วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566

ได้เห็นแน่หลักสูตรบาลีใหม่! คณะสงฆ์..เร่งเครื่องจัดทำ ตาม พรบ. “ การศึกษาพระปริยัติธรรม ๒๕๖๖”


วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๖  วานนี้ เวลา ๑๓.๐๐ น. ณ วัดสังเวชวิศยาราม พระเทพเวที (พล) เจ้าคณะภาค ๖  ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีสนามหลวงได้เป็นประธาน ประชุมคณะทำงานจัดทำหลักสูตรแผนกบาลีสนามหลวง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ พ.ร.บ. การศึกษาพระปริยัติธรรม มาตรา ๖, มาตรา ๑๖ วรรค ๒ และ มาตรา ๑๗ พร้อมทั้งได้เร่งจัดทำฐานข้อมูลบุคคลากรการศึกษาของแผนกบาลีสนามหลวง..ทั้งนี้ให้แล้วเสร็จภายใน ตุลาคม ๒๕๖๖ เพื่อประกอบการรับจัดสรรงบประมาณ ปี ๒๕๖๗ ต่อไป

มาตรา ๖ การศึกษาพระปริยัติธรรมมีสามแผนก ดังต่อไปนี้

(๑) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลีสนามหลวง เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนา

ภาคภาษาบาลี(๒) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมสนามหลวง เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาภาคภาษาไทย

(๓) การศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนา ทั้งแผนกบาลีสนามหลวงและแผนกธรรมสนามหลวง ควบคู่กับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาพระปริยัติธรรมตาม (๑) (๒) และ (๓) อาจศึกษาโดยใช้ภาษาอื่นในการจัดการศึกษาด้วยก็ได้


มาตรา ๑๖ ให้วัดมีสิทธิจัดตั้งสถานศึกษาพระปริยัติธรรมได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดสถานศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดจัดตั้งขึ้นตามวรรคหนึ่ง ให้จัดการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ในมาตรา ๕ และต้องคำนึงถึง

(๑) การให้การศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่อความเป็นเลิศที่เปี่ยมด้วยปัญญาพุทธธรรม

(๒) การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

(๓) การผลิตผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้ เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระพุทธศาสนา

สำนึกในความเป็นคนไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น

(๔) มาตรฐานการศึกษาของชาติและวิธีการดำเนินงานของการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ


มาตรา ๑๗ สถานศึกษาพระปริยัติธรรมต้องมุ่งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นศาสนทายาทที่ดีของพระพุทธศาสนาและพลเมืองที่ดีของสังคม

(๒) มีความรู้และทักษะในวิชาการทางพระพุทธศาสนา

(๓) มีนิสัยใฝ่หาความรู้ ปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและวินัยสงฆ์

(๔) มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ

(๕) รู้จักบำรุงรักษาศาสนสมบัติ อนุรักษ์ และเสริมสร้างสภาพแวดล้อม

(๖) มีความภูมิใจความเป็นสมณะ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

(๗) มีความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมสนับสนุนแนวทางปฏิบัติให้เกิดความเจริญแก่ชุมชน สังคม และพระพุทธศาสนา..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หนังสือ: พุทธสันติวิธีกับทฤษฎีสัมพันธภาพยุคเอไอ: แนวทางการสร้างความสมดุลระหว่างเทคโนโลยีกับจิตวิญญาณ

คิดเขียนโดยดร.สำราญ สมพงษ์ - แชทจีพีที (เป็นกรณีศึกษา) สารบัญ บทนำ ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเอไอ (AI) เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การเ...