วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

สมเด็จสมปรารถนา รุ่นแรกวัดไร่ดอน จ.เพชรบุรี รวมที่สุดแห่งมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากวัดโบราณทั่วประเทศ



วัดไร่ดอน หรือ วัดเขากิ่ว

ตั้งอยู่หมู่ที่ ๑ ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี มีประวัติความเป็นมาเริ่มต้นจาก พ.ศ.๒๕๐๘ ณ สถานที่แห่งนี้ได้ใช้เป็นที่พักสงฆ์มาก่อน พร้อมทั้งมีการสอนกัมมัฏฐานโดย พระอาจารย์ธนศักดิ์ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ พระครูภาวนานุศาสก์ (ธมฺมธโร ภิกฺขุ พระอาจารย์แป้น ชาวเวียง) ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่สอนพระกัมมัฏฐาน ณ วัดท้าวโคตร (ปัจจุบันคือวัดชายนา) เมืองนครศรีธรรมราช 




ต่อมา พ.ศ. ๒๕๐๙ พระอาจารย์ธนศักดิ์ ได้ลาสิกขา พระอาจารย์ธัมมธโร จึงได้มอบหมายให้ พระอาจารย์ภัททะ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอีกรูปหนึ่ง ให้เป็นผู้รับผิดชอบอยู่ดูแลสอนพระกัมมัฏฐานสืบแทน

พ.ศ. ๒๕๑๑ พระอาจารย์ธัมมธโร ได้มาอยู่จำพรรษา  ณ ที่พักสงฆ์แห่งนี้ และได้ซื้อที่ของศึกษาเริ่ม จิตต์การุณย์ เพื่อจะดำเนินการสร้างเป็นวัด ในปีต่อมา วัดท้าวโคตรที่ท่านจากมา ขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ ท่านจึงจำเป็นต้องกลับไปอยู่ที่วัดท้าวโคตรดังเดิม 

จึงได้ให้ พระครูญาณวิวัฒน์ (ญาณวโร ภิกฺขุ ต่อม ชูมณี)  ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากท่าน ให้ไปสอนพระกัมมัฏฐาน ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี หลังจากเสร็จสิ้นการร่วมเดินธุดงค์หมู่ครั้งใหญ่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ มาอยู่สอนพระกัมมัฏฐานสืบมา

ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๑ เป็นต้นมา พระครูญาณวิวัฒน์ ได้พัฒนาสำนักสงฆ์แห่งนี้ อย่างต่อเนื่อง และทำการซื้อที่ดินใกล้เคียงเพิ่มเติมจนสามารถตั้งเป็นวัดได้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ๒๕๒๘ 




โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ ได้เริ่มสร้างอุโบสถแก้ว ๒ ชั้น จนแล้วเสร็จ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาปิดทองฝังลูกนิมิตไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๖

พ.ศ.๒๕๕๗ พระครูญาณวิวัฒน์ ได้ถึงแก่มรณภาพ พระครูศรีธรรมรัตน์ หรือพระมหาชำนาญ รตนธมฺโม ตระกูลชั้นแก้ว ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสสืบแทน

พระมหาชำนาญ แต่เดิมบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดท้าวโคตร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์ธัมมธโร ภิกขุ ต่อมา พ.ศ.๒๕๐๙ ได้เดินทางมาอยู่ที่วัดไร่ดอนแห่งนี้ (ขณะนั้นยังเป็นที่พักสงฆ์) 

พ.ศ.๒๕๑๐ ได้ไปศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่กับพระครูญาณวิวัฒน์ สมัยสอนพระกัมมัฏฐานอยู่ที่วัดใหญ่สุวรรณาราม หลังจากญัตติบวชเป็นพระ ที่วัดมหาธาตุวรวิหาร พ.ศ.๒๕๑๗ และ พ.ศ.๒๕๒๐ ก็กลับมาอยู่ช่วยงานหลวงพ่อ พระครูญาณวิวัฒน์    


       

พ.ศ.๒๕๒๑ พระมหาชำนาญ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนพระครูญาณวิวัฒน์ซึ่งอาพาธ 

