วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

"หลักสูตรสันติศึกษา มจร" จัดพิธีปฐมนิเทศนิสิตใหม่ระดับป.โท-เอก ที่โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดลศรีสะเกษ



เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม  2566  พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาโท  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) นิสิตระดับปริญญาโท และนิสิตระดับปริญญาเอก หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบพิธีมอบตนเป็นศิษย์ต่อครูอาจารย์ โดยศิษย์และคณาจารย์สัญญาว่าจะร่วมมือกันเรียนรู้ไปด้วยกันให้ถึงเป้าหมายด้วยการจบในและจบนอก หลักสูตรสันติศึกษา มจร จึงมีกระบวนการในการฝึกพัฒนาด้านกายภาพ ด้านพฤติภาพ ด้านจิตตภาพ และด้านปัญญาภาพ ผ่านภาคปริยัติและภาคปฏิบัติ  ที่โคกหนองนาสันติศึกษาโมเดล อำเภอปรางค์กู่  จังหวัดศรีสะเกษ



โดยเสน่ห์ของความเป็นนิสิตจะต้องปฏิบัติตามแนวทาง 3 ประการ จะทำให้มีเสน่ห์  ประกอบด้วย 1)ทำตนเหมือน "โคเขาขาด" เป็นบุคคลไม่มีพิษไม่มีภัยใด ๆ  ไม่ทำร้ายใคร ไม่ขวิดใคร เป็นโคที่ไร้เขา น้อมตนเรียนรู้ร่วมกันกับคณาจารย์   2)ทำตนเหมือน "ผ้าเช็ดเท้า" เป็นบุคคลที่ยอมให้คนอื่นเช็ดเรา  วางตนต่ำด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน   3)ทำตนเหมือน "เด็กจัณฑาล" เป็นบุคคลที่ไม่ต้องมีศักดิ์ศรีอะไร ลดทิฐิมานะเหมือนเด็กจัณฑาล  


พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ (หรรษา ธมฺมหาโส), ศ. ดร., ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร และผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา ระดับปริญญาเอก มจร กล่าวโอวาทธรรมย้ำว่า การเรียนรู้สันติศึกษาจะต้องมุ่ง "ตัวรู้" ก่อน "ความรู้" โดยตัวรู้คือ สติ ขันติ สันติ จะต้องพัฒนาให้เกิดขึ้นในเรือนใจ ส่วนความรู้คือ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสันติศึกษา ประกอบด้วย ความขัดแย้ง  ความรุนแรง  สันติวิธี สันติภาพ และพุทธสันติวิธี  ถือว่าเป็นการเดินตามแนวทางการสอนของพระพุทธเจ้าตามแนวทางพุทธพจน์ว่า "พึงศึกษาสันติเท่านั้น"


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"พิชิต" ตรวจเยี่ยม "มจร" หารือจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ

เมื่อวันที่  9 พฤษภาคม 2567 หลังจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แบ่งงานรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีทั้ง 3 ท่านเป็นที่เรีย...