วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"บิ๊กตู่"เมินหุ่นยนต์เอไองานมหกรรมวิทย์และเทค61




"วิทยาศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์สร้างคนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑  ให้มีทักษะความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประเทศไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมฐานนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่ไทยแลนด์ ๔.๐" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ได้ระบุในการเป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ๒๕๖๑  ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ส.ค.ไปจนถึงวันที่ ๒๖  ส.ค. นี้ ที่ฮอลล์ ๒-๘ อิมแพค เมืองทองธานี แต่ที่แปลกใจก็คือว่ามีการนำหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอมาโชว์ด้วยแต่พล.อ.ประยุทธ์แถบไม่มีปฏิสัมพันธ์เลย

หรือเป็นเพราะรัฐบาลมีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือที่เรียกว่าไทยแลนด์ ๔.๐ (Thailand ๔.๐)  โดยมีแผนงานที่รัฐบาลพยายามผลักดันในปี ๒๕๖๑ ประกอบด้วย 

         ๑) โครงสร้างพื้นฐาน (Digital Infrastructure) ทั้งเน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงหมู่บ้านทั่วประเทศ และเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ โดยเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้าน e-Commerce, e-Health และการเรียนรู้ 

         ๒) การผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Goverment) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๖ ด้านคือ  ๑. Open Data ๒.  Base Analytics Data ๓. Cloud Services Data  อย่างเช่น Amazon และ  Alibaba or MCU  ๔. Hard ware,Soff Ware Data  ๕. Data Analytic และ ๖. Data center เพราะปัจจุบันข้อมมูลที่มีจะต้องเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (Data Analytic) ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และหัวใจสำคัญคือจะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะต้องบอกได้ว่าข้อมูลอะไรที่สำคัญ ก่อนจะนำมารวมกันและสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ต่อได้ สำหรับการรวมข้อมูลในภาพรวมจริงๆ แล้วในประเทศไทยยังไม่ได้มีใครทำ ซึ่งเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มอบหมายให้ทุกๆ หน่วยงานเร่งทำ โดยกระทรวงการคลังก็ได้ทำเรื่อง Big Data นี้พอสมควร” นายอภิศักดิ์กล่าว ส่วนแรกที่กระทรวงคลังได้ทำไปแล้วคือการรวมข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรให้มีเบอร์บัญชีเดียว ส่วนที่สองคือ ข้อมูลผู้มีรายได้น้อย      และสำหรับส่วนที่สาม คือ ข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ        Big Data กำลังจะเข้าสู่ Digital Economy  คณะรัฐมนตรีโดยใช้เอกสารบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่ต้องถ่ายเอกสาร 
  
         ๓) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) 
         ๔) การพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Application and Development)  ได้แก่ IoT Institute, Digital Park, Smart Cities 

         และ ๕) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower) ให้แก่บุคลากรและประชาชนทุกระดับ 
         
ทั้งนี้เพื่อ เตรียมเร่งการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเพื่อไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างเป็นรูปธรรมผ่าน 3 แพลตฟอร์มหลัก คือ  
 
         ๑) Bio-Digital Platform ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทึ่มีฐานจากรหัสพันธุ กรรมและชีวโมเลกุล และดิจิทัลเดต้า ซึ่งกระทรวงวิทย์ฯ เตรียมโครงการสำคัญรองรับหลายโครงการ อาทิ Bio Bank, Gene Bank, PlantFactory และ Bioinformatics เป็นต้น

         ๒) Cyber-Physical Platform เพื่อเตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะมีทั้งระบบการผลิตที่สามารถมองเห็นและสัมผัสได้ทางกายภาพรวมถึงแพลตฟอร์มการทำงาน การซื้อขาย ตลอดจนการให้บริการที่อยู่ในโลกไซเบอร์ควบคู่กันไป โดยมีเทคโนโลยีในที่สำคัญ อาทิ High Performance Computing, Smart Business, Internet of Value and Blockchain และ Data Analytics เป็นต้น 

         ๓) Earth-Space Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่จะครอบคลุมทั้งด้าน Food for the Future, Biomedical, Renewable Energy, Climate Technology, Geo Engineering, การจัดการน้ำและทรัพยากร และภัยพิบัติต่าง ๆ ตลอดจนการจัดการที่เกี่ยวกับดาวเทียมและอวกาศ และอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ เป็นต้น และมีเป้าพัฒนาเป็นสตาร์ทอัพ (Startup)  ๖ กลุ่ม ดังนี้

         ๑) E-commerce : การค้าขายผ่านสื่อออนไลน์ทั้งในรูปแบบของสินค้าและบริการ
         ๒) Fintech : ว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีกับการเงิน เช่น การลงทุน การทำบัญชี เป็นต้น 
         ๓) Agritech : เทคโนโลยีทางการเกษตร เป็นกลุ่มที่ช่วยผลักดันให้งานด้านเกษตรกรรมซึ่งเป็นทรัพยากรที่เรามีอยู่แล้วเพิ่มมูลค่ามากขึ้น
         ๔) Edtech : ธุรกิจเกี่ยวกับการเรียนรู้ เน้นกระจายองค์ความรู้ให้เข้าถึงกลุ่มคนได้ง่าย และเป็นวงกว้างมากขึ้น
         ๕) E-service : บริการต่างๆ ที่ถูกนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เช่น ชำระค่าบริการออนไลน์ เป็นต้น
         ๖) IOT : การเชื่อมโยงอุปกรณ์ทั้งหมดที่เราใช้ในชีวิตประจำวันให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกลผ่านแอพพลิเคชั่นต่างๆ
         หลังจากนั้นรัฐบาลดำเนินการผลักดันตามแผนงานปี ๒๕๖๑  ทั้ง ๕ ด้าน โดยเฉพาะยิ่งด้านการผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ได้เริ่มเดินหน้ารัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ และการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower)

หรือเป็นเพราะที่ยังก้าวไม่ถึงเอไอ
    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...