วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ทักษะงานของมนุษย์ ในโลกอนาคต


          อริญญา เถลิงศรี Managing Director บริษัท SEAC กล่าวว่า   สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปกังวลคือการที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะแย่งงานของมนุษย์
          

          ทักษะที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าหุ่นยนต์
          1.ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
          ซึ่งหมายถึงกระบวนการคิดโดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างรอบคอบโดยอาศัยเหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็น รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อตรวจสอบพิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นๆ ให้แม่นยำ เพราะถึงแม้ว่า AI จะสามารถคำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินก็ยังคงเป็นมนุษย์นี่เอง
          2.ทักษะความคิดสร้างสรรค์
          เพราะสมองของมนุษย์มีความซับซ้อนและมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายรูปแบบจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเทคโนโลยีและ AI บนโลกใบนี้ต่างเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง สิ่งที่ดีไปกว่านั้นคือแม้ว่าคนเราอาจไม่ได้เกิดมาแล้วมีทักษะความคิดสร้างสรรค์
          3.การคิดหาทางออก
          หาคำตอบได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเราทุกคนไม่ได้เกิดมาแล้วคิดแบบ Steve Jobs ได้ แต่เราก็ยังมีรูปแบบขั้นตอนการคิดที่ฝึกให้เราทำเช่นนั้นได้ เช่น การฝึกคิดแบบ Design Thinking หรือเทคนิคการคิดหาคำตอบแบบนักออกแบบเช่นนี้ เป็นต้น
          4.ทักษะทางอารมณ์
          สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าหุ่นยนต์ได้อย่างชัดเจนอีกข้อคือ เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่น ความสามารถในการทำความเข้าใจเชิงลึกกับความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของคนอื่นทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ที่อาจเรียกได้ว่าคือศิลปะในการจินตนาการมองโลกจากมุมของคนอื่น เพื่อที่จะสามารถเข้าใจได้ชัดขึ้น ว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไรโดยที่ไม่ใส่ความรู้สึกของเราลงไป ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่พิเศษและเฉพาะตัวของมนุษย์ และหุ่นยนต์ทำไม่ได้
          แน่นอนว่าคงปฏิเสธการเข้ามาของเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ในโลกอนาคตไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้การทำงานได้ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อให้โลกการทำงานในอนาคตของทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานและอยู่ร่วมกันได้
          บกพร่องเรื่องทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในองค์กร หรือ Soft Skill หลายบริษัทจึงให้ความสำคัญกับทักษะด้าน Soft Skill อย่างทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการเข้าสังคม มากกว่าทักษะวิชาชีพอย่างทักษะด้านการคิดคำนวณ โดย Soft Skill นี่เองจะกลายเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้นั้นจะมีอนาคตการงานที่ดีหรือไม่ จะถูกจ้างเป็นพนักงานประจำหรือไม่
          จากข้อมูลการสำรวจของ LinkedIn นี่คือ Soft Skills ที่คนทำงานยุค 2018 ต้องมีโดยด่วนเพราะองค์กรต่างๆ กำลังมองหา
          1.ภาวะผู้นำ เรื่องของการมีภาวะผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง เมื่อคนเรามีภาวะผู้นำ ก็จะเกิดความคิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ และไม่รอคอยคำสั่งเพียงอย่างเดียว
          2.การสื่อสาร เรื่องการสื่อสารที่ดูเหมือนเป็นเรื่องที่เราทำกันอยู่ในชีวิตประจำวันกลับกลายเป็นเรื่องยากในหลายๆ สถานการณ์ เช่น การสื่อสารระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ระหว่างบริษัท-ลูกค้า ดังนั้นคนที่มีทักษะด้านการสื่อสารจะลดข้อผิดพลาด ลดความขัดแย้งในการทำงานได้มากกว่าคนทั่วไป
          3.ความร่วมมือ เรื่องการทำงานเป็นเรื่องของความร่วมมือ หรือการทำงานเป็นทีม เมื่อองค์กรมีคนที่สามารถทำงานร่วมกันได้ดีก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็ว ลดข้อขัดแย้งระหว่างทาง
          4.การจัดการเวลา ในยุคที่เวลาเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด คนที่มีทักษะนี้ย่อมสามารถจัดการงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี
          นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของทักษะการปรับตัว ศักยภาพในการเติบโต และการลำดับความสำคัญของงาน ที่หัวหน้างานส่วนใหญ่พิจารณาเวลารับคนเข้าทำงานอีกด้วย
          สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าคุณจะเก่งขนาดไหน แต่ถ้าไม่สามารถทำงานเป็นทีม รับคำสั่ง และช่วยให้องค์กรไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ก็ยากที่บริษัทจะต้องการตัวคุณ อย่าลืมว่าคนที่เก่งมีอีกมากในท้องตลาด แต่คนที่ทำงานดีหาไม่ได้ง่ายๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าเรื่องทักษะ ความรู้ ความสามารถเป็นเรื่องที่เปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา เราไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือคอยอัพเดททักษะ ความรู้ของเราให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้ตลอดเวลา

