วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"พิธา" ลุกขึ้นกล่าวลาสภา! หลังศาลรธน.สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ "วันนอร์" ขอบคุณ


 
"พิธา" ลุกขึ้นกล่าวลาสภา! หลังศาลรธน.สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่  "วันนอร์" ขอบคุณ  ม็อบหน้าสภาเดือด!  จุดพลุแฟร์-โปรยใบลาออกให้ส.ว.  

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2566   เวลา 09.30 น. การประชุมรัฐสภา วาระพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคล ซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 272 โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม จากนั้น นายสุทิน คลังแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ  

@siampongnews #พิธา ธา ลุกขึ้นกล่าวลาสภา หลัง #ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ #วันนอร์ ขอบคุณ ม็อบหน้าสภาเดือด! จุดพลุแฟร์-โปรยใบลาออกให้ #ส.ว. #ข่าวtiktok #tiktokหน้าฝน ♬ เสียงต้นฉบับ - samran sompong

อย่างไรก็ตามการประชุมมาถึงเวลา 14.45 น.นายพิธาได้ลุกขึ้นลาสภาเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ว่า  ณ ปัจจุบันตอนนี้มีเอกสารจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ผมถูกหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะฉะนั้นคงขออนุญาตพูดกับท่านประธานว่า รับทราบคำสั่งและจะปฏิบัติตาม จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยเป็นอื่น ขอใช้โอกาสนี้ในการอำลาท่านประธานจนกว่าเราจะพบกันใหม่   และขอฝากเพื่อนสมาชิกในการใช้รัฐสภาในการดูแลพี่น้องประชาชน ผมคิดว่าประเทศไทยเปลี่ยนไปไม่เหมือนเดิม ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม และถ้าเกิดประชาชนชนะมาได้แล้วครึ่งทาง เหลืออีกครึ่งทาง ถึงแม้ว่าผมจะยังไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ แต่ขอให้เพื่อนสมาชิกทุกคนช่วยกันดูแลประชาชนต่อไป ขอบคุณมากครับท่านประธาน 

หลังจากนั้นนายพิธาได้ นำบัตรประจำตัวที่หนีบไว้บริเวณกระเป๋าเสื้อสูทด้านซ้ายมือออกมาชูขึ้นและวางไว้บริเวณด้านหน้าโต๊ะที่นั่ง จากนั้น สมาชิกพรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทยและสมาชิกรัฐสภาบางส่วนได้ลุกขึ้นยืนปรบมือ พร้อมกับเดินเข้ามาจับมือให้กำลังใจนายพิธา

โดยนายวันมูหะมัดนอร์ มะทาประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้กล่าวว่า ขอบคุณคุณพิธามากครับ ขอบคุณจริงๆ ที่ให้ความเคารพต่อกติกาของสภา เมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลมาถึงสภาท่านก็ได้เคารพในกติกาของสภา คือ ไม่ขอปฏิบัติหน้าที่ในสภานี้จนกว่าคำสั่งวินิจฉัยจะเปลี่ยนแปลงไป ท่านได้ทำหน้าที่เป็นสมาชิกของสภานี้ตลอดมา

ก่อนหน้านี้หลังการเสนอชื่อมีการประท้วงทันที จากนายอัครเดช มุ่งพิทักษ์โรจน์ ส.ส.ราชบุรี พรรครวมไทยสร้างชาติ ลุกโต้แย้งว่าการเสนอชื่อของนายพิธานั้น ไม่สามารถทำได้ เพราะชื่อของนายพิธา เคยเสนอต่อที่ประชุมรัฐสภา เมื่อ 13 กรกฏาคม แล้วแต่ไม่ได้รับความเห็นชอบดังนั้นจึงถือว่าเป็นญัตติที่ตกไปแล้ว ดังนั้นการเสนอญัตติซ้อนอีกครั้งไม่สามารถทำได้ และขัดกับข้อบังคับที่มีสถานะเป็นกฎหมาย

