วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561

สมเด็จฯอาจพระเถระต้นแบบสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์เชิงรุก




"สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) อดีตเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช  ผู้ริเริ่มในการสร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และดำรงตำแหน่งสภานายกมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นพระต้นแบบในการสร้านวัตกรรมด้านการบริหารกิจการคณะสงฆ์เชิงรุก อย่างเช่นการตั้งพระอภิธรรมโชติกวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ ตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มจร มาสู่สังคมไทย นำแนวปฏิบัติแนวสติปัฏฐานแบบพองยุบจากประเทศเมียนมาที่เห็นว่าตรงพุทธประสงค์มากสุด แล้วจัดวิปัสสนาสัญจรทั่วประเทศไทย และมีภาวะความเป็นผู้นำสูงโดยมีองค์ประกอบ 2 ประการคือทักษะด้านการสื่อสารและบารมี ด้านการสื่อสาร ทั้งสื่อธรรมและการพูดฟังแล้วไม่เบื่อเรียงตามลำดับโยงเหตุโยงผลด้วยภาษากลางและภาษาท้องถิ่นนั้นปะปนกันไปเป็นการสร้างความคุ้ยเคยกับผู้ฟัง สื่อสารด้วยภาษาที่ง่ายๆ สานสัมพันธ์กับผู้ฟังอยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนี้ยังใช้การสื่อสารด้วยภาษากายคือความรู้สึกที่ดีต่อกันกับกลุ่มคนทุกหมู่เหล่า"

พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร.(สมจินต์) สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่พระศรีคัมภีรญาณ รองอธิการบดี มจร, ระบุในการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทสมเด็จพุฒาจารย์(อาจ)  ต่อการพัฒนาการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย จัดโดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.),สำนักงานคณะกรรมการ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗,https://www.youtube.com/watch?v=BHUlVfYsAcA

มีการตั้งสถาบันพิมลธรรมนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่ มจร วิทยาเขตขอนแก่น โดยภาระกิจหลักคือ ๑. ศึกษาวิจัยด้านวิปัสสนากรรมฐาน ๒.ศึกษาด้านสันติศึกษา ๓.ศึกษาด้านอีสานศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...