 109 ปี รวมความเป็นสุดยอดดังนี้ สุดยอดพุทธศิลป์ สุดยอดม...