วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2561

จากจิตสาธารณะ..สู่จิตอาสาในพระไตรปิฎก ?




@ เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงของการรณรงค์ให้คนในชาติเป็นคนที่มีจิตสาธารณะเพราะเรื่องจิตสาธารณะนี้มีความสำคัญกับคนทุกคนในสังคมเราในฐานะที่สังคมเราปัจจุบันเป็นสังคมแห่งเทคโนโลยี เป็นสังคมแห่งความยุ่งยากซับซ้อน

เป็นสังคมของการแข่งขันเอาดีเอาเด่นกัน ต่างคนต่างคิดต่างคนต่างทำดิ้นรนกันไปเพื่อเอาตัวรอดเอาชีวิตให้รอดไปวันๆหรือเพื่อสร้างประโยชน์ให้เกิดกับกลุ่มหรือพรรคพวกของตนเองจน

ละเลยหรือลืม "ความเป็นสาธารณะ"หรือพื้นที่ของสังคมไป ดังนั้น หน่วยงานของรัฐจึงต้องออกมารณรงค์ให้คนในชาติมีจิตสำนึกสาธารณะ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญของพื้นที่ทางสังคมให้มากขึ้น

@ จิตสาธารณะคืออะไร...ในพระไตรปิฎก ?

ในทางพระพุทธศาสนาถามว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องจิตสาธารณะบ้างหรือไม่ ? คำตอบคือ สอนครับและทรงสอนมาตั้งแต่แรกด้วย ดังที่ผมได้พูดมาแล้วในเรื่องของการเอาแต่ใจตัวเองว่า

คนอินเดียโดยมากมีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในตนเองจนกลายมาเป็นความเห็นแก่ตัว และเมื่อมีความเห็นแก่ตัวก็มักจะเอาแต่ใจตัวเองเป็นหลัก เนื่องมาจากการยึดมั่นในตัวตนนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้

(๑) ละอัตตาตัวตน คือสอนเรื่องอนัตตา เพราะความเห็นเรื่องอัตตาตัวตนนี้เป็นเรื่องที่นำมาสู่ความเห็นที่ยึดโยงว่าตัวเอง ตนเองนั้นมีความสำคัญ และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนที่สุดก็จะมองไม่เห็นคนอื่นหรือพื้นที่ที่เป็นสาธารณะเลย

เพราะเมื่อมองไม่เห็นคนอื่นก็มีความเชื่ออยู่ที่ว่า "เรานั้นสำคัญที่สุด"เพราะเมื่อเกิดความสำคัญตนเองผิดเช่นนี้แล้ว เรื่องของคนอื่นก็จะไม่เกิด ที่สุดจะเกิดความตระหนี่ หวงแหน ไม่มีการแบ่งปัน และเห็นแก่ตัว

ดังนั้นการที่ทรงสอนเรื่อง อนัตตานี้จึงถือว่าทรงสอน เพื่อให้ละตัวตนการยึดมั่นในตัวในตนลง เมื่อละความยึดมั่นลงได้ปัญหาเรื่องอื่นๆก็จะลดลงตามไปด้วย เช่น ลดอัตตาย่อมทำให้ลดความเห็นแก่ตัวลง

ลดความตระหนี่ถี่เหนียวลงได้ ลดความหวงแหนในพรรคพวกลง ลดความคับแคบของการมองโลกลงทำมห้มองโลกในมุมที่กว้างมากขึ้น อันนี้คือจุดที่ทรงสอนเรื่องอนัตตาหรือการละอัตตาตัวตนลง

@ ทรงสอนเรื่องการแบ่งปันหรือการให้ทานเพื่อละอัตตาหรือความตระหนี่หรือการยึดโยงความเป็นตัวเองลง เพราะการให้ทานหรือการแบ่งปันนี้จัดว่าเป็นคำสอนที่เน้นให้มนุษย์รู้จักการมองโลกให้กว้างมากขึ้น มองให้เห็นคนอื่นๆมากขึ้น มองให้เห็นความ"ขาดแคลน"ของคนอื่นมากขึ้น ดังนั้น การให้ทานจึงถือว่าเป็นคำสอนที่ทรงเน้นให้คนเราเป็นคนที่มีจิตสาธารณะมากขึ้น

(๓)ทรงสอนเรื่องของ เป้าหมายของชีวิตหรือประโยชน์ที่ชีวิตเราจะพึงมีพึงได้ โดยทรงสอนให้มนุษย์เรากำหนดเป้าหมายของชีวิตเอาไว้ถึง ๓ ระดับก็คือ

