วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

หลวงปู่มั่นพระผู้ยึดมั่นพระธรรมวิจัยไม่รับสิทธิพิเศษ



วันที่ 29 ส.ค.2561  เพจ "พเนจร สุดทางไป" ได้โพสต์ในเพจ "ธรรมะดี มีไว้แบ่งปัน" ได้ระบุถึงปฏิประทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตตามทำบอกเล่าของหลวงปู่ดูลย์ อนาลโย ในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยข้อนิสัย 4 ประการที่พัฒนาถึงขั้นถือธุดงค์อย่างเคร่งครัด

ซึ่งนิสสัย​ 4 คือ เครื่องอาศัยของบรรพชิต หรือ สิ่งที่บรรพชิตพึงปฏิบัติ เพื่อการยังชีพ ประกอบด้วย

1. เที่ยวบิณฑบาต คือ ให้ภิกษุเลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต โดยอาศัยชาวบ้านเป็นอยู่ โดยปัจจัยที่ได้จากการบิณฑบาตนั้นถือว่าเป็นปัจจัยที่บริสุทธิ์

2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล คือ การนุ่งห่มผ้าที่หาเจ้าของมิได้ เช่นผ้าตามกองขยะที่ชาวบ้านทิ้ง หรือ ผ้าห่อศพ ภิกษุในสมัยพุทธกาลจะเก็บมาย้อมเย็บเป็น จีวร สบง ไว้นุ่งห่ม

3. อยู่โคนไม้ เนื่องจาก ในสมัยพุทธกาล ผู้ที่บวชเป็นบรรพชิต เมื่อทิ้งบ้านเรือนมาออกบวชก็มักจะอาศัยอยู่ในป่า แม้แต่พระพุทธองค์ก็มิได้ยกเว้น ต่อมาภายหลังจึงมีผู้ศรัทธาสร้างกุฏิถวาย

4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คือ การฉันยารักษาโรคด้วยยาดองน้ำมูตร(ปัสสาวะ)

จากการกล่าวถึงพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตของหลวงปู่ดูลย์นั้นสามารถสังเคราะห์ตามหลักนิสสัย​ 4 ได้ดังนี้ 

1.ข้อเที่ยวบิณฑบาตนั้นพระอาจารย์มั่นบิณฑบาตโปรดสัตว์เป็นประจำไม่เคยขาดและฉันเฉพาะอาหารที่อยู่ในบาตร และไม่นิยมรับสิทธิพิเศษจากกรานกฐิน หลังจากจำพรรษา 3 เดือน 

2.ข้อนุ่งห่มผ้าบังสุกุล พระอาจารย์มั่น จะไม่ยอมใช้สบงจีวรสำเร็จรูป หรือ คหบดีจีวร ที่มีผู้ซื้อจากท้องตลาดมาถวายเลย นอกจากได้ผ้ามาเองแล้วนำมาตัดเย็บย้อมเองทั้งหมดจึงใช้  

3.ข้ออยู่โคนไม้ พระอาจารย์มั่นจะไม่นิยมสร้างวัดนิยมอยู่ป่าเป็นวัตร แม้แต่การเข้าไปพักตามวัด นิยมพักที่วัดป่า คือวัดที่เป็นป่าหรือชายป่า เมื่อไม่มีวัดเช่นนี้อยู่ ท่านจะหลีกเร้นอยู่ตามชายป่า แม้ว่าจะมีความจำเป็นเวลาเดินทาง ก็ยากนักที่จะเข้าไปอาศัยวัดวาในบ้าน

4.ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า พระอาจารย์มั่นจะไม่นิยมใช้ยาสำเร็จรูป หรือแม้แต่ยาตำราหลวง หากใช้สมุนไพรตัวยาต่างๆ มาทำเอง ผสมเอง เป็นประจำ 

หลวงปู่ดูลย์กล่าวด้วยว่า “ท่านพระอาจารย์ใหญ่สั่งสอนไว้ว่า การฉันอาหารต้องฉันอย่างประหยัด มีสติสัมปชัญญะ เพื่อขัดเกลาจิตใจมิให้เกิดความโลภ วิธีการฉันนั้น เมื่อรับข้าวสุกมากะว่าพออิ่มสำหรับตนแล้ว ให้แบ่งข้าวสุกที่ตนพออิ่มนั้น ออกเป็น 4 ส่วน เอาออกเสียส่วนหนึ่ง แล้วจึงรับเอากับข้าวมาในปริมาณที่เท่ากับส่วนหนึ่งที่เอาออกไป กล่าวคือ ให้มีข้าว 3 ส่วน กับข้าว 1 ส่วน แล้วจึงลงมือฉัน ท่านพระอาจารย์ใหญ่เองก็จะฉันภัตตาหารในลักษณะเช่นนี้โดยตลอด เมื่อมี่ผู้ใดจะตระเตรียมอาหารในบาตถวายท่าน ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็จะแนะนำให้จัดแจงมาในลักษณะเช่นนี้ แล้วท่านจึงฉัน”

นี่คือปฏิปทาส่วนตัวของพระอาจารย์มั่นส่วนคุณวิเศษหรืออภิญญาใดๆ ที่มีในตัวท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นนั้น หลวงปู่ดูลย์ไม่เคยพูดถึงเลย 

ทั้งนี้ปฏิปทา แปลว่า ทางดำเนิน ข้อปฏิบัติ แนวทางปฏิบัติ ความประพฤติ ในทางธรรมมักปรากฏต่อท้ายคำอื่นๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทา  ทุกขนิโรธปฏิปทา เป็นต้น ส่วนปฏิปทาในทางโลกมักถูกนำมาใช้ในความหมายว่าความประพฤติ และใช้กับความประพฤติที่ดีงาม ไม่ใช้กับความประพฤติที่ไม่ดี เช่นใช้ว่า "เขาเป็นคนมีปฏิปทาอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว" หมายความว่าเขาเป็นคนมีความประพฤติที่ดี เช่น ชอบช่วยเหลือคนอื่น มีอัธยาศัยดี หรือมีอุปนิสัยใจคอตามที่แสดงออกมาเช่นนั้น

ส่วนอภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน อภิญญาในคำวัดหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ มี 6 อย่าง คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้ เช่น ล่องหนได้ เหาะได้ ดำดินได้ ทิพพโสต มีหูทิพย์
เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาติได้ ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ อาสวักขยญาณ รู้การทำอาสวะให้สิ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...