ทั้งนี้มีข้อโต้แย้งจากฝั่ง 8 พรรคร่วมรัฐบาลเช่นกัน อาทิ นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เช่นเดียวกันว่า การหารือของนายอัครเดชนั้นไม่ถูกต้องเพราะเป็นขั้นตอนของการเลือกนายกฯ ตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญ ดังนั้นต้องดำเนินการไปตามขั้นตอน ขณะที่นายจุลพันธุ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย ขอให้มีการรับรองเสนอชื่อผู้ถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ เพื่อให้ญัตติสมบูรณ์ ก่อนจะดำเนินการคัดค้านต่อไป ซึ่งนายวันมูหะมัดนอร์ วินิจฉัยว่า ขอให้ดำเนินการตามขั้นตอนรับรองก่อน และให้นายอัครเดช รอ ทั้งนี้จากการรับรองชื่อนายพิธา พบว่ามีส.ส.ที่รับรอง รวม 304 คน

อย่างไรก็ดีนายอัครเดช ยืนยันว่าการเสนอชื่อนายพิธาให้โหวตรอบ2นั้นไม่สามารถทำได้ เพราะจะขัดกับข้อบังคับข้อ41 ทำให้ ส.ส.พรรคก้าวไกลและมีทีท่าว่าจะทำให้บรรยากาศในที่ประชุมวุ่นวาย ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจงว่า การประชุมวิป3 ฝ่าย นั้นมีข้อตกลงร่วมกันว่า หลังจากการเสนอญัตติบุคคลที่จะเสนอเป็นนายกฯแล้วต้องให้เสนอญัตติเพื่อถกเถียง ซึ่งจะให้ใช้เวลา 2 ชั่วโมง

อย่างไรก็ดีนายรังสิมันต์ กล่าวว่า วานนี้ (18 กรกฏาคม) ตนอยู่ในการประชุมวิปด้วย ซึ่งไม่มีข้อสรุปดังกล่าว ดังนั้นตนขอให้ประธานรัฐสภาวางตัวเป็นกลาง อีกทั้งในกระบวนการเลือกนายกฯ นั้นต้องยึดการทำงานในสภาฯ ต้องยึดระเบียบข้อบังคับ

ทำให้นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจง ว่า การอภิปรายยังอยุ่ในระเบียบวาระไม่ได้นอกวาระ เพราะอภิปรายเรื่องการเสนอชื่อบุคคลที่จะถูกเลือกเป็นนายกฯ ส่วนจะเห็นด้วยหรือไม่ขอให้ว่ากันอีกที

“เมื่อวานเป็นการหารือไม่ได้ข้อยุติ แต่ต้องนำข้อหารือที่ไม่มาร่วมหารือแจ้งให้ตรงกัน หากมีความคิดเห็นไม่ตรงกันเรื่องเสนอชื่อซ้ำ หากไม่ตรงกับข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง อาจมีความคิดเห็นหลายฝ่าย จะให้แสดงความคิดเห็นได้ ใช้เวลา 2 ชั่วโมง หรือ 120 นาที ดังนั้นเพื่อความเรียบร้อย เสมอภาค เท่าเทียม จะให้เวลา 3 ฝ่ายๆละ 40 นาที” นายวันมูหะมัดนอร์ ชี้แจง

ทั้งนี้นายรังสิมันต์ ลุกขึ้นใช้สิทธิ์พาดพิงโดยยอมรับว่าผลการหารือ3ฝ่ายมีข้อเสนอจริง แต่พรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วย ดังนั้นต้องเข้าสู่กระบวนการเลือกนายกฯ ตามมาตรา 272 เพื่อให้เป็นไปตามวาระ ซึ่งกรณีที่หารือนั้นเป็นเรื่องที่อยู่นอกวาระ

จากนั้นที่ประชุมได้อภิปรายโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวอย่างเข้มข้น โดยส.ว. สนับสนุนต่อการอภิปรายข้อหารือในประเด็นญัตติที่ตกไปตามข้อบังคับข้อ41 ต่อไปต่อไปเพราะการหารือของวิปนั้นหากข้อเสนอใดที่ไม่มีใครโต้แย้งถือว่าได้รับการยอมรับ พร้อมย้ำว่าญัตติเสนอชื่อนายพิธานั้นต้องตกไปตามข้อบังคับ แต่ยังถูกส.ส.พรรคก้าวไกล โต้แย้งเป็นระยะๆ

