วันอาทิตย์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

“พีระพันธุ์”ประกาศจุดยืนมติรทสช. ไม่เสนอแคนดิเดตนายกฯไม่เห็นด้วยรัฐบาลเสียงข้างน้อย



“พีระพันธุ์”ประกาศจุดยืนมติรวมไทยสร้างชาติไม่เสนอแคนดิเดตนายกฯไม่เห็นด้วยรัฐบาลเสียงข้างน้อยจะทำให้เกิดผลเสียต่อบ้านเมือง ย้ำพรรคไม่หนุนแก้ ม.112 ค้านการล้มล้าง 3 สถาบันหลักของชาติ พร้อมเชิญชวนทุกคนลืมความแตกแยกช่วยกันกู้ชาติป้องกันการล่มสลาย

 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม  2566    นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ผมในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ขอประกาศยืนยันว่าผมได้แจ้งเลขาธิการพรรคให้เสนอที่ประชุมพรรคในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ค. 66) ให้พิจารณามีมติ   1)ไม่เสนอแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีของพรรคเราทั้งสองคนเพราะเราไม่เห็นด้วยกับแนวทางรัฐบาลเสียงข้างน้อยที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อบ้านเมือง เราไม่ได้อาสามาเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนพรรค  2) เราไม่โหวตให้แคนดิเดทนายกรัฐมนตรีที่มีนโยบายหรือแนวทางการทำงานที่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องการแก้ไขมาตรา 112 การแบ่งแยกการปกครอง การล้มล้างสถาบันครอบครัว ระบบการศึกษา วัฒนธรรมประเพณีที่ดี และสถาบันหลักทั้งสามของชาติ อันมีผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง 

ชัดเจน ตรงไปตรงมานะครับ ไม่ต้องวิเคราะห์วิจารณ์ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไรทั้งสิ้น หน้าที่ของเราคือทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้บ้านเมืองตกอยู่ในอันตราย  ผมขอเชิญชวนทุกท่านที่รักชาติรักแผ่นดินให้  ละทิ้งความบาดหมาง และหันกลับมาทำหน้าที่ของแต่ละคน  ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้า นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป  ลืมความแตกแยกหันกลับมาช่วยกันทำหน้าที่ที่มีต่อบ้านเกิดเมืองนอนของเรา  หากบ้านเมืองล่มสลายทุกท่านก็ล่มสลายตามไปด้วย ทุกอย่างที่แต่ละท่านสร้างสมมาก็จะล่มสลายตามไป  

@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya

สำหรับ รทสช.แม้เป็นพรรคเล็กแต่สู้เสมอกับภัยของชาติ สู้ด้วยใจทะนงเช่นเดิมครับ สู้ไปด้วยกันนะครับ


พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค 

หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ

10 ก.ค. 2566 

ปล.สำหรับผมต้องลาประชุมพรรคในวันที่ 11 ก.ค. 2566 เพราะติดภารกิจด้านสุขภาพ เลยแจ้งให้เลขาธิการพรรคทำหน้าที่แทนครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ๓ ตติยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ที่ประกอบด้วย ๓ ตติยวรรค ใ

  วิเคราะห์ ๓ ตติยวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ เอกนิบาต ที่ประกอบด้วย ๓ ตติยวรรค ในปริบทพุทธส...