วันเสาร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"VUCA" ตกยุคสู่ "BANI" ยุคเปราะบาง วงวิชาการ "ม.ดองกุก"ถก มหาวิทยาลัยพุทธจะเยียวยาสังคมอย่างไร



วันที่ ๒๓  กรกฏาคม ๒๕๖๖   พระปราโมทย์  วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา  ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ณ Dongguk University  ประเทศเกาหลีใต้  เปิดเผยว่า จากการนำเสนอผลงานวิชาการ Dongguk University ที่ประเทศเกาหลีใต้  มีผลงานหนึ่งที่มีความน่าสนใจและสำคัญในยุคปัจจุบัน โดยสะท้อนคำว่า  BANI  กับพระพุทธศาสนา ซึ่งคำว่า VUCA World ซึ่งตกเทรนด์ไปแล้ว ซึ่งมี BANI เข้ามาแทนที่  

VUCA หมายถึงสภาวะความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ยุ่งเหยิง และความคลุมเครือ เป็นสถานการณ์ของโลกที่นักวิทยาศาสตร์ และผู้นำโลกไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกในอนาคตได้ อันประกอบด้วย 

V-Volatility คือ ความผันผวนสูง การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สถานการณ์หรือสภาวะแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ไม่สามารถคาดเดา ทำนายได้ หรือเป็นสถานการณ์เปลียนเฉียบพลัน ตั้งตัวไม่ทัน เช่น Disruptive innovation นวัตกรรมที่พลิกผันอัตราการเปลี่ยนแปลงสูง 

U-Uncertainty คือ สภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง คาดการณ์ได้ยาก ขาดความชัดเจน ไม่สามารถหาข้อมูลที่ชัดเจน มายืนยันในแต่ละสถานการณ์ได้ ทำให้ยากต่อการตัดสินใจ เพราะในโลกปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไม่แน่อนสูง (Unclear about the present)

@siampongnews #นวโกวาทแพ็ค ♬ Chill Vibes - Tollan Kim

C-Complexity คือ ความซับซ้อนเชิงระบบที่มากขึ้นเรื่อย ๆมีปัจจัยมากมาย และซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors)

A-Ambiguity คือ ความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ไ่มสามารถคาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจน (Lack of clarity about meaning of an event) 

โลกที่เปลี่ยนผัน จาก VUCA สู่ยุค BANI แล้ว แม้การนิยามสภาวะความผันผวนของโลกด้วย  VUCA จะได้รับความนิยมในช่วงทศวรรษ ๒๐๐๐ ที่ผ่านมา ซึ่งคำนี้มีต้นกำเนิดในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๘๐  ในช่วงหลังสงครามเย็น แต่ปัจจุบันหลังการระบาดของโควิด-๑๙ ไปทั่วโลก การอธิบายโลกด้วย VUCA อาจจะไม่ชัดเจนนัก และได้เกิดแนวทางในการการอธิบายโลกยุคใหม่หลังการระบาดของไวรัสใหญ่ไปทั่วโลกด้วยคำว่า BANI 

BANI คือ แนวทางใหม่ในการอธิบายโลกของเรา แนวคิด VUCA ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลานานเพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรได้พัฒนาตัวเองขึ้นในสถานการณ์ที่มีความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน และความคลุมเครือ โดย VUCA ทำหน้าที่หลักเพื่อสร้างความหมายในการเผชิญกับความไม่แน่นอนในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความเชื่อมโยง และเป็นดิจิทัลมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การระบาดใหญ่ของโควิด-๑๙ ได้สร้างสถานการณ์ที่ทำ VUCA อาจจะป็นคำอธิบายที่ไม่เพียงพออีกต่อไป

จึงมี BANI เป็นคำใหม่เกิดขึ้น BANI ถูกสร้างขึ้นโดยนักมานุษยวิทยา นักเขียน และนักอนาคตศาสตร์ชาวอเมริกัน Jamais Cascio   สิ่งที่เคยผันผวนมาก ๆ หมดความน่าเชื่อถือ คนเราไม่ได้รู้สึกถึงความไม่แน่นอนอีกต่อไป แต่เพิ่มระดับเป็นความวิตกกังวล ระบบต่าง ๆ ไม่ได้ซับซ้อนอีกต่อไป แต่มันกลายเป็นความไม่เป็นเส้นตรง สิ่งที่เคยคลุมเครือ กลายเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเข้าใจได้  BANI จึงย่อมาจาก 