หลังจากใช้เวลาถกเถียงกันนานกว่า 2 ชั่วโมง นายอัครเดช ได้เสนอญัตติพร้อมเสนออภิปรายว่าไม่สามารถทำได้ เพราะชื่อของนายพิธา ที่เสนอครั้งแรกนั้นไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้วเมื่อ 13 กรกฏาคม

ทั้งนี้นายวันมูหะมัดนอร์ได้วินิจฉัย หลังจากที่รับฟังข้อโต้แย้งจากสมาชิกพรรคการเมือง ว่า กรณีดังกล่าวเข้าข่ายข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 150 และข้อ 151 ที่สมาชิกรัฐสภามีสิทธิเสนอและต้องมมีคนรับรองไม่น้อยกว่าา40 คน และต้องใช้การลงมติด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภาฯ

ผู็สื่อข่าวรายงานว่าที่ประชุมก็ยังไม่สามารถเข้าสู่สาระได้ เพราะมีความเห็นแย้งในคำวินิจฉัยของนายวันมูหะมัดนอร์

จนเมื่อเวลา 12.05 น. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. ลุกขึ้นอภิปรายแจ้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ ถูกส.ส.พรรคก้าวไกลประท้วง จนมีเหตุวุ่นวาย ทำให้นายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ที่สลับขึ้นมาทำหน้าที่ ได้กล่าวด้วยน้ำเสียงโมโห ว่าจะถกเถียงกันอีกกี่ครั้ง ตนเพิ่งเข้ามาทำหน้าที่ พร้อมขอให้นั่งลงทั้งนี้นายวิโรจน์ ได้ประท้วงนายกิตติศักดิ์ ว่า ในประเด็นคำวินิจฉัยของศาลควรรอหนังสือราชการ อย่าใจร้อนหรือกระเหี้ยนกระหือรือ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้นายพิธาได้เดินทางออกจากห้องประชุม ทางประตูหลังห้องประชุม โดยได้โบกมือและชูบัตรประจำตัว ส.ส. ไปยังด้านหน้าห้องประชุมด้วย ท่ามกลางกระแสข่าวว่าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรับเรื่องและสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ส.ส.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังจากที่เกิดประเด็นวิวาทะระหว่างนายวิโรจน์และนายกิตติศักดิ์ พบว่า นายพิธาได้เดินกลับเข้าห้องประชุม และนั่งในเก้าอี้ประจำของตัวเองอีกครั้ง


  ม็อบหน้าสภาเดือด!  จุดพลุแฟร์-โปรยใบลาออกให้ส.ว. 

 

ขณะที่หน้ารัฐสภา ระหว่างการประชุมรัฐสภา ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ถือหุ้นสื่อไอทีวี โดยมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ทำให้มวลชนที่เฝ้าติดตามการประชุมสภาเพื่อพิจาณาการโหวตนายกรัฐมนตรี อยู่ในพื้นที่รอบรัฐสภา แห่กรูกันมาเกาะประตูรั้วและเขย่าประตู พร้อมตะโกนแสดงความไม่พอใจบริเวณหน้ารั้วรัฐสภานั้น

ทั้งนี้ มีรายงานด้วยว่า ที่หน้ารัฐสภา ผู้ชุมนุมจุดพลุแฟร์ สีส้ม และสีแดง พร้อมโปรยกระดาษยื่นใบลาออกให้ ส.ว.โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประกาศขอความร่วมมือไม่ใช้พลุแฟร์ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพผู้ชุมนุมคนอื่น ขอให้ชุมนุมโดยสงบ ขณะที่ นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ที่ปรึกษารองประธานสภาผู้แทนราษฎร ขับรถเข้ามาที่หน้าอาคารรัฐสภา พร้อมลงไปเจรจาต่อรองขอให้เปิดประตูเพื่อเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอม

จากนั้นเวลา 13.40 น.นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เข้าพูดคุยกับตำรวจ โดยขอให้ถอยกำลังกลับไปยังที่ตั้ง เพราะการตรึงกำลังเผชิญหน้าทำให้เกิดความตึงเครียด และเสี่ยงเผชิญหน้ามากขึ้น โดยรับปากจะไปคุยกับผู้ชุมนุมให้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบของกฎหมาย มั่นใจว่าจะไม่บุกรุกเข้ามาในพื้นที่ของรัฐสภา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"

กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...