วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"สันติศึกษา มจร ภาคอินเตอร์" จัดอบรมพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยมืออาชีพนานาชาติ



เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม  2566  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  เปิดเผยว่า ร่วมพิธีเปิดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยนานาชาติ ตามราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562 รุ่น 2  จัดโดยหลักสูตรสันติศึกษาภาคอินเตอร์ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ซึ่งจัดฝึกอบรม 5  วัน ระหว่างวันที่ 19-23 กรกฎาคม 2566  ตามมาตรฐานของ กพยช. รับรอง ถือว่าเป็นความร่วมมือระหว่างกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งผู้ผ่านการฝึกอบรมสามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตามกฎหมายรับรอง

โดยในภาคเช้ามีผู้บริหารระดับสูงในการขับเคลื่อนงานไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระดับกรม และ กระทรวงร่วมอภิปรายว่าทำไมต้องพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องและเพราะเหตุใดต้องขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งมีนโยบายและกรอบการทำงานชัดเจน  ซึ่งกระบวนการไกล่เกลี่ยจะต้องสมัครใจ ไม่สามารถบังคับได้ โดยเป้าหมายสูงสุดคดีจบใจจบ นำไปสู่กระบวนการขอโทษอย่างจริงจังและให้อภัยรักษาความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันในชุมชน องค์กร สังคม และประเทศชาติ 

จึงขอถวายกำลังใจและชื่นชมทีมงานหลักสูตรสันติศึกษาภาคอินเตอร์ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร  โดยมีพระมหาดวงทิพย์ ปริยัตติธารี ป.ธ. 9 ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาเอกนานาชาติ ในความมุ่งมั่นพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ย  และขออนุโมทนากับ ดร. แม่ชี นฤมล จิวัฒนาสุข เลขานุการ หลักสูตร สันติศึกษา ป.เอก และโท นานาชาติ IBSC ในการเป็นกำลังเพื่อการขับเคลื่อนในจัดการฝึกอบรมหลักสูตรไกล่เกลี่ยนานาชาติในครั้งนี้ ภาพรวมถือว่าทำได้ดีอย่างยิ่ง


@siampongnews #ข้าวหงษ์ทอง ♬ Sunrise - Official Sound Studio


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...