วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

คณะศิษย์ครูบาฉ่าย เผยผลพิสูจน์ “พระธาตุ” 5 สถาบันระดับชาติ ชี้พบโปรตีนในสสาร


คณะศิษย์ครูบาฉ่าย เปิดผลพิสูจน์ 5 สถาบันระดับชาติ พบโปรตีนในสสารซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างที่ออกมาจากร่างกาย “ครูบาฉ่าย”  

 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม  2566 จากกรณีที่ครูบาฉ่าย คัมภีรปัญโญ วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ จ.อุบลราชธานี อ้างว่านั่งอยู่เฉยๆ เหงื่อก็ออกมาเป็นเม็ดสีเล็กๆ วิบวับลูกศิษย์ลองเอามือลูกตัวเนื้อตัว ก็มีเม็ดสีเหล่านั้นติดมือออกมา ไปล้างมือก็มีเม็ดสีหลุดออกมาจากร่างกาย เชื่อว่าเป็นเม็ดพระธาตุ ขณะที่ก่อนหน้านี้ หลวงตาสินทรัพย์ จรณธัมโม เจ้าอาวาสวัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ ก็อยากให้นำไปพิสูจน์เช่นกัน ว่าคืออะไร ในขณะนั้นครูบาฉ่าย ยืนยันว่า ไม่เชื่อว่าเป็นพระธาตุอะไร น่าจะเป็นรังแคมากกว่า จากนั้นได้อนุญาตให้มีการนำไปตรวจที่ห้องแลบ โดยผลการตรวจยืนยันทางวิทยาศาสตร์พบว่า เป็นเม็ดพลาสติกซึ่งไม่ใช่พระธาตุนั้น  

@siampongnews คณะศิษย์ #ครูบาฉ่าย เผยผลพิสูจน์ #พระธาตุ ุ # 5 สถาบันระดับชาติ ชี้พบโปรตีนในสสาร (โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม) #ข่าวtiktok #tiktokหน้าฝน ♬ เสียงต้นฉบับ samran sompong

ล่าสุดเมื่อช่วงช่วงวันนี้ (15 ก.ค.66) คณะศิษย์ที่พักสงฆ์วัดป่าบ่อน้ำพระอินทร์ โดยคุณพรรณปพร วงศ์วรกุล ได้แถลงชี้แจงผลตรวจสสารที่ออกมาจากร่างกายของพระครูบาฉ่าย หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “พระธาตุ” ซึ่งหมายถึงธาตุ 4 ในร่างกายมนุษย์ ที่สวนฉัตรรวีวัฒน์ เขตหนองจอก กรุงเทพฯ โดยการนำผลการทดลอง และผลจากการส่งตรวจ ที่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ,สำนักงานปรมาณูแห่งชาติ ,กรมทรัพยากรธรณี ,กรมวิทยาศาสตร์บริการ และสถาบันอัญมณีแห่งชาติ(git) พบว่าเม็ดสสารนั้นมีองค์ประกอบจากสิ่งมีชีวิตอยู่ และเมื่อคณะศิษย์ตรวจพบสารสำคัญ คือในเม็ดสสารมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับเส้นผมของมนุษย์ โดยสามารถตรวจพิสูจน์ได้ด้วยความรู้พื้นฐานในการตรวจโปรตีนทั่วไป ด้วยคอปเปอร์ซัลเฟต และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งหักล้างผลตรวจของอาจารย์ อ๊อด ที่ให้ข่าวว่า พระธาตุจากวัดนี้ เป็นเม็ดพลาสติกโดยสิ้นเชิง โดยคณะศิษย์ได้ทดสอบเปรียบเทียบกับเม็ดพลาสติกสารกันชื้นเรซิ่น ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะไม่มีโปรตีนจากการตรวจพิสูจน์แต่อย่างใด  

ทั้งนี้ ทางคณะศิษย์ฯ ไม่ได้ต้องการเอาชนะใคร หรือนำเอาผลตรวจที่ได้ไปอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ที่ผิดต่อหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่การพิสูจน์ครั้งนี้ต้องการชี้ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสสารที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เองตามธรรมชาติเท่านั้น   

 

@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...