วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมาย'รัฐบาลดิจิทัล'แผน5ปีใช้งบกว่า3หมื่นล้าน



วันที่ 2 ต.ค.2561  พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด  โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า  ครม.เห็นชอบหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล  เพื่อยกระดับการดำเนินงานของภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยหลักการสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว คือ กำหนดให้มีคณะกรรมการรัฐบาลดิจิทัล ซึ่งมีนายกฯเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล  โดยจะต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ รวมถึงมีหน้าที่กำกับติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ติดตามการทำงานของศูนย์แลกข้อมูลกลางแห่งชาติ และศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ 



ทั้งนี้ เมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้หน่วยงานต่างๆจะต้องจัดทำข้อมูลตามภารกิจของตนเองให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปกับหน่วยงานของรัฐอื่นๆ ขณะเดียวกันจะต้องเปิดเผยข้อมูลของรัฐในรูปแบบดิจิทัลสาธารณะ ให้ประชาชนรับรู้ รับทราบ แต่จะต้องไม่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ตาม จะต้องดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จภายใน 5 ปี และในระยะ 5 ปีจะใช้งบประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท


พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ในส่วนมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภารให้กับประชาชน  เพื่อให้มีความชัดเจนในการกำหนดปฏิบัติ 3 ระยะ คือ 



ระยะที่ 1 ภายในวันที่ 5 พ.ย.นี้ ให้หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ให้ประชาชนต้องยื่นหรือส่งสำเนาเอกสาร ดำเนินการเชื่อมข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยไม่ต้องข้อตกลง (เอ็มโอยู) 



2. เมื่อประชาชนมาขอรับบริการให้เจ้าหน้าที่ที่ขอเอกสารสามารถดึงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่เชื่อมโยง โดยที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องนำสำเนาและลงนามในเอกสาร 



3. การให้บริการเป็นตัวเงินกับประชาชน รวมถึงค่าปรับ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการผ่านการจ่ายเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีเพย์เม้นต์) 



4.การปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานจะต้องมีผลชี้วัดถึงประสิทธิภาพหัวหน้าหน่วยงานทุกระดับ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดช่องทางสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค เพื่อรับข้อร้องเรียนจากประชาชนว่ามีหน่วยงานใดที่ไม่ดำเนินการ เพื่อแจ้งให้รัฐมนตรีต้นสังกัดไปดำเนินการว่ากล่าวตักเตือน



ระยะกลางนั้น หน่วยงานราชการจะต้องดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศ หรือ แอพพลิเคชั่นที่ให้บริการประชาชน โดยเชื่อมโยงกับกรมการปกครอง และลดการกรอกเอกสาร ภายในปี 2562 และให้หน่วยงานพิจารณาลดการใช้สำเนาเอกสารต่างๆ 



สำหรับระยะยาวนั้นภายในปี 2563 สำนักงาน ก.พ.ร. กับ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) ร่วมกันพัฒนาศูนย์กลางแลกเปลี่ยนภาครัฐให้ครอบคลุมเอกสารเพื่อให้การเรียกงานเอกสารระหว่างหน่วยงานผ่านทางออนไลน์ได้ และให้ประชาชนสามารถเรียกดูได้ในเรื่องสาธารณะ



.............


Cr.-Sak Segkhoonthod,https://www.thaipost.net/main/detail/18937

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...