วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2561

อัศจรรย์!"สื่อออนไลน์-สติ" จากเอเซียสู่ยุโรปกาลเวลาที่ตรงกัน




ช่วงระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม 2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  พร้อมคณะ เดินทางไปที่วิทยาลัยธรรมะ เกต ปูดาเปสด์ ประเทศฮังการี สถาบันสมทบของ มจร เพื่อปรึกษาหารือกับอธิการบดีจัดทำหลักสูตรร่วมกันในสาขาสติกับสมาธิ (Mindfulness and Meditation)ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญา 2 ใบ ตามนโยบายของพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีรูปใหม่ ที่ตั้งใจผลักดันให้สำเร็จให้ได้ อันจะทำให้ชาวยุโรปได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติ ทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติการเกี่ยวกับสติและสมาธิอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้นจะผลักไปสู่การเรียนแบบออนไลน์เชื่อมโยงกับห้องเรียนออนไลน์ ที่กำลังสร้างขึ้น ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ภายในปีนี้

ต่อมาวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2561  พระมหาหรรษาพร้อมคณะได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติ (Mindfulness Platform) ที่มหาวิทยาลัยเอล เมืองบูดาเปสด์ ประเทศฮังการี (Budapest ELTE Univeristity Logymanyosi Campus)กับนักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักการศึกษา นักสังคมศาสตร์ นักจิตวิทยา นักการศาสนา ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ทั้งยุโรป อเมริกา อเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้กว่า 300 ชีวิต ในจำนวนนี้มีศ.ดร.พระคำหมาย ธัมมสามิ เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหารออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ รวมอยู่ด้วย

พระมหาหรรษาเปิดเผยว่า  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติครั้งนี้เปรียบเสมือน“ตลาดนัดนักสติโลก” เพราะมีการประเมินทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ผ่านการนำสติไปใช้ในสถานการณ์จริง ทั้งเยียวยาผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น ทุกคนสนใจสติ รูปแบบของสติที่มีการนำมาเสนอครั้งนี้ มาจากทั้งสติแบบคริสต์ สติแบบเซ็น สติแบบวิปัสสนา สติแบบวัชรยาน สติแบบมหายาน ทุกเช้าของการสัมมนาจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนเลือกเข้าห้องปฏิบัติ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้วพระพุทธศาสนาจะวางสถานะ บทบาท และทาทีอย่างไร?? เพื่อรองรับความต้องการ “ด้านสติ” ของชาวโลกครั้งนี้


และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติครั้งนี้ไม่อยู่แต่เฉพาะภายในห้องประชุมเท่านั้น เพราะการปาฐกถาของผู้บรรยายหลักๆ ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้ก็ใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผ่านโลกออนไลน์ เช่น ผู้บรรยายอยู่สหรัฐอเมริกา ก็ใช้การสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าเครื่องบินเดินมายาวไกล โดยผ่านวีดีโอคอนฟอเรนท์แบบสดๆ สามารถถามตอบได้อย่างสบาย ถือว่าเป็นการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ นี่คือการก้าวกระโดดของการเรียนรู้สมัยใหม่ จึงทำให้หลายมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลงขายกิจการ นั่นเพราะความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ดังนั้น การเดินทางมาฮังการีในดินแดนยุโรปในครั้งนี้ ถือว่ามาในมิติของวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เรียนรู้ว่าคนยุโรปมิใช่แค่ศึกษาสมาธิแต่พัฒนาไปถึงการเป็นครูสมาธิ สามารถสอนผู้ได้เป็นอย่างดี รวมถึงวิธีการสอนทำให้เกิดความสนใจ

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้เนื้อหาของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสติและเห็นประโยชน์ของสติและการใช้ประโยชน์ของสื่อออนไลน์นั้นไม่ได้มีแต่เฉพาะบนเวทีที่ยุโรปเท่านั้น แต่ที่ประเทศอินเดียได้มีงาน "Asian Buddhist Media Conclave - Mindful Communication for Conflict Aviodance and Sustianable Development" ซึ่งมีคนไทยเดินทางไปร่วมด้วยคือนายพิภพ พานิชภักดิ์ นักสื่อสารมวลชนอิสระ รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) (สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส) โดยได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง "การสร้างสื่อพุทธศาสนาข้ามแพลตฟอร์ม"  

นายพิภพได้ระบุผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Pipope Panitchpakdi"ว่า "ส่วนตัวผมเชื่อ การมีสติหรือที่เรียกว่า Mindfulness เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างเนื้อหาและรูปแบบสื่อที่ท้ายสุดมหาชนต้องการ สำหรับผมนี่ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน และการใช้วิธีคิดเรื่องการรายงานข่าวและสร้างเนื้อหาที่สร้างสติ ท่ามกลางระบบเศรษฐกิจที่รุนแรงต่อคนและสภาพแวดล้อม คือทิศทางสำหรับปัจจุบัน และอนาคต"




นายพิภพ ระบุด้วยว่า ประเด็นการที่สัมมาสติเป็นเครื่องมือสำคัญในยุคสมัยที่ข่าวไม่ใช่แต่การรายงานว่าอะไรเกิดขึ้นวันนี้ แต่กล่าวกันว่า ข่าวเหมือนหินที่โยนลงไปในแม่น้ำ ซึ่งแม่น้ำแต่ละสายมีต้นน้ำและปลายน้ำที่ไม่เหมือนกัน แม้แต่น้ำในแม่น้ำก็ยังไม่เหมือนกัน เราต้องให้ภูมิหรือบริบทต่องานข่าวมากมายในยุคปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วธ.ร่วมสืบสานพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับคณะสงฆ์ ...