วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561

เฟซบุ๊กเผยผลศึกษาเทคโนโลยี(AI)ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคสูง

          



คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในด้านต่างๆ รวมถึงเข้ามาทำหน้าที่แทนมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ  จากการสำรวจวันนี้(24ต.ค.2561) พบว่า มีการนำมาทำหน้าที่เป็นพนักงานต้อนรับ เตรียมและปรุงอาหารเพื่อเสิร์ฟให้ลูกค้าได้ แผ่นเซ็นเซอร์วัดความดัน ความร้อนของร่างกาย ความเครียด ความตื่นเต้น หรือแม้กระทั่งความพึงพอใจ  ร้านค้าแบบไม่มีพนักงานเพียงแต่หยิบสินค้าแล้วเดินออกไปจากร้านได้เลย ไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลารอคิวนานๆ  เพราะมีบัตร Visa pay Wave  แค่โบกบัตรเครดิตเหนือเครื่องแสกน ในเวลาสั้นๆ ก็สามารถใช้ชำระเงินได้แล้ว  เพราะเทคโนโลยี 5G อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่งอย่างแท้จริง (IoT, internet of things) 

รวมถึงเมืองอัจฉริยะ ที่ใช้ "Digital Platform+X+Ecosystem" ที่มีคุณสมบัติใหม่ๆ (X) AI, IoT, บิ๊กดาต้า,ความปลอดภัย, ICP, วิดีโอ และแพลตฟอร์มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมที่ผสมผสานสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกัน เช่น เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีเทียนจิน สามารถออกแบบและพัฒนาโซลูชั่น Smart City "1 + 4 + N" ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI นำเอาขีดความสามารถด้านการวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ
  
แต่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ ควรจะมีการพัฒนาอย่างเช่ "ซาไมร่า เมห์ทา" เด็กหญิงวัย 10 ขวบ  เติบโตขึ้นในซิลิคอน วัลเลย์ (Silicon Valley) ทางตอนใต้ของอ่าวแคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐ ย่านที่ตั้งบริษัทไอทีนับร้อยแห่ง ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อาทิ กูเกิล เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ แอปเปิล ไมโครซอฟท์ อีเบย์ และอื่นๆ อีกมากมาย ได้กลายเป็นนักเขียนโค้ดอายุน้อย ที่ประสบความสำเร็จ จากการสร้างเกมกระดานที่มีชื่อว่า CoderBunnyz ซึ่งเป็นเกมฝึกสมอง ที่จะช่วยสอนให้เด็กๆ เข้าใจวิธีการเขียนโค้ด และเล่นสนุกในเวลาเดียวกัน โดยขณะนี้ CoderBunnyz ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ จนบริษัทดังอย่างกูเกิลและไมโครซอฟท์ จองตัวเด็กหญิงเป็นวิทยากรเพื่อฝึกอบรมการเขียนโค้ดให้แก่เยาวชนและยังเอ่ยปากชวนไปร่วมงาน เมื่อเธอสำเร็จการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย

เฟซบุ๊ก ประเทศไทย เผยผลศึกษาเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง (Emerging Middle Class) ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีต่อพฤติกรรมและรูปแบบการซื้อที่เปลี่ยนไปของคนกลุ่มนี้ การสำรวจครอบคลุมในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม สุราษฎร์ธานี และอำเภอบ้านนาสาร โดยเน้นถึงความสำคัญที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง และนำเสนอข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยสำหรับการมองหาโอกาสการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่กลุ่มนี้ได้ 

นายจอห์น แวกเนอร์ กรรมการผู้จัดการ Facebook ประเทศไทย กล่าวว่า “เราต้องการที่จะสำรวจอย่างจริงจังว่าโลกดิจิทัลเปลี่ยนชีวิตของกลุ่มที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางกลุ่มใหม่ของประเทศไทยอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ต่างจังหวัด ประชากรกลุ่มนี้เข้าถึงเศรษฐกิจผ่านการเชื่อมต่อสมาร์ทโฟน ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ และโลจิสติกส์ที่มากยิ่งขึ้น และยังใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการพัฒนาและเติบโตในหลายๆ มิติ สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจมากที่สุดที่เราเห็นคือ การที่คนไทยใช้ช่องทางดิจิทัลในการแสดงออกถึงตัวตนและสร้างอนาคตที่ดีขึ้น”

ประชากรชนชั้นกลางจำนวน 49 ล้านคนของประเทศไทยนั้น นับเป็นหนึ่งในส่วนสำคัญของการเติบโตอย่างรวดเร็วของชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยภายในปี 2022 จะมีประชากรชนชั้นกลางจำนวน 350 ล้านคน และรายได้ในครัวเรือน 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 2017 ถึง 2022 เทคโนโลยีทำให้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รอบนอกตัวเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ โดยคาดว่าการใช้จ่ายผ่านมือถือจะสูงถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่โลจิสติกส์บนอีคอมเมิร์ซ จะเติบโตขึ้นถึง 7.5-9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2022 ในแง่ของธุรกิจที่รองรับกลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง จากการสัมภาษณ์นักธุรกิจชั้นนำทั่วภูมิภาค 77 เปอร์เซ็นต์ เห็นตรงกันว่ากลุ่มผู้บริโภคที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลางนี้จะเป็นพลังขับเคลื่อนธุรกิจที่สำคัญมาก ทั้งนี้ เพียง 15 เปอร์เซ็นต์ ที่คิดว่าธุรกิจของตนมีกลยุทธ์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหลักกลุ่มนี้แล้ว (ผลิตภัณฑ์ การตลาด และยอดขาย/การกระจายสินค้า)       

นายเวทิต โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ผลการศึกษาครั้งนี้น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่สามารถไปคิดต่อได้ว่าจะนำเสนอสินค้าที่มีความเฉพาะพิเศษ มีความพรีเมียมและตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มนี้ที่มีกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร ในฐานะธุรกิจ เราต้องเข้าใจถึงไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของกลุ่มคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจสำหรับเรา เช่น ผลิตภัณฑ์ของเราจะตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาหรือไม่” 

เฟซบุ๊ก ได้ทำงานร่วมกับ เบน แอนด์ คอมพานี และควอนตัม ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์เพื่อทำการสำรวจในกลุ่มผู้บริโภค 12,000 คน ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ 80 คน ภายในที่พักอาศัยของพวกเขาจากทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้บริโภคอีกจำนวน 160 คน การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุม 16 เมืองทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

“สิ่งที่ทำให้การศึกษาครั้งนี้มีความเป็นเอกลักษณ์คือ เรื่องราวเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล ด้วยบริบทของชุมชนท้องถิ่นและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ แต่การเชื่อมต่อกันในโลกดิจิทัลนี้ทำให้ผู้คนมีพลังอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นพลังของการเลือกสรร และพวกเขาก็แสดงออกในวิธีที่แตกต่างกันออกไป” นายจอห์น แวกเนอร์ กล่าวเสริม

ที่มา : http://www.banmuang.co.th/news/it/129285

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...