วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วิจารณ์สนั่น!คำตอบคณิตศาสตร์ถึงนักธรรม สะท้อนระบบการศึกษาไทยทั้งพระและโยม



วิจารณ์สนั่น!คำตอบคณิตศาสตร์ถึงนักธรรม สะท้อนระบบการศึกษาไทยทั้งพระและโยม   : สำราญ สมพงษ์ รายงาน  

เมื่อวันที่ 19 ก.ย.2561 ที่ผ่านมาสังคมสื่อออนไลน์ได้วิจารณ์ต่อกรณีที่มีผู้ใช้เฟซบุ๊กคนหนึ่งได้โพสต์แบ่งปันเรื่องราว ว่าตนสอนการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ให้หลาน แต่ครูตรวจให้หลานผิดหมด ทำให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กรู้สึกงง เพราะมั่นใจว่าสอนหลานถูก จึงได้แบ่งปันภาพโจทย์เลขที่หลานได้ทำ พร้อมถามชาวเน็ตว่าคิดอย่างไรบ้างกับคำตอบนั้น

ต่อมาผู้ใช้เพจเฟซบุ๊กดังกล่าวได้โพสต์ข้อความอีกครั้ง โดยระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า เกิดจากในช่วงเย็นก่อนกลับบ้าน คุณครูตรวจการบ้านเด็ก 30 เล่ม ด้วยความเร่งรีบและไม่ทันระมัดระวัง คุณครูคิดคำตอบเป็นเรื่องการลบ ครูเลยตรวจคำตอบเป็นการลบ ครูได้ชี้แจงให้ผู้ปกครองทราบแล้วและยอมรับความผิดพลาดในครั้งนี้ และทางผู้ปกครองต้องขออภัยและขอโทษคุณครู ที่ไม่ได้มาคุยกับครูก่อนในวันนั้นเลย และคราวต่อไปจะโพสต์อะไรจะรอบคอบให้มากกว่านี้ วันนี้เราทางผู้ปกครองและคุณครูปรับความเข้าใจกันดีแล้วและจบเรื่องทุกอย่างแล้ว ขณะที่ชาวโลกออนไลน์ระบุว่า ทุกคนมีสิทธิ์ผิดพลาดกันได้ 

รายงานข่าวแจ้งว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางโลกออนไลน์คงเป็นตัวชี้วัดได้ว่าประชากรของประเทศไทยมีทักษะตามลักษณะศตวรรษที่ 21 มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคิดวิเคราะห์แยกแยะ และชวนให้คิดว่าโจทย์คณิตศาสตร์ดังกล่าวถือว่าเป็นโจทย์ในกรอบและคำตอบก็เป็นคำตอบในกรอบ และควรจะหาคำตอบนอกกรอบหรือไม่ อย่างเช่นนักปรัชญนาม "ลุดวิก วิตเกนสไตน์" เขาไม่ยอมรับความจริงที่พิสูจน์ด้วยแนวคิดคณิตศาสตร์เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังอยู่ที่วิชาคณิตศาสตร์แต่เป็นอีกโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ครูโพสต์ภาพวาดของนักเรียนคนหนึ่งพร้อมข้อความว่า "กระดาษทดเลขวิชาคณิตศาสตร์   #ยันต์ฟันแทงไม่เข้าแต่โดนไม้เรียวก็เจ็บนะคะ" พร้อมกับมีความเห็นตามมาว่านักเรียนคนดังกล่าวชอบที่จะวาด และมีคนชมว่าเขามีความถนัดด้านศิลป์ นั้นแสดงว่าเด็กนักเรียนคนดังกล่าวคิดนอกกรอบใช่หรือไม่จึงทำให้สังคมได้ทราบความถนัดของเขาที่สะท้อนออกมา  หากมีการส่งเสริมเขาอาจจะมีผลงานด้านศิลปะที่มาชื่อเสียงก็เป็นได้

