วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"ชลน่าน" หวั่นขั้วตรงข้ามเสนอชื่อ "บิ๊กป้อม" ชิงตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย



เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566  นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า  จะมีขึ้นตามกำหนดเวลาเดิมที่เคยนัดหมายไว้ คือวันที่ 19 ก.ค. นี้ อย่างไรก็ตาม ประธานรัฐสภาฯ ยังปฏิเสธให้ความเห็นว่า จะสามารถเสนอชื่อ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นบุคคลผู้สมควรรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นครั้งที่ 2 ได้หรือไม่ 

 "ผมยังให้ความเห็นไม่ได้ ต้องแล้วแต่ที่ประชุม เราต้องมีความเป็นกลาง เนื่องจากมีความเห็นทั้งสองฝ่าย จึงต้องดูข้อบังคับ และรัฐธรรมนูญ รวมถึงความเห็นของที่ประชุม" นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯกล่าว 

@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya

ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์รายการเจาะลึกทั่วไทย เมื่อถูกถามถึงแผนสองหลังจากที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาให้เป็นนายกฯ ด้วยคะแนนเสียงโหวตรอบแรก 324 เสียง ไม่ถึงเกณฑ์ 375 เสียงนั้น ว่า เพื่อไทยไม่มีแผนสอง มีแค่แผนเดียว คือ การร่วมกันใน 8 พรรคจัดตั้งรัฐบาลให้ได้ ฉะนั้นจึงรอพรรคก้าวไกล นัดหมายวัน เวลาและสถานที่เพื่อนัด 8 พรรคหารือร่วมกันเพื่อปรับกลยุทธ์ก่อนโหวตรอบ 2

เมื่อให้วิเคราะห์ถึงผลโหวตเมื่อวาน นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ถ้าดูผลโหวตจากสมาชิกรัฐสภาฝ่ายที่ลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับกลุ่มงดออกเสียง จะเห็นว่าใช้เหตุผลนอกเหนือจากรัฐธรรมนูญที่กำหนดในเรื่องคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและต้องเป็นบุคคลที่พรรคเสนอ แต่เหตุผลที่พวกเขาใช้ คือ เรื่องอุดมการณ์และนโยบายทางการเมือง ฉะนั้นถ้าใช้เรื่องดังกล่าวมาเป็นเหตุผลในการโหวต จะทำให้ทิศทางการโหวตจะเห็นค่อนข้างชัดถึงผลโหวตรอบ 2 ว่าจะไม่ต่างจากเดิม ดังนั้นถือเป็นประเด็นหลักที่ต้องพูดคุยกันในพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล รวมถึง 8 พรรคการเมือง

เมื่อถามว่าโอกาสที่จะเปลี่ยนความเชื่อของส.ว.ไม่เห็นโอกาสเลย? นพ.ชลน่าน กล่าวว่าถ้าดูรูปการณ์เมื่อวานก็อาจจะสรุปอย่างนั้นได้ ดูแล้วค่อนข้างริบหรี่ เพราะเขาตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่มีพรรคนี้อยู่ในรัฐบาลเลย มันเลยค่อนข้างลำบาก แต่ส่วนค่อนข้างมีความเชื่อว่าทางออกสำหรับประเทศมันต้องมี บนพื้นฐานที่ว่าไม่แพ้ทุกฝ่าย ไม่ชนะทุกฝ่าย แต่ประชาชนและประเทศชาติชนะ ตนเชื่อว่าจะมีคำตอบตรงนั้นได้

ส่วนว่าจะเจรจาอย่างไรนั้น ส่วนตัวมองว่าการหารือกัน จะอยู่บนพื้นฐานให้เกียรติและเคารพข้อเสนอของพรรคก้าวไกล รอพรรคก้าวไกลเสนอก่อนแล้วจากนั้นก็จะเป็นข้อสรุปร่วมกันของ 8 พรรค

เมื่อถามว่ามีข่าวว่าจะในการเสนอโหวตนายกฯ รอบ 2 ถ้ายังมีการเสนอชื่อนายพิธา จะมีการเสนอชื่อ พล.อประวิตร วงษ์สุวรรณ มาชิงนายกฯ ด้วย? นพ.ชลน่าน ตอบว่า ได้ยินข่าวมาเหมือนกัน เขาอ้างด้วยซ้ำว่าถ้าฝืนเสนอชื่อนายพิธา เข้ามา เขาก็มีความชอบธรรมที่จะเสนอรัฐบาลเสียงข้างน้อยแข่ง เพราะถือว่าฝ่ายที่รอบรวมเสียงข้างมากได้ ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ประเทศไปต่อไม่ได้

เขาอ้างเหตุผลนี้ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่ฟังได้สำหรับกลุ่มหนึ่งด้วย ดังนั้นประเด็นดังกล่าวจึงต้องเป็นประเด็นหลักที่ต้องมาพูดคุยกันใน 8 พรรค เพราะถ้าเขาเสนอชื่อแข่ง แสดงว่าต้องมั่นใจผลโหวตแล้ว ดังนั้นในการหารือ 8 พรรค จึงต้องมาหาบทสรุปเพื่อแก้ไขสมการดังกล่าว ว่าจะไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะถ้าเป็นแบบนั้นจะไม่ใช่งูเห่าอย่างเดียวแล้ว เพราะงูเห่าอย่างเดียวไม่พอ แต่มันจะทำลายระบบการเมืองย่อยยับ วงจรอุบาทว์จะกลับมา


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...