วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

แนะวิธีทำวิจัยการเมืองแนววิทยาศาสตร์การเลือกตั้ง



วันที่ 15 ต.ค.2561  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ (ช่วยธานี) รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการทำวิจัยสำหรับการเลือกตั้งผ่านทางเฟซบุ๊ก "Boonlert Chuaythanee" ความว่า ฐานะอาจารย์สอนรัฐศาสตร์เมื่อมีลูกศิษย์มาถามเมื่อเป็นคำถามเชิงวิชาการ จึงขอนำเสนอความรู้เชิงวิชาการที่คิดว่าพอจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ในการวางแผนการเลือกตั้งที่ตั้งเป็นประเด็นเบื้องต้นว่า “วิทยาศาสตร์การเลือกตั้ง” แต่คงเสนอรายละเอียดมากมายนักก็ไม่ได้ เอาแค่สรุปๆ ตามความเหมาะสมแก่สมณวิสัย ดังนี้



D1..ขั้นตอนแรกในการเลือกตั้ง ผู้สมัครจะต้องทำวิจัยเชิงสำรวจเสียก่อนว่า มีคนจำแนกตามกลุ่มต่างๆ โดยคร่าวๆ คือ หาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane จากนั้นทำการสุ่มโดยวิธี Systematic Sampling ผลจากการสำรวจนำมาวิเคราะห์ 3 เขตยุทธศาสตร์ อันประกอบด้วย
1) เขตเขา คือ เขตของคู่แข่ง เขตนี้เป็นฐานคะแนนเสียงให้กับคู่แข่ง โอกาสที่จะเปลี่ยนใจมาเลือกเราน้อยมาก (ถึงซื้อเสียง ก็จะรับแค่เงินแต่ก็เลือกคนเดิม)
2) เขตเรา คือ เขตที่เลือกเราแน่ๆ เขตนี้ต่อให้เราไม่หาเสียง หรือลงทุนหาเสียงน้อย เราก็ได้คะแนนเสียง



3) เขตเป็นกลาง คือ เขตที่ชาวบ้านยังไม่ตัดสินใจเลือก เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่จะต้องแย่งชิงระหว่าง “เรากับเขา” ในกรณีที่เขตเขา กับ เขตเรา ได้คะแนนเสียงไม่ชนะเด็ดขาด จะต้องอาศัยเขตเป็นกลางเพื่อคว่ำคู่แข่ง โดยเขตเป็นกลางจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  (1) กลุ่มเฉยเมยปัญญา คือ กลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร แต่กำลังมองหานโยบายที่ตนเองจะได้ประโยชน์ แล้วค่อยตัดสินใจ (2) กลุ่มเฉยเมยไร้เดียงสา คือ กลุ่มที่ไม่สนใจนโยบาย แต่สนใจเรื่องพฤติกรรมความใกล้ชิดสนิทสนม งานศพ งานบุญ งานบวชมาร่วมมั้ย ในช่วงที่หาเสียงเลือกตั้ง

สาระสำคัญใน D1…. คือ ต้องสามารถระบุตัวเลขคะแนนเสียงโดยประมาณการในแต่ละเขตพื้นที่ให้ได้ เพื่อจะเดินหน้าขั้นตอนต่อไป

D2....เมื่อได้ข้อมูลตัวเลขมาแล้ว จากนั้นเราจะต้องเริ่มวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในเรื่อง “สู้” หรือ “ถอย” โดย 1) ถ้าเขตเรามีคะแนนเสียงสูงกว่า เขตเขา + เขตเป็นกลาง เท่ากับว่า เราชนะแน่นอน อันนี้แทบไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมาก ออกรณรงค์พบปะชาวบ้านตามธรรมเนียม เช่น มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 1,000 คน จากการสำรวจพบว่า เขตเรามีฐานคะแนนเสียง 600 คน แบบนี้นอนมา(แต่ระวังวิชามาร) 

2) ถ้าเขตเขามีคะแนนเหนือเราขาด ถึงเราจะได้คะแนนเขตเป็นกลางมา เขาก็ยังชนะขาดลอย กรณีนี้ถ้าจะลงสมัครเพื่อให้คนรู้จักมักคุ้นก็ไม่เสียหายอะไร แต่ต้องทำการเมืองเชิงสมานฉันท์ คือ เป็นมิตรกับคู้แข่งไว้  3) ถ้าทั้งเขตเขาและเขตเราไม่มีใครชนะขาด วัดแพ้ชนะกันที่เขตเป็นกลาง และอาจจะล้ำพรมแดนเข้าไปในเขตคู่แข่ง กรณีนี้ต้องวางยุทธศาสตร์การรณรงค์หาเสียงอย่างเป็นวิทยาศาสตร์(ทั้งวิชาเทพและวิชามารก็จะถูกนำมาใช้)

D3..... ติดตามตอนต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนะแนวการจัดการแนวพุทธสำหรับพระธรรมทูตไม่เพียงแต่ส่งเสริมสันติภาพในระดับจิตใจเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะมีผลดีต่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยในระยะยาว

แนะแนวการจัดการแนวพุทธสำหรับพระธรรมทูตไม่เพียงแต่ส่งเสริมสันติภาพในระดับจิตใจเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างสังคมที่มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งจะมีผ...