          ที่มา: https://www.posttoday.com/life/life/567650

ปัญญา ๓ ฐาน ได้แก่ ฐานกาย (Hand) เป็นการลงมือปฏิบัติ ได้สัมผัสสัมพันธ์กับสิ่งนั้นๆ จนเกิดความรู้สึก จิตใจ (Heart) ที่มองเห็นตนเองทั้งที่เป็นสภาวะอารมณ์กุศล (ด้านบวก) และอกุศล (ด้านลบ) ของตนเอง และฐานคิด/ปัญญา (Head) เพื่อให้เกิดความสมดุล เราจะพบว่า คนบางคนชอบการเรียนผ่านการลงมือทำจริง (Active Experimentation) ขณะที่บางคนถนัดการเรียนรู้โดยการสังเกตจากแหล่งต่างๆ แล้วสะท้อนกลับเป็นการเรียนรู้ (Reflective Observation)  

Kolb ก็อธิบายว่า กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นประสบการณ์มี ๔ ขั้น คือ 
.
ขั้นที่ ๑ เริ่มต้นจากผู้สอนออกแบบการเรียนรู้หรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (learning experience) ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ขั้นนี้จะเกี่ยวข้องกับความรู้สึก (feeling) มากกว่าความคิดและเหตุผลเนื่องจากผู้เรียนได้สัมผัสสัมพันธ์หรือลงไปประสบด้วยตนเอง ในทางพุทธศาสนามองว่าจะเกิดสภาวะทางด้านอารมณ์ ๒ อย่างเกิดขึ้นคือ สภาวอารมณ์ด้านกุศล (บวก) และอกุศล (ลบ) ทั้่งนี้ผู้เรียนจะเกิดสภาวะอารมณ์ด้านไหนมากกว่ากัน ทั้งนี้ อยู่ที่ผู้สอนว่าจะออกแบบการเรียนรู้หรือจัดประสบการณ์ที่มีเป้าหมายการเรียนรู้อย่างไรด้วย
.
.
ขั้นที่ ๒ การสะท้อนและอภิปราย (reflect and discussion) ผู้เรียนจะได้แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับหรือจากสถานการณ์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับตนเอง ผ่านการแลกเปลี่ยนในกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตและคิดไตร่ตรองจากประสบการณ์ที่ได้รับ เรียกว่าการมองเห็น (watching) ทั้งนี้ บทบาทผู้สอนจะตั้งคำถามที่เป็นคำถามปลายเปิด พลังคำถามจะทำให้ผู้เรียนเกิดการใคร่ครวญ อาทิ รู้สึกอย่างไรบ้างขณะทำงานร่วมกับเพื่อน หรือเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองบ้างขณะสอดด้ายเข้ารูเข็ม ได้เรียนรู้อะไรบ้าง จะประยุกต์ใช้อย่างไร เป็นต้น ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ถึงความคิด ความรู้สึกคนอื่นที่ต่างไปจากตนเอง ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้กว้างขวางมากขึ้น และผลสะท้อนความคิดเห็นเป็นการอภิปรายทำให้ได้ข้อสรุปที่หลากหลาย นอกจากนั้นแล้ว ผู้เรียนจะได้เรียนรู้การทำงานเป็นท่ม การควบคุมตนเองและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ซี่่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทั้่งด้านความรู้ และเจตคติในเรื่องที่อภิปราย ทั้่งนี้ การที่ผู้เรียนจะอภิปรายหรือแสดงความคิดเห็นได้มากน้อยแค่ไหน เป็นไปตามเนื้อหาหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับใบงานที่ผู้สอนจัดเตรียม รวมไปถึงประเด็นคำถามสำหรับการอภิปรายร่วมกันด้วย 
.
ขั้นที่ ๓ การสรุปเป็นความคิดรวบยอด หรือหลักการ (concept) จากประสบการณ์ที่ได้รับ และสามารถเชื่อมโยงความรู้เกี่ยวกับเหตุกการณ์ต่างๆ ได้ อาจเรียกว่าเป็น “นักคิด” หรือ “นักทฤษฎี” ที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเอง จากการทำกิจกรรม หรือจากการสะท้อนความคิดเห็น หรือการอภิปรายในขั้นตอนที่ ๒ โดยผู้สอนอาจจะสรุปเป็นความคิดรวบยอด ซึ่งความคิดรวบยอดจะส่งผลต่อการเปลี่ยนเเปลงเจตคติ หรือความเข้าใจเนื้อหาขั้นตอนของการฝึกทักษะต่างๆ ที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนปฏิบัติได้ง่ายขึ้น 
.
.
ขั้นที่ ๔ เป็นการนำแนวคิด หลักการต่างๆ ที่สร้างขึ้นไปทดลอง หรือประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ ๆ (tested in new situation) และการวางแผนเพื่อพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือเรียกว่าเป็น “นักกิจกรรม” ก็ได้
.
.
การเรียนรู้ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากผู้เรียนเอง โดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริง (learning by doing) ซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจากการกระทำจริง ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ใหม่โดยเริ่มจากรับรู้ปัญหา คิดหาแนวทางแก้ไข ลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์จาการปฏิบัติ ผู้เรียนจะเป็นผู้สร้างความรู้ของตนเอง เกิดการปรับเปลี่ยนความรู้เดิมให้เป็นความรู้ใหม่ ซึ่งจะเป็นความรู้ที่มีความหมายต่อผู้เรียนมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ในการคิดและการรกะทำจนก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง วิธีการส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์มีหลักสำคัญ คือ 