(๑) เป้าหมายเพื่อตนเอง (อัตตัตถะ)เป็นการสอนให้มนุษย์เรามองให้เห็นว่าเกิดมาแล้วต้องสร้างประโยชน์เพื่อตนเอง คือต้องทำอะไรๆเพื่อตนเองให้ได้ให้สมความตั้งใจที่ได้เกิดมาเป็นคน คือเราต้องมีความมั่นคงของชีวิตเพื่อตนเองบ้าง

(๒)เป้าหมายเพื่อคนอื่น (ปรัตถะ) เมื่อเราบรรลุเป้าหมายเพื่อตนเองในระยะหนึ่งแล้วการดำเนินชีวิตเราจะต้องดำเนินไป เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ซึ่งคำว่าคนอื่นในที่นี้ก็คือ

(๑) คนรอบข้างพอแม่บุตรภรรยา (๒)เพื่อนฝูงมิตรสหาย (๓)คนรับใช้ใกล้ชิด (๓)คนทั่วๆไปในสังคม ซึ่งคนเหล่านี้จะต้องอยู่ร่วม เกี่ยวข้องกับเราอยู่ตลอดเวลาและมีความสัมพันธ์กับเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างแน่นอน
การทำอะไรจะต้องคำนึงถึงคนในระดับที่สองนี้ด้วย

(๓) เป้าหมายเพื่อสังคม (อุภยัตถะ) เป็นการสอนให้มองโลกแบบประสานประโยชน์ก็คือ มองให้เห็นว่าอะไรคือ สิ่งที่เราต้องการ อะไรคือสิ่งที่คนอื่นต้องการแล้วประสานประโยชน์ทั้งสองฝ่ายนั้นให้เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืนไม่

ทำให้ความต้องการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญเสียไป เช่น การทำงานต้องไม่ทำงาน บ้างานจนลืมบ้านลืมลูกลืมเมีย หรืออยู่กะลูกกะเมียจนลืมทำงาน แบบนี้ถือว่าทำอะไรแบบสุดโต่ง คนที่ดี เข้าใจโลกต้องประสานประโยชน์ระหว่างเรื่องตนเองกับเรื่องงานให้เข้ากันให้ได้ไม่เสียประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

ผมว่าแนวคิดเรื่องจิตสาธารณะของพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะในพระไตรปิฎกจะมีลักษณะแบบนี้แหละ คือพระพุทธศาสนาเน้นให้คนเรารู้จัก

(๑)การละอัตตาตัวตนคือการละความเห็นแก่ตัวลงบ้าง เมื่อเห็นแก่ตัวย่อมมองเห็นคนอื่น

(๒) การรู้จักการเสียสละหรือการแบ่งปันสิ่งที่ตนเองมีเพื่อคนอื่นบ้าง ซึ่งการให้ที่ว่านี้ก็คือ ให้วัตถุ ให้ธรรมะ และให้อภัย ๓ อย่างนี้พระพุทธเจ้าแม้จะทรงยกย่องการให้ธรรมะว่าดีกว่าเยี่ยมกว่าการให้ทั้งปวงก็ตาม

แต่ก็ไม่ได้ทรงละเลยที่จะสอนเรื่องการให้อย่างอื่น เช่น การให้สิ่งของ หรือการให้อภัยเลยเพราะการให้ทั้งสองนั้นก็มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากันเลยทีเดียว ที่ทรงสอนเรื่องการให้ก็เพราะทรงมุ่งให้เรามองเห็นเพื่อนร่วมโลกให้กว้างมากขึ้น

(๓) การรู้จักกำหนดความสัมพันธ์ของผลประโยชน์ของชีวิตที่เราพึงมีพึงได้อย่างเข้าใจไม่เน้นไปทางใดทางหนึ่งแต่ให้รู้จักการประสานประโยชน์ให้เกิดกับชีวิตทุกชีวิตให้ได้ ชีวิตจึงจะมีความสุข

@ จากจิตสาธารณะ...สู่ความเป็นจิตอาสา ในพระไตรปิฎก ?

