วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"รองอธิการบดี มจร" แจงให้แล้ว! "ญัตติ (ในรัฐสภา) ไทย กับ ญัตติ บาลี"



เมื่อวันที่ 20  กรกฎาคม  2566  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ในมีการประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่  19 กรกฎาคม  2566   พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม จากนั้น นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ  แต่ที่ประชุามีมีมติเห็นด้วยที่ไม่ให้เสนอชื่อนายพิธาซ้ำรอบสอง ด้วยคะแนนเสียง 394 เสียง ไม่เห็นด้วย 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง โดยยกข้อบังคับการประชุมเป็นการเสนอญัตติซ้อน และการประชุมก็ใช้เวลาอภิปรายเกี่ยวกับคำว่า "ญัตติ" กันอย่างกว้างขวาง

วันนี้ (20ก.ค.)   กรกฎาคม  2566 พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ได้อธิบายความผ่าน เฟซบุ๊ก Phanna Som

ความว่า ญัตติ ไทย กับ ญัตติ บาลี 

ช่วงนี้เห็นมีการถกกันในรัฐสภาไทยว่า เป็นญัตติ หรือไม่ใช่ญัตติ? 

คำว่า "ญัตติ" เป็นคำภาษาไทยที่ยืมมาจากภาษาบาลี เป็นศัพท์บัญญัติทางกฎหมาย มีความหมายต่างไปจากภาษาเดิมอยู่พอสมควร

ญัตติ ในภาษาไทย มีความหมายว่า ข้อเสนอ (motion) เพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ ยังหมายถึง เรื่อง ปัญหา หรือประเด็น ที่สมาชิกรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เพื่อให้มีการลงมติในเรื่องปัญหา หรือประเด็นดังกล่าว 

ญัตติ ในภาษาบาลี เป็นศัพท์เฉพาะทางวิชาการ (technical term) ในพระวินัยปิฎก เกิดขึ้นในบริบทการทำกิจกรรมร่วมกันของคณะสงฆ์ (สังฆกรรม) เช่น พิธีอุปสมบท   มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การประกาศหรือการแจ้งให้ทราบ (announcement; declaration) ภาษาเก่าเรียกว่า "การเผดียงสงฆ์" อธิบายแบบเจาะจง คือ การนำเอาเรื่องหรือประเด็น (motion) มาแจ้งหรือประกาศให้สงฆ์ทราบ เช่น แจ้งว่า "ขอคณะสงฆ์โปรดฟังข้าพเจ้า  มีผู้ประสงค์อุปสมบทชื่อนี้ๆ มีคุณสมบัติพร้อม มีบริขารพร้อม มีผู้ชื่อนี้เป็นอุปัชฌาย์ ถ้าสงฆ์พร้อมเพรียงกันแล้ว เห็นสมควรพิจารณาให้ท่านผู้นี้อุปสมบท" 

เมื่อคณะสงฆ์ทราบญัตติแล้ว ถัดไปเป็นขั้นตอนการสวดประกาศเพื่อให้ลงมติ  (resolution) เรียกว่า "อนุสาวนา" อย่างกรณีพิธีอุปสมบท จะมีการสวดประกาศ (อนุสาวนา) ถึง 3 ครั้ง การลงมติเห็นด้วยตามประเพณีของคณะสงฆ์ คือ การนั่งนิ่งเงียบ เรียกว่า "ดุษณี" หากไม่เห็นด้วยให้ใช้วิธีไม่นิ่งเงียบ (ไม่ดุษณี) หรือให้พูดขึ้นในที่ประชุมสงฆ์


@siampongnews

กระบอกฉีดบ่นยา-ปุ๋ยการเกษตร

♬ Thank You for Being You - OctaSounds

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พิชิต" ตรวจเยี่ยม "มจร" หารือจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ

เมื่อวันที่  9 พฤษภาคม 2567 หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านเป็นที่เรีย...