(๑) ผู้สอนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในเรื่องที่ผู้เรียนได้ลงไปประสบพบเห็นด้วยตนเอง

(๒) เป็นการเรียนรู้ด้วยการกระทำจนทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ท้าทายและต่อเนื่อง

(๓) มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง

(๔) การเรียนรู้ที่อาศัยการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ เช่น การอภิปราย การพูดนำเสนอ การเขียน การวาดรูป การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสังการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ความรู้
.
.
ฉะนั้น เราจะเห็นได้ว่าประสบการณ์ของมนุษย์ไม่อาจแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ได้ เราจึงให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ที่มีความเป็นสหวิทยาการผ่านปัญญา ๓ ฐาน คือ ฐานกาย ฐานใจ และฐานคิด และเชื่อมโยงกับวิชาการอันหลากหลาย เช่นเดียวกับในชีวิตจริงเราต้องเข้าใจความเชื่อมโยงและการพึ่งพากันของสรรพสิ่ง ซึ่งกระบวนการเรียนรู้เช่นนี้จึงให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์พึ่งพากันผ่านปัญญา ๓ ฐาน ข้างต้น
.
.
แผนกิจกรรมการเรียนรู้ ป.๕ : พระสอนศีลธรรมแกนนำภาคใต้
เขียนบทความ : พระมหานพดล ธมฺมานนฺโท

Somsak Boonpoo
41 นาที · 
หลักพุทธบริหารการศึกษา : ผู้บริหารที่ดีต้องรู้จักการบริหารความคิด ? ตอนที่ (๑)
 ผู้บริหารท่านนั้นยังขาดสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาศาสตร์ทั้ง (๓)  “ความคิด”  จินตามยปัญญา โยนิโสมนสิการ คนที่มีกึ๋น สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้ง (๑) ระยะประชิดตัว หรือ (๒) ในระยะยาวได้  
@ ระบบคิดของพระพุทธศาสนา  ๔ ลักษณะด้วยกันคือ

(๑) อุบายมนสิการ แปลว่า การทำไว้ในใจโดยอุบาย (สํ.ม. (ไทย) ๑/๒๑/๑๓๘.)เป็นการคิดหาวิธีหรือคิดให้สอดคล้องกับวิธีการปฏิบัติในการเข้าถึงความจริงอย่างชาญฉลาด ซึ่งบางครั้งใช้แทนคำว่า “กุศโลบาย” หรือ “อุปายโกศล”

