วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สภานัดแรก! "ส.ส.อิ่มลาดกระบังเพื่อไทย" ชงถกปมสะพานถล่ม จี้หน่วยงานเกี่ยวข้องรับผิดชอบ


 

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม  2566  ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการพิจารณาญัตติด่วน ที่เสนอโดยน.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) เรื่องอุบัติเหตุสะพานยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบังถล่ม ว่า ตนมีความกังวลใจจึงอยากให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันทำงาน เข้ามาระดมความคิดเห็นเพื่อหาสาเหตุ และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก อย่างไรก็ตาม ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าดูที่หน้างานเท่านั้น แต่ต้องดูเชิงลึกด้วยเพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง และขอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปเยียวยาอย่างสมเหตุสมผล

ส่วนที่บอกว่าจะให้ค่าเช่าบ้าน 3,500 บาท แต่ให้ออกจากบ้านไปก่อน เป็นเรื่องที่ตนไม่สบายใจ เพราะเงินจำนวนนี้ไม่สามารถชดใช้สิ่งที่ประชาชนสูญเสียไปได้ รวมทั้ง ขอให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนที่จะเข้าไปเอาของในบ้านซึ่งอยู่บริเวณที่เกิดเหตุด้วย นอกจากนี้ อยากฝากผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการสะพานยกระดับดังกล่าวให้สร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจให้กับประชาชนที่จะต้องใช้สะพานนี้ด้วย สุดท้ายนี้ขอให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นครั้งสุดท้าย และขอให้หน่วยงานได้เร่งให้ความสำคัญและทำงานอย่างเต็มกำลังก่อนที่จะมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

ด้านนายสุรเชษฐ์ ประวีณวงษ์วุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนขอเสนอแนะ 4 ข้อคือ 1.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเก็บข้อมูล และหลักฐาน อย่างเช่น ตัวอย่างปูนที่พังถล่มลงมาก่อนที่จะมีการทำความสะอาดใหญ่ เพราะจะทำให้ทราบว่าความผิดพลาดนั้นเกิดจากสิ่งใดกันแน่ แต่หากไม่เก็บข้อมูลหลักฐานไว้ก็จะทำให้การพิสูจน์ทราบยากลำบากยิ่งขึ้น 2.ต้องตรวจสอบผู้รับเหมาที่ทำงานนี้ว่ามีคุณสมบัติตรงตามสัญญาหรือไม่ หากเราได้ผู้รับเหมาที่ไม่ตรงปก แสดงว่าได้คนที่มีคุณสมบัติที่ไม่เพียงพอมาทำงาน 3.กทม.จะต้องชี้แจงว่าเปลี่ยนแบบการก่อสร้างทำไมจากสัญญาเดิมที่ให้หล่อในพื้นที่ก่อสร้างเป็นหล่อจากโรงงาน และ 4.กทม.ต้องชี้แจงถึงความเข้มงวดในการคุมงานด้วย

@siampongnews [ส่งฟรี] ข้าวหอมมะลิตรา #หงษ์ทอง ♬ One Side - Iyanya

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากเปิดให้สมาชิกอภิปรายอย่างกว้างขวาง ที่ประชุมสภาฯ มีมติส่งเรื่องไปให้รัฐบาลรับทราบ ก่อนที่นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ซึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมฯ ปิดประชุมในเวลา 13.02 น. 

สภาฯเคาะวันประชุม สัปดาห์ละ 2 วัน เพิ่มเวลาหารือคนละ 3 นาที 

ทั้งนี้การประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุมได้มีการพิจารณาวาระการประชุม เพื่อกำหนดวันและเวลาการประชุมสภาฯ เนื่องจากข้อบังคับข้อที่ 19 วรรคสอง กำหนดให้ที่ประชุม ต้องมี 2 สมัย ซึ่งตามธรรมนูญกำหนดสมัยละ 120 วัน แต่ข้อบังคับกำหนด ว่า 120 วันนั้นจะกำหนดประชุมสัปดาห์ละกี่วัน สภาฯจะต้องเป็นผู้กำหนดว่าจะประชุมสัปดาห์ละกี่วัน และเวลาใดบ้าง

สมาชิกอภิปรายทั้งเสนอให้ประชุมสัปดาห์ละ2 วันเท่าเดิมเหมือนสภาฯชุดก่อน และเสนอเพิ่มวันประชุมเป็น 3 วัน รวมถึงอยากให้ประชุม2 วันเท่าเดิมคือวันพุธ และพฤหัสฯ แต่เพิ่มวันประชุมได้ ตามวาระความจำเป็นเร่งด่วน โดยส.ส.ได้ใช้เวลาอภิปรายเสนอเเนะเกือบ 1 ชั่วโมง

นายวันมูหะมัดนอร์กล่าวว่า การประชุมไม่สำคัญเท่ากับความร่วมมือในการประชุมอย่างพร้อมเพรียง หากเราร่วมมืออภิปรายอยู่ในประเด็น ใช้เวลาประชุม 2 วัน อาจมีประโยชน์มากกว่า 3 วันก็ได้ และต่อไปอาจจะต้องเชิญวิปฯ มาหารือเพื่อให้ การประชุมมีประสิทธิภาพมากที่สุด ไม่ใช่ว่ามาประชุมน้อยหรือมาก แต่เราต้องการทำภารกิจให้มีคุณภาพ คุ้มค่ากับเวลาที่มาอยู่ในสภาฯนี้ ตนคิดว่า ไม่ต้องให้ที่ประชุมโหวตว่า จะประชุมสัปดาห์ละ 2 หรือ3 วัน ถือว่าเราจะประชุม สัปดาห์ละ2 วัน และจะเพิ่มได้ตามความจำเป็นเร่งด่วน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังอภิแรายถึงกรอบเวลาในการให้สมาชิกหารือ นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่าจากที่ได้พูดคุยกับสมาชิกหลายคน เห็นว่าควรให้ที่ประชุมหารือในทุกเช้าตั้งแต่เวลา 09.00 น. คนละ 3 นาที รวมเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่วาระ แต่นายวันมูหะมัดนอร์ เสนอว่า เกรงว่าการหารือจะกินเวลามากไป จึงเสนอให้เริ่มประชุมในเวลา 08.45 น. แต่สุดท้ายสมาชิกหลายคนเห็นด้วยให้เริ่มประชุมในเวลา 09.00 น.และหารือคนละ 3 นาที เป็นเวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที

จากนั้นเป็นการพิจารณาสมัยประชุมซึ่งกำหนดให้มี 2 สมัยประชุม โดยสมัยประชุมละ 120 วัน ซึ่งสมัยแรกเริ่มตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษกาเปิดสมัยประชุม วันที่ 3 ก.ค.ถึง 30 ตุลาคม และสมัยที่ 2 เริ่มวันที่ 12 ธ.ค. ถึง9 เม.ย.67


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...