กรณีดังกล่าวนั้นได้เกิดขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้เกิดขึ้นในสนามสอบนักธรรมชั้นตรีของคณะสงฆ์ไทย ประเภทวินัย เมื่อจากมีการโพสต์กระดาษคำตอบของผู้เข้าสอบเข้าใจว่าเป็นสามเณร เพราะในคำตอบนั้นระบุไว้อย่างชัดเจน จากการประเมินจากเนื้อหาของสามเณรที่เขียนลงไปนั้นคือไม่สามารถที่จะตอบคำได้ แต่ไม่ส่งกระดาษเปล่า แต่ได้สะท้อนความรู้สึกและประสบการณ์ลงไปเป็นการย้อนแยงหรือเป็นการวิจารณ์คำถาม พร้อมกันนี้ยังมีเวลาเหลือก็ได้เขียนลายยันต์ลงไปในกระดาษคำตอบด้วย  หรืออย่างเช่นคำถามว่า สิกขาคืออะไร สามเณรได้ตอบว่า 6 ขา และได้อธิบายต่อว่า สิกแปลว่า 6 นั้นก็แสดงว่าสามเณรมีพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษ

เมื่อคำตอบนี้กระจายออกไปในสื่อออนไลน์ ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์สะท้อนความเห็นเกี่ยวกับระบบการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยเช่นเดียวกับระบบการศึกษาไทย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

กลุ่มแรก กลุ่มความเห็นมีทั้งเชิงลบและบวก

ความเห็นเชิงลบ ได้ท้วงติงกับการนำกระดาษคำตอบนี้ออกเผยแพร่ทำให้ศาสนาเสียหายหรือได้รับผลกระทบ ไม่ควรแชร์ เพราะสะท้อนถึงคุณภาพการศึกษาแชร์เอาฮาไม่ได้ ความจริงไม่เกี่ยวกับข้อสอบแต่อยู่ที่คนสอบไม่มีระดับความรู้อะไรเลย อย่าโทษข้อสอบ  ข้อสอบเขาออกมาดีแล้ว ถ้าเรียนศึกษามาอย่างไรก็ตอบได้ ดูท่าจะเอาดีทางสายพระเวย์ ไม่ใส่ใจสายพระธรรมวินัย

ความเห็นเชิงบวกอย่างเช่น เป็นการกระตุ้นให้ระดมสมองจากนักวิชาการเข้ามาช่วยวิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์อย่างสร้างสรรเพือหาแนวทางพัฒนาต่อไป  ร่วมคิดในแนวทางสร้างสรรค์ร่วมรับรู้และร่วมหาแนวทางพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต


กลุ่มที่สองสะท้อนปัญหา แบ่งออกเป็นเชิงโครงสร้างกระบวนจัดการศึกษาและตัวผู้เรียน


ปัญหาโครงสร้างกระบวนจัดการศึกษาเห็นว่า การจัดการเรียนการสอนออกข้อสอบล้าหลังและไม่เหมาะสม สะท้อนคุณภาพความรู้ต่ำมาก  คำตอบชองสามเณรนี้สะท้อนให้เห็นระบบการออกช้อสอบ  สอนอยู่ที่บนดอย ออกข้อสอบอยู่ในกรุง ครูที่สอนน่าจะเก็งข้อสอบให้เณรได้ที่สำนักและออกข้อสอบในสำนัก เหมือนโรงเรียนตีวงให้แคบ เด็กจึงจะไม่เครียด  ข้อสอบเป็นข้อสอบเน้นจำอย่างเดียว จะเห็นได้จำกถามว่า คืออะไร  มีกี่ข้อ มีเท่าไรอะไรบ้าง หรือมีกี่อย่าง ถ้าไม่ท่องจำมาหรือดูให้ขึ้นใจมา รับรองว่า ไม่มีทางตอบได้  

และผู้เรียน โดยเห็นว่าสามเณรที่เข้าสอบนี้ อาจไม่ได้เรียนรู้มาดีพอที่จะเข้าสอบได้ หรือไม่เรียนรู้มาเลย ถูกเกณฑ์ให้มาสอบตามวันและเวลาเท่านั้น เมื่อกรรมคุมสอบเคร่งครัดและไม่มีคนบอกให้ จึงไม่มีอะไรในหัวของตนจะตอบคำถามในข้อสอบได้ จึงเขียนตามเข้าใจของตนออกมาอย่างนั้นหรือเขียนเล่นๆ ออกมาอย่างนั้น  จากลักษณะด้านบนของกระดาษเขียนภาษาเขมรกับยันต์ คิดว่า การเขียนเหมือนมีใครจงใจตอบแทนเณรมากกว่า เลขที่ก็เขียนเป็นภาษาเขมร คิดว่า เณร 10 ขวบ ไม่น่าจะเขียนยันต์และภาษาเขมรได้ขนาดนี้ เณรได้เปรียบเรื่องความจำ พระหลวงตาได้เปรียบเรื่องการวิเคราะห์ และเห็นว่าสามเณรมีทักษะของเจ้าของคำตอบนี้ คือทักษะในการเขียนยันต์ หากพัฒนาจากจุดนี้ จะสามารถเป็นสื่อธรรมได้ดี  


