วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561

นักข่าวต้องเขียนโค้ดเป็นสั่งAIเขียนรายงานข่าวแทน



นักข่าวต้องเขียนโค้ดเป็นสั่งAIเขียนรายงานข่าวแทน : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน

ตอนเป็นสามเณรน้อยโดดกำแพงวัดหนีหลวงปู่ไปเรียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทั้งดีเบส โลตัส ภาษาซี ภาษาเบสิก เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา แต่เพราะเราไม่มีพื้นฐานเพราะพ่อให้บวชเรียนจึงหยุดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ไว้เพียงเท่านั้น หันมาเอาดีทางพุทธปัญญาดิษฐ์( Buddhist Artificial Intelligence: BAI) โดยเรียนเอกปรัชญาที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) จบแบบงงๆ แต่ก็รักที่จะเรียนรู้ 

พอเป็นนักข่าวมองสถานการณ์ออก หนีจากสิ่งพิมพ์เข้าสู่โลกออนไลน์ เล่นเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เขียนบล็อก ทำหน้าที่เป็นนักข่าวเว็บไซต์ ตั้งแต่กำลังเข้ามาประเทศไทยใหม่ๆ เมื่อเป็นนักข่าวสิ่งที่ต้องรู้ทันฝ่ายไอทีก็คือจะต้องรู้โค้ดในการเขียนเว็บไซต์ไม่เช่นนั้นเจ็บตาแน่ จึงหัดเขียนเว็บไซต์เป็นของตัวเองด้วยภาษา HTML อยู่ 2 ปี ไม่เก่งแต่แปลงเป็นเว็บไซต์ภาษาอังกฤษแล้วของสิทธิ์บัญชี google adsense มีรายได้บ้างเล็กๆน้อยวันละเซนต์สองเซนต์เมื่อมีผู้สนใจเนื้อหาโฆษณา

พอ  AI กำลังจะบุกไทยจึงหันมาสนใจและติดตามอย่างไม่กระพริบตาแล้วบูรณาการเข้ากับ BAI ค่อนข้างจะครบวงจรแล้ว แต่ต้องมีทักษะคือจะต้องสามารถสั่งให้ AI ทำงานเป็น BAI  ได้ ดังนั้นจะต้องมีความสามารถในการเขียนโค้ดสั่งให้ AI ทำเขียนข่าวแทนเราได้ แต่ก็มีปรมาจารย์ต้านสื่อค้านว่าไม่ถึงขั้นนั้นก็ได้แค่เขียนข่าวแบบเนียนนี้ก็ไม่อดตายแล้ว

แต่เพื่อไม่ให้ถูก AI แหกตา หรือนักเขียนโค้ดแตกตา ก็ควรจะศึกษาไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน อาจจะได้ต่อยอดองค์ความรู้เดิมสมัยที่เป็นสามเณรน้อย ก็ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่าเรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร แต่เมื่อได้ลำแล้วก็ต้อง "ลำให้สุดแขนแพนให้สุดปีก" อย่างที่เจ้าคุณอาจารย์ด้านปรัชญาได้แนะนำ หรือ "ร้องสุดคำ รำสุดแขน" ซึ่งตอนนี้ก็มีเพื่อนที่เขียนโค้ดเป็นอยู่แต่ก็หาเวลาว่างยาก คงต้องหาบริการจากแหล่งอื่น เห็นมีคนสอนซื้อโฆษณาในเฟซบุ๊กแจงรายละเอียดได้ยาวและน่าสนใจ เพราะมาเหยียบถิ่น BAI แล้ว พร้อมกันนี้มีแนวคิดตั้งสำนักข่าวพุทธปัญญาประดิษฐ์(AI)แต่ก็คงต้องหาสปอนเซอร์เพราะเป็นนักรบมือเปล่าจะไปได้กี่น้ำ

ทั้งนี้ผู้ที่จุดประกายนักข่าวต้องเขียนโค้ดเป็นนั้งคือนายพีระพงษ์ เตชะทัตตานนท์  Data Journalism โดยได้เสนอในงานสัมมนายุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2561 หัวข้อ  “ทางเลือกทางรอดคนสื่อ ยุค 4.0” โดยมีนายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวเปิดงาน  และ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) กล่าวต้อนรับ มีคณะวิทยากรและผู้เข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าว ประมาณ 200 คน เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2561  ที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศราฯ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)  จัดขึ้น 