B = Brittle – ความเปราะบาง คือเราอ่อนไหวต่อสิ่งต่าง ๆ ได้ทุกเมื่อ และธุรกิจทั้งหมดที่สร้างขึ้นบนรากฐานที่เปราะบางสามารถพังทลายได้ในชั่วข้ามคืน โลกเราเปราะบางมากขึ้น สิ่งที่เคยเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในอดีตอาจไม่ใช่สำหรับวันนี้ ความต้องการสินค้าบริการต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป องค์กร ธุรกิจไม่ใช่แค่เผชิญกับความผันผวนไม่แน่นอน แต่อาจจะแตกสลายได้เลยเมื่อเจอปัญหาที่รุมเร้าเข้ามา 

A = Anxious – ความวิตกกังวล วิตกกังวลเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ไม่ใช่แค่ในชีวิตส่วนตัวของผู้คนแต่ในการทำงานด้วยเช่นกัน คนวิตกกังวลมากขึ้น ลังเลจะตัดสินใจ รวมไปถึงสุขภาพจิตของคนรุ่นใหม่ ที่เกิดภาวะวิตกกังวลกับอนาคต กับสถานะทางสังคม คนทำงาน ผู้นำมีความเครียด ทรมานจาก Burn out มากขึ้น

N = Nonlinear – ความไม่เป็นเส้นตรง ในยุคนี้ เราอยู่ในโลกที่เหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง เหตุการณ์ในโลกเกิดขึ้นแบบไม่มีใครคาดคิด ขาดตรรกะ ไม่เป็นเหตุเป็นผล

I = Incomprehensible – ความกำกวม เข้าใจไม่ได้ ในภาวะที่ทุกอย่างไม่ได้มีความเชื่อโยงเป็นเหตุเป็นผล เมื่อเราหาคำตอบจึงเกิดภาวะที่คำตอบนั้นไม่สมเหตุสมผล ดังนั้นเราต้องเข้าใจว่าเราไม่สามารถควบคุมทุกสิ่งได้ ข้อมูลที่มีเยอะมากไปก็อาจไม่สามารถอธิบายได้ 

ผู้นำ และ องค์กรต่าง ๆ จะเตรียมตัวอย่างไร สำหรับโลกยุค BANI เสริมความแข็งแกร่งให้กับทีม ในบริบทของความเปราะบาง วิธีที่ดีในการปรับตัว และเติบโต คือ การเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมของคุณ การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม และการลงทุนในการฝึกอบรมพนักงานในองค์กร เป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้องค์กรของคุณมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง การใช้แผนงานต่าง ๆ ที่ตายตัวมักจะเป็นอุปสรรคของธุรกิจ บริษัทที่ไม่คิดค้น และพึ่งพาแต่วิธีการเดิม ๆ ที่เคยทำมามักจะพบว่าตัวเองตามหลังคู่แข่ง และไม่สามารถปรับตัวได้เร็วพอกับการเปลี่ยนแปลง 

องค์กรจำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อค้นหาคำตอบสำหรับปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า เข้ามาช่วยในการทำงาน และบางครั้งการวางแผนระยะยาวอย่างละเอียดอาจไม่สมเหตุสมผลอีกต่อไป 

คำถามพระพุทธศาสนาจะปรับตัวอย่างไร? ใน ยุค BANI World เป็นยุคโลกแห่งความเปราะบางของผู้คนในสังคม โดยเฉพาะการเยียวยาด้านจิตใจ พระพุทธศาสนาจะมีเครื่องมืออะไรในการป้องกัน แก้ไข เยียวยา รักษา ไว้ซึ่งความเปราะบางของชีวิตมนุษย์เพื่อไม่นำไปสู่ความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรงทางตรงและทางอ้อม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...