กลุ่มที่สามเสนอแนะแนวทางแก้ไข  

คือ ไม่เห็นด้วยกับกระบบการศึกษาพระปริยัติธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่เน้นแต่การท่องจำ(สุตมยปัญญา)  ไม่พัฒนาปัญญาในระดับ จินตามยปัญญาคือการคิดวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากสุตมยปัญญาหรือภาษาปัจจุบันคือ Big Data และภาวนามยปัญญาคือการสังเคราะห์ทำให้เกิดความรู้ใหม่ อันเป็นการเสริมทักษะของพลเมืองในศตวรรษที่ 21 อย่างสมบูรณ์รองรับกับโลกปั่นป่วน (อนิจจัง) หรือ Disruption ได้ 

ข้อสอบที่ดีไม่ควรถามว่า อะไร กี่ข้อ เท่าไร เพราะเป็นการถามเน้นความจำอย่างเดียว ใครจำไม่ได้ก็ทำไม่ได้ ควรถามความเข้าใจของผู้ตอบด้วยว่า อย่างไร เพื่อให้ผู้ตอบพรรณาความในรายละเอียดของเรื่องนั้นๆ ว่าเป็นอย่่างไร หรือถามหาเหตุผลด้วยว่า ทำไมหรือเพราะเหตุไรด้วย เพื่อให้ผู้ตอบอธิบายเหตุผลของสิ่งนั้นหรือการเป็นอย่างนั้นตามความน่าจะเป็นหรือเป็นไปได้แห่งเหตุผล และสุดท้าย ควรมีคำถามด้วยว่า สิ่งที่เรียนรู้มาแล้วนั้นๆ สามารถนำไปประยุกต์หรือปรับใช้กับชีวิตของตนได้อย่งไรได้บ้างด้วย ก็จะดีไม่น้อย

ควรมีการแยกข้อสอบตามภูมิของผู้เรียนดูอย่างสามเณรรูปนี้มีทักษะในการเขียนยันต์ หากพัฒนาจากจุดนี้ จะสามารถเป็นสื่อธรรมได้ดี และการเขียนยันต์เป็นอีกวิชาหนึ่งที่น่าเรียน เพราะยันต์แต่ละชุด คือโมเดลแห่งธรรม คนจะเขียนยันต์ได้ต้องมีทักษะผ่านการฝึกเขียนมีหัวทางศิลปะ และรู้ภาษาขอม แสดงว่าท่านมีฉันทะแล้ว วิรยะ จิตะ วิมังสา ความรู้จะตามมาทีหลักได้ หากมีทักษะในการเรียนรู้่ที่ดี  ดูจากชุดธรรม อิทธิบาท 4 หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จพระพุทธเจ้าวางฉันทะ เป็นข้อแรก ทำไมไม่เรียง วิมังสาเป็นข้อแรก  ต้องเรียงทักษะใหม่เป็น A(ทัศนคติ)   S (ทักษะ) N(เครือข่าย)  K(ความรู้)  ทัศนคติคือฉันทะ จิตะ ในอิทธิบาท 4  โดยปรับตาม 7 เทรนด์การศึกษาแห่งโลกอนาคต คือ 

1.เอไอ (AI) มาเขียนโค้ดต้องเป็น Coding Literacy เพราะต่อไปเอไอคือวิถีชีวิต  2.เปลี่ยนผู้รับ(passive)เป็นผู้สร้าง (active) Student as Creators  3.สร้างมนุษย์ให้อยู่กับมนุษย์เป็น Empathy and Emotion Understanding 4.สร้างเครือข่าวทีมอัจฉริยะ Collaborative learning 5.ทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาประชากร Family and Community Involvement 6.กระตุ้นสร้างอัตลักษ์เฉพาะ Individualized Learning 7.จัดห้องเรียนแบบไตรลักษณ์ Redesigning learning Spaces

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...