หลังจากนั้นนายพีระพงษ์ได้ขยายความเพิ่มเติมในเฟซบุ๊กส่วนตัวคือ Peerapong Techatuttanon พร้อมภาพประกอบ ความโดยสรุปว่า แอบเดาว่า ทางสมาคมเห็นว่าเรื่องนี้สำคัญเลยชวนผมไปคุย

ส่วนตัวค่อนข้างแน่ใจว่า คำตอบเรา กับ ความคาดหวังของผู้จัด คงไม่ตรงกันแน่ๆ เลยพยายามสื่อสารและตีโจทย์ไว้ 3 - 4 ประเด็น ขอแอบเอา Key Message มาเล่าไว้อีกทีนะครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่พยายามจะผลักดันให้เรื่องนี้เกิดจริงๆ ในไทยและไปรอดถึงฝั่ง

1. Data Journalism อาจไม่ใช่ทางรอดของคนสื่อ และทางรอดของ “คนสื่อ” โดยเฉพาะทางธุรกิจไม่สำคัญเท่ากับทางรอดของ “สื่อ” ต่อ Trust ของสังคม ที่ทุกวันนี้ Trust ต่อสังคมที่ยึดโยงกับสิทธิ เสรีภาพ และประชาธิปไตยมันตกต่ำเกินกว่าจะให้ประชาชนศรัทธาในบทบาทของสื่อ

2. Data Journalism ที่มันเกิดมาเกือบ 200 ปีที่แล้ว มันเกิดจาก “ความไม่เชื่อ” ในผู้มีอำนาจ การตั้งถาม และพลังของการเอาข้อมูลที่มีมาต่อสู้ Mentality แบบนี้มันต้องการสื่อที่มีพลังคัดคานอำนาจ ความรู้ และสถานะทางสังคมของผู้มีอำนาจ


3. งาน Data Journalism ต้องการการทำงานเป็นทีม มีทักษะที่หลากหลาย และเข้าใจการทำงานพื้นฐานของกันและกัน การสร้าง Ecosystem ให้คนทำงานที่หลากหลายได้เจอกัน ได้แลกเปลี่ยนกัน ได้เห็นเครื่องมือของกันและกัน จะสร้างบรรยากาศและความร่วมมือใหม่ให้เกิดได้ คำถามว่าจะเอา “Coder มาเทรนเป็นนักข่าว หรือ จะเอานักข่าวมาเทรนเป็น Coder จึงเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจว่าโลกของการทำงานยุคใหม่เป็นอย่างไร

4. แม้ว่า ต้นทุนของ Data Journalism จะสูง แต่หลาย Business ในแง่ Content ก็สามารถทลายข้อจำกัดด้านการจ่ายเงินได้ ทั้งในรูปแบบของ Subscribe การมี Sponsor หรือแม้กระทั่งการบริจาค ดังนั้น ถ้าผลงานให้คำตอบสังคมได้ในแง่ของ Trust (ในข้อ1) เรื่องต้นทุนไม่ใช่ของยาก

5. Data Journalism เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วย Branding ให้สำนักข่าว เพราะคุณค่า ความน่าเชื่อถือในตัวมันเอง และที่สำคัญใครก็ลอกไม่ได้ 



ดูจากลิงค์นี้เกี่ยวกับ AI เช่น https://th.heypik.com/hey-graphic/artificial-intelligence-icon-png_28781749.html,https://th.heypik.com/so-graphics/สติปัญญาประดิษฐ์อัจฉริยะ+ai+สติปัญญาประดิษฐ์เครื่องจักรหุ่นยนต์สมองเวกเตอร์วัสดุดีเอ็นเอหุ่นยนต์มือเวเฟอร์ และสติปัญญาประดิษฐ์ไอคอนปัญญาประดิษฐ์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์สติปัญญา ai ai ปัญญาวัสดุเวกเตอร์ https://th.heypik.com/so-graphics/ ถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของรัฐบาลไทยอย่างยั่งยืน

การแก้ปัญหาหนี้นอกระบบต้องการแนวทางที่เป็นระบบและยั่งยืน โดยใช้หลักการพุทธสันติวิธีและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการดำเนินการ ทั้งนี้การ...