วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สถาบันนิติวัชร์ "อสส." เล็งทำ MOU กับ "มจร" หวังบูรณาการพุทธสันติวิธีกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

 


เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ที่ห้องประชุมพุทธปัญญา วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส), ศ. ดร., ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร  ร่วมประชุมความร่วมมือกับสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด” นำโดย หม่อมหลวงศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ 

โดยทั้งสองฝ่ายได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพุทธสันติวิธี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคนกลาง นิติศาสตร์ ศาสตร์ทางอาชญาวิทยาและกระบวนการยุติธรรม กระบวนการ RJ มาเชื่อมประสานเพื่อพัฒนาบุคลากรและยกระดับความรู้ความเข้าใจและการกระทำของบุคลากรในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมุ่งสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้นในองค์กรและสังคม ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงที่จะลงนามทำบันทึกข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน (MOU) โดยมุ่งสร้างสันติธรรมให้เกิดขึ้นในระดับชุมชน องค์กร สังคม ประเทศชาติ และระดับนานาชาติ 


@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya

ในวันอังคารที่ 15 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566  เวลา 09.00-16.00 ซึ่งจะมีการปาฐกถาพิเศษเกี่ยวการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยใช้หลักศาสนาซึ่งจะบูรณาการกับอัยการทั่วประเทศ  และช่วงบ่ายมีการสานเสวนาร่วมกันในการขับเคลื่อนกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท "คดีจบ ใจจบ" ต่อไป  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...