ในปีถัดมา คือ พ.ศ.๒๕๕๖ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลไร่ส้ม และปี พ.ศ.๒๕๕๗ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ต่อมา 

ภารกิจอันเป็นประวัติที่สำคัญของท่าน คือ การระดมทุน เพื่อสร้างอุโบสถ พร้อมกับออกแบบและควบคุมงานการก่อสร้าง อุโบสถแก้ว ๒ ชั้น จนสำเร็จลุล่วงอย่างสมบูรณ์ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน




พระมหาชำนาญ เป็นพระนักเผยแผ่ นักพัฒนา ล่าสุด ทางวัดได้จัดสร้าง พระสมเด็จสมปรารถนา ซึ่ง เป็นรุ่นแรก วัดไร่ดอน จ.เพชรบุรี เพื่อนำปัจจัยจากการเช่าบูชา บูรณะปฏิสังขรณ์ ศาสนาถานภายมนวัด รวมทั้งใช้ในด้านส่งเสริมเผยแผ่ศาสนา

พระสมเด็จสมปรารถนา สร้างจากที่สุดแห่งมวลสารศักดิ์จากวัดโบราณทั่วประเทศ รวมทั้งมวลสารจากสังเวชนียสถาน ประเทศอินเดีย เช่น ดิน ๗ โป่ง ผงพญางิ้วดำ ผงพระเก่า ว่านเมตตา ๑๐๘ ผงเจดีย์เก่า สปป.ลาว ชานหมาก หลวงปู่เฮ็ง ก้านชนวนพระกริ่งช่องจอม

ผงพระรอด ผงพระผงสุพรรณ ผงเหล็กไหล ผงว่านยา ๑๐๘ ผงธูป ๑๐๘ วัด ผงพระธาตุ ๓๐๐ ยอด แร่ทอง ข้าวสารหิน ๑,๐๐๐ ปี เสก๑๐๘ วัด แร่จ้าวน้ำเงินเรียกทรัพย์ กาฝากมะรุม ดินศักดิสิทธิ์ จากสังเวชนียสภ่นประเทศอินเดีย ฯลฯ




มีพระเกจิอาจารย์ อาคมเข้มขลังมนยุคปัจจุบัน ร่วมปลุกเสกหลายรูป เช่น พระเทพสุวรรณโมลี หรือ หลวงพ่อเจ้าคุณแคล้ว ประธานจุดเทียนชัย และ นั่งปรกอธินฐานจิต พระครูกิตติวัชราภรณ์ หรือ หลวงพ่อน้อย เจ้าอาวาส วัดโพธิทัยมณี พระพิพิธพัชโรดม หรือ หลวงพ่อเจ้าคุณหน่อย วัดพระรูป พระครูมนูญสีลสังวร หรือ หลวง พ่อแถบ วัดช้างแทงกระจาด พระครูวิธานสัชรพงศ์ หรือ หลวงพ่อเสน่ห์ วัดหุบกระพง และ พระมหาชำนาญ เป็นต้น




พระสมเด็จสมปรารถนา มี จำนวนการสร้าง ดังนี้

๑.ฝังตะกรุดทองคำ ๙ ดอก 
-หน้าเงิน ๓ องค์
-หน้าทอง ๓ องค์
-หน้านาก ๓องค์

๒.ฝังตะกรุดเงิน ๙ ดอก
-หน้าเงิน ๙ องค์
-หน้าทอง ๙ องค์
-หน้านาก ๙ องค์

๓.ฝังตะกรุดทอง ๑ ดอก
-หน้าเงิน ๕๙ องค์
-หน้าทอง ๑๕๙ องค์
-หน้านาก ๕๙ องค์

๔.ฝังตะกรุดเงิน ๑ ดอก
-หน้าเงิน ๙๙ องค์
-หน้าทอง ๒๙๙ องค์
-หน้านาก ๙๙ องค์

๕.หน้าทอง ๓,๓๓๓ องค์  ๖.หน้าเงิน ๓,๓๓๓ องค์ และ ๗. หน้านาก ๓,๓๓๓ องค์

เข้าชมรายละเอียดได้ที่ https://www.facebook.com/2142640169317708ท/posts/2155626864685705/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...