ในเรื่องของการมีจิตสาธารณะนี้ย่อมทำให้เราจะต้องพิจารณาให้เห็นถึงสิ่งหนึ่งที่จะต้องมาพร้อมกับความเป็นสาธารณะ เนื่องจากคำว่า "จิตสาธารณะนั้นเป็นคำประดิษฐ์ที่มุ่งถึงความเป็นผู้ที่มีจิตเป็นสาธารณะกุศลคือมุ่งทำประโยชน์เพื่อคนทั่วไปในสังคม ดังนั้น คำว่า "จิตสาธารณะ"จึงเป็นเพียงแค่ "ตัวทฤษฏี"เท่านั้น การที่จะทำให้จิตสาธารณะมีผลได้จะต้องมีอีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือ "จิตอาสา"

คำว่า จิตอาสา นั้นในพระไตรปิฎกตรงกับคำว่า ฉันทะ ความความปรารถนาที่จะทำสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล หรือจิตที่มุ่งประโยชน์เพื่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมซึ่งคำว่า "ความมุ่งมั่น"ดังว่าหรือความเป็นผู้ที่มีจิตอาสานั้นภาษาบาลีใช้คำว่า ฉนฺทํ ชเนติ หรือทำความพอใจให้เกิดขึ้นในเรื่องนั้นๆ(ม.มู.(ไทย)๑๒/๑๓๕/..)

นอกจากนั้น คำว่า อาสา ในภาษาบาลีก็หมายถึง ความหวัง ดังปรากฏในคำว่า ลาภาสา จ ชีวิตาสา จ หรือแปลว่า ความหวังในลาภ ความหวังในชีวิต (อง.เอก.(ไทย)๒๐/๑๑๙/..) ซึ่งคำว่า อาสา นี้ไม่ได้แปลว่าการเสนอตัวทำงานเหมือนที่ปรากฎในภาษาไทยตามพจนานุกรมภาษาไทยที่ว่า คำว่า อาสา หมายถึงเสนอตัวเข้ารับทำ(http://www.royin.go.th/dictionary/lookup_domain.php)

ดังนั้นคำว่าอาสานี้จึงไม่เหมือนกับความหมายในภาษาบาลีเลยทีเดียว แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เป็นคำว่า จิตอาสาแล้วถ้าจะแปลให้เป็นไปตามความหมายภาษาบาลีก็จะหมายถึง จิตที่มีความหวัง ซึ่งก็พอกล้อมแกล้มไปได้อยู่ แต่ถ้าหากจะเอาความจริงๆคำว่าจิตอาสาน่าจะตรงกับคำว่า

"ฉันทะ"มากกว่าคือเต็มใจทำสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล คือเมื่อตัดสินใจทำแล้วย่อมเกิดความปลื้มใจดีใจหรือ จตฺตมโน เพราะความที่ตนเองได้ช่วยเหลือหรือตั้งใจพอใจทำไปนั้น นั่นเองคือความหมายของคำว่าจิตอาสาอย่างแท้จริง

อนึ่ง คำว่าจิตอาสา นี้มุ่งหมายถึงความเป็นผู้ที่มีจิตปรารถนาที่จะช่วยเหลืองานผู้อื่น ซึ่งผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีจิตสาธารณะเป็นพื้นฐานของจิตใจเมื่อมีจิตสาธารณะแล้วก็มีความโน้มเอียงไปสู่การลงมือทำเพื่อทำให้ผู้อื่นได้รับความสุข

การที่ลงมือทำเพื่อก่อให้เกิดความสุขกับผู้อื่นนี่แหละที่เราเรียกหรือเข้าใจกันในปัจจุบันว่า "เป็นจิตอาสา" ซึ่งเป็นจิตที่มีฉันทะคือความพอใจเป็นเพื้น เมื่อมีความพอใจก็ย่อมปรารภความเพียร เมื่อปรารภความเพียรแล้วก็จะสามารถสร้างความสุขให้เกิดกับตนเองและผู้อื่นได้ และนี้คืือความสัมพันธ์ระหว่า (๑)จิตสาธารณะ และ(๒) จิตอาสาที่ปรากฎในพระไตรปิฎก

จิตอาสา..โครงการที่เกื้อหนุนสังคมไทยยุค 4.0 ?

ผมเห็นเป็นการส่วนตัวนะครับว่าโครงการจิตอาสานี้ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมากๆที่ได้มีส่วนช่วยเหลือสังคมและกระตุ้นให้คนไทยเราทุกคนมีจิตสำนึกต่อสาธารณะและอาสาที่จะออกมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น โดยการลดละอัตตาตัวตนแล้วมุ่งสูงการทำงานเพื่อสาธารณะอย่างแท้จริง เป็นโครงการที่สอนคนให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัวและรู้จักการเสียสละและให้อภัย ประสานประโยชน์และสร้างคุณงามความดีให้เกิดกับสังคม เพื่อให้เป็น "พลังแผ่นดิน"อย่างแท้จริง 


Cr.FB-Naga King

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...