วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"อธิการบดีมจร"รูปใหม่มอบหลักธรรมแก่ป.ป.ช.เป็นแนวป้องกันทุจริต



วันที่ 22 ส.ค.2561 นายประหยัด พวงจำปา รองเลขาธิการคณะกรรมการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ป.ป.ช. พร้อมด้วยนางสาวผุสดี รุ่งเรืองผดุง  กรรมการและเหรัญญิกมูลนิธิต่อต้านการทุจริต เข้าแสดงมุทิตาสักการะต่อพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ที่สำนักงานอธิการบดี อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งอธิการบดี มจร รูปใหม่ และเพื่อรับข้อคิดการทำงานในมิติทางพระพุทธศาสนาในการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต

ในโอกาสนี้พระราชปริยัติกวีให้ข้อคิดว่า เราต้องเริ่มต้นจากการมี "หิริ โอตตัปปะ เป็นความละอายแก่ใจและมีความเกรงกลัวต่อบาป" ถือว่าเป็นการป้องกันการทุจริตที่ดีที่สุด ด้วยการเริ่มจากใจของมนุษย์ ทำให้สอดรับกับพระปฐมบรมราชโองการรัชกาลที่ 9 ที่ว่า "เราจะครองแผ่นโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"คำว่าโดยธรรมนั้น หมายถึง"สุจริตธรรม" ซึ่งพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเรื่องสุจริตธรรมครั้งแรกโปรดพระเจ้าสุทโทธนะ พระราชบิดา ที่กบิลพัสดุ์ครั้งพุทธกาล มีหน้าที่ด้วยความสุจริต มี 3 ประการ 

1)"ไม่บกพร่องต่อหน้าที่" ทำหน้าที่ตนเองให้ที่สุด ร้องให้สุดคำ รำให้สุดแขน ทำให้ดีที่สุด ทำอะไรอย่าให้บกพร่อง 2)"ไม่ละเว้นต่อหน้าที่" ผู้เป็นบิดามารดาไม่ละทิ้งหน้าที่ในการสั่งสอนบุตรของตน เพราะถ้าบุตรเป็นโจร บิดามารดาย่อมมีส่วนโจรด้วยเพราะไม่สั่งสอนบุตร 3)"ไม่ทุจริตต่อหน้าที่" ไม่ใช้หน้าที่ของตนในการทำการทุจริต รวมถึงทรัพย์สินเงินทอง ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรประพฤติหน้าที่ให้ทุจริต" ประเทศจะล้มสลายถ้ามีการทุจริต กล่าวว่า."สนิมเกิดแต่เหล็ก จะกัดกินเหล็ก"

"ดังนั้น ธรรมะที่คุ้มครองโลกคือ" หิริและโอตัปปะ" เป็นธรรมะที่ให้มนุษย์ประเสริฐกว่าสัตว์ เป็นธรรมะฝ่ายขาวคุ้มครองโลก หิริ หมายถึง ความละอายต่อบาป ต่อความชั่วทั้งหลาย ไม่นำร่างกายไปเปื้อนกับความสกปรก คำว่า โอตตัปปะ หมายถึง ความเกรงกลัวต่อบาป เปรียบเหมือน ถ่านไฟ อย่าได้ไปเข้าใกล้มันร้อนเมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่โลกจะสามารถอยู่รอดและปลอดภัย" อธิการบดี มจร กล่าว

................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก  Pramote OD Pantapat)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...