(๒) ปถมนสิการ การกระทำไว้ในใจโดยถูกทาง (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต):๒๕๓๘:๒๙)การคิดเป็นแนวที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน หมายถึง การคิดที่ไม่แตกแยกหรือแยกส่วน ซึ่งในการกระทำใดๆ ก็ตาม ผู้กระทำจะต้องมีปัญญาและจะต้องคิดให้ถูกวิธีจึงจะสามารถแก้ไขปัญหาได้

(๓) กรณมนสิการ แปลว่า การคิดตามเหตุ คิดหาเหตุผล คิดอย่างมีเหตุผล หรือคิดถึงเหตุให้สอดคล้องกับผลว่า เหตุอย่างนี้เมื่อทำไปแล้วจะเกิดผลอย่างนี้เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการคิดอย่างมีเหตุผล (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต):๒๕๓๘:๒๙)

(๔) อุปาทมนสิการ แปลว่า การคิดถึงบ่อเกิดหรือที่เกิด หรืออีกนัยหนึ่งคิดให้เกิดผลว่า เป้าหมายที่กระทำโดยวิธีการนี้จะมีผล หรือเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดประโยชน์จริงหรือไม่ เมื่อคิดเห็นผลเช่นนี้ย่อมก่อให้เกิดกำลังใจ ตั้งความเพียรเพื่อจะได้บรรลุเป้าหมายที่หวังไว้ ทั้งนี้เพราะความเชื่อมั่นที่มีต่อผลที่ตนเองคิดไว้ (พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต):๒๕๓๘:๓๐)

จะเห็นได้ว่า การคิดหรือการมีระบบคิดที่ดีนั้นย่อมมีความสำคัญในฐานะที่ 
(๑) กระบวนการคิดมีส่วนสำคัญในการก่อให้เกิดปัญญาหากมีกระบวนการคิดที่ถูกต้องการพัฒนาปัญญาก็เป็นไปได้ง่าย แต่หากว่ามีกระบวนการคิดที่ผิดก็ย่อมนำไปสู่การพัฒนาได้ยาก เพราะหากเราตั้งความคิดไว้ผิดเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเส้นทางในการเดินทางก็จะนำไปสู่เป้าหมายที่ผิดได้เช่นเดียวกัน 
(๒) กระบวนการคิดเป็นกระบวนการของการพัฒนาและเป็นกระบวนการที่เป็นแหล่งในการพัฒนาความรู้ให้เกิดสติปัญญา ซึ่งกระบวนการคิดจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ (ก) แหล่งความรู้ ซึ่งอาจจะมาจากการฟังหรือการอ่านจัดเป็นสุตะ (ข) กระบวนการปรุงความรู้จากแหล่งความรู้ จัดเป็นจินตะ คือการคิด และ (ค) กระบวนการตัดสินใจและลงมือทำ เพื่อทำให้ข้อ (ก) และข้อ (ข) บังเกิดผล คือเกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ซึ่งกระบวนการคิด และกระบวนการปฏิบัติจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ประการนั้น ซึ่งหากพิจารณาในแง่ของความรู้ที่เกิดทั้ง ๓ ประการคือ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญานั่นเอง (ที.ปา. (ไทย) ๑๑/๓๐๕/๑๙๖.)

