วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"เอไอ-สื่อออนไลน์"บุก!มหาวิทยาลัยปรับตัวรับสถานการณ์อย่างไร



จากผลการวัดมาตรฐานสถานการศึกษาและกระแสดงการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้เป็นฐานทั้งสื่อออนไลน์ ดิจิทัล และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ(AI) ที่รัฐบาลยุคปัจจุบันกำหนดนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ เดินหน้าอย่างเต็มรูปแบบ แล้วภาคการศึกษาของไทยมีการเตรียมความพร้อมอย่างไร 

ฝ่ายบริหารคุมนบายคือกระทรวงศึกษาธิการได้มีการกระตุ้นให้สถานศึกษามีการปรับตัว เพราะอิทธิพลของการศึกษาออนไลน์ส่งผลให้จำนวนนักเรียนเข้าสู่มหาวิทยาลัยลดลง ทำให้ช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยในประเทศอเมริกาปิดตัวไปแล้วกว่า ๕๐๐ แห่ง จากทั้งหมดกว่า ๔,๕๐๐ แห่ง และคาดการณ์ว่าภายใน ๑๐ ปีข้างหน้าจะปิดตัวลงอีกไม่น้อยกว่า ๒,๐๐๐ แห่ง    อีกไม่นานประเทศไทยจะประสบปัญหาไม่ต่างกัน เนื่องจากการศึกษาออนไลน์ได้รับการพิสูจน์และยอมรับว่า เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเรียนการสอน ทำให้คุณภาพการเรียนการสอนไม่ต่างจากการเรียนในห้องเรียน อีกทั้งค่าเรียนยังถูก สามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ในขณะที่การเรียนการสอนในระบบเดิมต้องลงทุนมหาศาล

กระทรวงดีอี โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้มีความร่วมมือกับ code.org สหรัฐอเมริกาและไมโครซอฟท์ นำโครงการ Coding Thailand หรือ ห้องเรียนออนไลน์เพื่อการเรียนรู้วิทยาการคอมพิวเตอร์ มาใช้เป็นครั้งแรกของประเทศไทย และจะนำมาสนับสนุนการเรียนการสอนของโรงเรียนมีชัยพัฒนา ขยายการเรียนการสอนที่ดีอยู่แล้วเชื่อมโยงกับ code.org ภาครัฐ และภาคเอกชนต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กไทยให้เข้าสู่โลกดิจิทัลอย่างแท้จริง โดยมอบให้ดีป้าดำเนินการพัฒนาระบบการพัฒนากำลังคนระดับประถมและมัธยม ในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเรียนผ่าน Coding Thailand เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย เพราะต้องการเห็นประเทศไทยปรับตัวโดยการนำดิจิทัลมาใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องการมากไปกว่าเด็กไทยมีความรู้เรื่องเทคโนโลยี คือ ๑.การรู้เท่าทันโลกดิจิทัล ๒. การนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ 

โดยมีการนำร่องที่โรงเรียนมีชัยพัฒนาและต่อยอดไปทั่วประเทศภายในปีนี้  Coding Thailand จะกลายเป็นเรื่องมือสำคัญในการพัฒนากำลังคนและบุคลากรด้านดิจิทัล โดยการกระตุ้นความสนใจในวิชาวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับเยาวชนและบุคคลทั่วไป เพื่อช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในทุกอาชีพ 

ส่วนมหาวิทยาลัยต่างๆ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิเทศศาสตร์ จัดงานเปิดตัว หลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ Digital Media and Creation (Digi M) เพื่อให้บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ เป็นผู้ผลิตสื่อและนักเล่าเรื่องอย่างสร้างสรรค์ ที่มีทักษะด้านสื่อดิจิทัล และสามารถสร้างธุรกิจสื่อใหม่ได้  มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนาจาก Smart University สู่ Digital Convergence University  World Class University ๑.การปรับโฉมหอสมุดเป็นหอสมุดอัจฉริยะ สามารถค้นหาสิ่งใหม่ มี Co-working space และมีระบบการค้นหาหนังสือและความรู้ผ่านระบบดิจิทัล มีระบบการยืม-คืน เป็นหอสมุดที่เปิดให้บริการ ๒๔ ชม.  ๒.การเชื่อมโยงระหว่างวิทยาเขต ด้วยการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ต ๑๐๐% เพื่อรองรับการเรียนการสอน เพิ่มศักยภาพการเรียนการสอนออนไลน์ สร้างระบบห้องเรียนอัจฉริยะ Virtual Class room และการประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและลดปริมาณเอกสาร  

ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายใต้การนำของดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี ได้สร้างเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (Siam Innovation District) หรือ SID  โดยได้ร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนก่อตั้งขึ้นใจกลางสยามสแควร์เป็นการต่อยอดจากโครงการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ด้วยความต้องการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมสู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย ตามที่ได้ตั้งใจไว้ตอนประกาศเข้ารับตำแหน่งว่าจะนำพาจุฬาฯ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรม ที่มุ่งสร้างสรรค์ความรู้และผลผลิตจากการศึกษาวิจัย และผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้สร้างนวัตกรรมและปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าจากทรัพยากรที่มีอยู่

ด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือกับนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าองค์กร เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสได้ผนึก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมพัฒนานวัตกรรม IoT ยกระดับโครงการ TU Smart City สู่ มหาวิทยาลัยอัจฉริยะ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ยกระดับการใช้ชีวิตด้วยเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเอไอเอสได้คัดสรรนวัตกรรมดิจิทัลที่กำลังเป็นเทรนด์ของโลก อย่าง Internet of Things หรือ IoT มาให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว โดยนำศักยภาพเครือข่าย NB IoT ที่ครอบคลุมทั่วประเทศแล้วมาผสมผสานกับอุปกรณ์ NB IoT ที่ใช้พลังงานต่ำ แต่สามารถสื่อสารกับเครือข่ายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้อุปกรณ์นั้นจะอยู่ในพื้นที่ปิด พร้อมด้วยการพัฒนาโซลูชันส์ IoT รวมถึงแพลตฟอร์มที่รองรับการให้บริการ IoT โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นตัวอย่างการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT ต่างๆ ภายใต้โครงการความร่วมมือ AIAP        

การปรับตัวของมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากรัฐบาลแล้ว ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็มีส่วนในการผลักดันสนับสนุน อย่างเช่น ทปอ.จัดงาน “ยูนิเวอร์ซิตี้ เอ็กซ์โป ๒๐๑๘ มหกรรมอุดมศึกษา พลังขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐” เพื่อแสดงศักยภาพของภาคอุดมศึกษาผ่านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของประเทศ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่าเปลี่ยนแบบหักศอก(Rapidly Change)ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงแบบค่อยไปเหมือนความเคยชินของคนไทยแบบที่ผ่านมา ก้าวต่อไป ของ ทปอ. จะเร่งผลักดันให้มหาวิทยาลัยภายใต้เครือข่ายทปอ.พลัสพลัสทั้ง ๑๖๐ แห่ง หยิบนำความโดดเด่นจากนวัตกรรม งานวิจัย และองค์ความรู้มาผนวกและพัฒนาให้เกิดชิ้นงานแบบใหม่ ๆ ร่วมกันก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เพิ่มสูงขึ้นโดย ๕ กลุ่มนวัตกรรม ที่ ทปอ. ให้ความสำคัญ ได้แก่ กลุ่ม Agriculture & Foodกลุ่มAgeing Societyกลุ่มSmart Cityกลุ่มBioenergyและกลุ่มCreative Economy  

รวมถึง สกว. จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการวิจัย ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ โดยมีกรรมการใหม่เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานกรรมการ และกรรมการ ประกอบด้วย ศ. นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์, ศ. ดร.กมล เลิศรัตน์, รศ. ดร.ชิต เหล่าวัฒนา, และคุณธันวา เลาหศิริวงศ์ ในโอกาสนี้ ศ. นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ได้แนะนำองค์กร สรุปภาพรวมผลการดำเนินงาน และตัวอย่างผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูง รวมทั้งอนาคตของ สกว. ซึ่งตามแผนยุทธศาสตร์ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) มีกุญแจสำคัญประกอบด้วย ผลกระทบ ผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย TRF Flagship Research Program อนาคตศึกษา และปัญญาประดิษฐ์ 

2 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมเลยค่ะ อเมริกาทำมานานแล้ว เรียนนอกระบบ

    ตอบลบ
  2. บางมหาวิทยาลัย เร่งผลิตด็อกเพื่อเรียกเงิน แต่คุณภาพบางท่าน มีคนกล่าวว่าเป็นด็อกห้องแถว สร้างปัญหาเรียกเงินจากนศ. ที่จบวุฒิต่ำเพื่อมาอบรม แล้วเรียกเงินไปเรียนเพิ่ม เพื่อจะได้ผลประโยชน์เข้าตัวเธอ ผลปรากฏนศ. สอบไม่ผ่าน ไปร้องเรียน หล่อนใส่ร้ายนศ. เหล่านั้นว่า สอบไม่ผ่านเลยร้องเรียน
    เกิดขึ้นในวงการท่องเที่ยวแบบซ้ำซ้อน

    ตอบลบ

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...