กระบวนการคิดแบบโยนิโสมนสิการ ที่เรียกเราว่า เป็นการคิดนั้นก็มีอยู่ ๒ แบบ คือ 
(๑) คิดแบบสนองตัณหา เป็นการคิดตามความอยาก อยากได้นั่นได้นี่ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ความอยากเป็นตัวกระตุ้นเร้าให้คิด เป็นแรงจูงใจ ให้คิดไปตามความอยากของตนอันนำมาซึ่งความทุกข์ (อโยนิโสมนสิการ)
(๒) คิดแบบมีเหตุผล เป็นการคิดที่ไม่เป็นไปตามความอยาก แต่เป็นความคิดที่เกิดมาจากการฝึกฝนให้รู้จักการ “ฝืนสัญชาตญาณดิบของมนุษย์” ที่เกิดมาแล้วอยากสบายให้รู้จักการใช้เหตุและผลมาเป็นกรอบในการคิด(โยนิโสมนสิการ) (วศิน อินทสระ:๒๕๔๕:๘-๒๓)
 โยนิโสมนสิการ ๑๐ วิธี  ก็คือ
๑. วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย หมายถึง วิธีคิดที่เริ่มจากการพิจารณาปรากฏการณ์ที่เป็นผลหรือพิจารณาปัญหาและหาหนทางแก้ไขด้วยการค้นหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดผลดังกล่าวขึ้นมาเพราะพระพุทธศาสนาเห็นว่า สรรพสิ่งเกิดมาจากการอิงอาศัยกันของเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดผล สรรพสิ่งนั้นไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยไม่มี ดังนั้น การคิดแบบนี้ก็คือการคิดหาเหตุว่ามีเหตุอะไร มีปัจจัยอะไรเรื่องราวแบบนี้จึงเกิดขึ้นมีขึ้นมา ซึ่งเราสามารถที่จะแบ่งรูปแบบการคิดแบบนี้ออกเป็น ๒ ประการ คือ ก.คิดแบบปัจจัยสัมพันธ์ โดยอริยสาวกโยนิโสมนสิการที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดขึ้นพรั่งพร้อมว่า “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น, เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ” ข.คิดแบบสอบสวน หรือตั้งคำถาม เช่น เรื่องนี้เกิดมาจากแรงจูงใจอะไร ทำไมต้องเกิด เมื่อเกิดมาแล้วส่งผลต่ออะไรเป็นต้น การตั้งคำถามแนวนี้ย่อมนำไปสู่คำตอบที่ถูกต้องได้
๒. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หมายถึง การคิดพิจารณาโดยการแยกวิเคราะห์ให้เห็นส่วนย่อยจากส่วนใหญ่ เป็นการแยกองค์ประกอบของสิ่ง ๆ หนึ่ง ให้เห็นรายละเอียดภายในประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เช่น เมื่อพูดถึงบ้านก็สามารถแยกออกได้ว่า ในตัวบ้านประกอบด้วย เสา คาน ฝา พื้น ประตู หน้าต่าง เหล็ก ตะปู ฯลฯ ซึ่งเมื่อรวม ๆ กันเข้าก็จะเป็นบ้าน ในแง่ของการคิดถึงสาระของร่างกายก็เหมือนกัน พระพุทธองค์ทรงสอนให้คิดโดยการแยกแยะองค์ประกอบที่สังเกตได้ชัดก็คือการแสดงเรื่องร่างกายมนุษย์ซึ่งพระองค์ทรงแยกให้เห็นชัดว่า ในชีวิตมนุษย์นั้นประกอบไปด้วย ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ส่วนขันธ์ ๕ ก็คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ การเห็นว่ารูปสวย งาม สูง ต่ำ ดำ ขาว เป็นเพียงเปลือกภายนอก เมื่อพิจารณาเข้าไปจริง ๆ แล้วก็จะพบว่าเป็นของว่างเปล่า ไม่มีแก่นสารที่จะพอยึดถือได้ว่านั่น นี่ เป็นของเรา
๓. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หมายถึงวิธีคิดที่เน้นความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและธรรมชาติ (สรรพสิ่ง) ว่าล้วนอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎไตรลักษณ์ ซึ่งมีอยู่ ๓ ประการคือ (๑) กฎของความเปลี่ยนแปลง พุทธศาสนาเสนอว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงไม่คงทนถาวร (impermanent) หรือเป็นอมตะ และกฎนี้ก็เป็นกฎที่เป็นธรรมชาติตายตัว แม้ไม่มีผู้ค้นพบกฎนี้ก็มีอยู่อย่างนั้น (๒) กฎของความทุกข์เพราะถูกบีบคั้นให้มีการเปลี่ยนแปลงไม่คงทนอยู่ เรียกว่า กฎทุกขตา (๓) กฎของความไม่มีตัวตนหรือไม่อาจเข้าไปยึดมั่นถือมั่นได้ว่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ (เรา – เขา) เพราะทุกสิ่งมีการเปลี่ยนปลงและถูกบีบคั้น (ทุกข์) อยู่ตลอดเวลาโดยกฎทั้ง ๓ ประการนั้นเป็นกฎของธรรมชาติ มีอยู่และเป็นของประจำโลกและจักรวาล แม้พระพุทธองค์มิได้อุบัติ กฎนั้นก็มีอยู่แล้ว
เอาล่ะครับ เขียนมาก็ยาวพอสมควร เอาไว้ต่อตอนที่ (๒) อย่าลืมคอยติดตามนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

AI ช่วยอัพไซเคิล (Upcycle) ธุรกิจเปลี่ยนขยะให้เป็นเงิน

ธุรกิจอัพไซเคิลจึงมีศักยภาพในการลดปริมาณขยะ ส่งเสริมเศรษฐกิจที่ยั่งยืน และเพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมใ...