วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นักเทศน์ตกงานแน่!AIทำหน้าที่อาจารย์"เสมือนจริง"ได้แล้ว




 มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องสำหรับการพัฒนานำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence-AI) คือคอมพิวเตอร์สุดชาญฉลาดในการเลียนแบบการทำงานของมนุษย์ในด้านต่างๆ แทนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ รวมถึงในสถานการศึกษา

เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จากสถาบันวิจัยไอบีเอ็มออสเตรเลีย แห่งมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ในออสเตรเลีย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต ในแคนาดา ได้นำ AIให้แต่งกวีนิพนธ์ได้
          
ทีมนักวิทยาศาสตร์เผยว่าได้ออกแบบอัลกอริทึมสร้างปัญญาประดิษฐ์ชื่อว่า “ดีพ-สเพียร์” (Deep-speare) ให้สามารถเขียนโคลงซอนเน็ต (sonnet) ซึ่งเป็นรูปแบบฉันทลักษณ์ของกวีนิพนธ์ในภาษาอังกฤษ โดยผู้ช่ำชองการเขียนแบบซอนเน็ตก็คือวิลเลียม เชกสเปียร์ นักกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษชื่อก้องโลก พวกเขาเผยว่าได้ฝึกเครือข่ายประสาทเทียมโดยใช้โคลงซอนเน็ตเกือบ 2,700 บท เพื่อคัดเลือกคำที่เหมาะสมสำหรับแต่งบทกวีสี่บรรทัดในมาตรา “ไอแอมบ์ห้าคณะ” (iambic pentameter) นั่นคือการเน้นเสียงในกลอน 1 บาท จะแบ่งเป็น 5 จังหวะ และจังหวะละ 2 พยางค์
          

เมื่อปัญญาประดิษฐ์แต่งโคลงซอนเน็ตเสร็จก็ถูกนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตรวจสอบโดยไม่บอกว่าเป็นผลงานจากปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งพบว่าในบางท่อนของโคลงที่คอมพิวเตอร์สร้างออกมานั้นดีกว่ามนุษย์เขียนเสียอีก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เริ่มมองหาวิธีพัฒนาการเขียนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การปรับแต่งอัลกอริทึมเพื่อเขียนนวนิยายขนาดสั้นได้ 

พร้อมกันนี้อาลีบาบาได้พัฒนา Voiceprint ด้วย AI เป็นระบบจดจำเสียงจากภาษาได้ทั้งจีน ญี่ปุ่น อังกฤษ และรัสเซีย รวมถึงสำเนียงถิ่นต่างๆ ของจีน เช่น หูหนาน หูเป่ย เหอหนาน เสฉวน กวางตุ้ง ฯลฯ ซึ่ง AI สามารถตรวจจับคอนเทนต์อนาจาร โป๊เปลือย หรือภาพยนตร์ผู้ใหญ่บนอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นระบบจะเปลี่ยนเสียงให้อยู่ในรูปแบบของสคริปต์ จากนั้นจะนำสคริปต์ไปเปรียบเทียบกับคีย์เวิร์ดในคลังศัพท์ของมันและโมเดลเสียงต่อต้านสแปมซึ่งพัฒนาขึ้น

ขณะเดียวกันสถานการศึกษาได้นำ AI มาใช้  โดย "เปลี่ยนวิธีเรียน"  และ "เปลี่ยนวิธีสอน" ที่จะช่วยลดเวลาทำงานต่างๆ ที่ต้องทำซ้ำไปซ้ำมา หรืองานจัดเก็บเอกสาร ของครู   ในกิจกรรมทางการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 จนกระทั่งถึงปี 2021 อนุบาลจนถึงการศึกษาขั้นสูง 

1. AI ช่วยลดเวลาทำงานซ้ำๆ ที่เรียกกันว่า "งานแอดมิน"  ใช้เวลามาก ตรวจการบ้าน ให้คะแนนเรียงความ และให้คำปรึกษา ทำให้มีเวลาไปให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัวมากขึ้น

2. AI ช่วยครูสร้างสรรค์เนื้อหาสำหรับสอน ช่วยทำอีบุ๊ก (e-book) สร้างช่องทางเรียนรู้แบบดิจิทัลที่เหมาะแก่นักเรียนในช่วงอายุต่างๆ ระบบที่ใช้กันอยู่เช่น Cram101 คือระบบที่ AI ประมวลเนื้อหาทั้งหมดในหนังสือเรียน แล้วทำเป็นแนวเนื้อหาการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาย่อยง่าย มีบทสรุปของทุกบท มีแบบทดสอบ และบัตรคำ (Flashcards) สำหรับให้นักเรียนใช้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอีกเครื่องมือหนึ่งที่ชื่อ Netex Learning ช่วยอาจารย์ผู้สอนในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหลายชนิด เช่น สื่อเสียง (Audio) วิดีโอ และมีผู้ช่วยออนไลน์ นอกจากนี้ การสอนแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์  ก็เป็นอีกรูปแบบของ AI ที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ การพัฒนาของ AI ทำให้มีแอพพลิเคชันสารพัดที่ช่วยให้นักเรียนไม่ต้องเดินทางมาถึงห้องเรียน เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนก็สามารถเรียนได้จากทุกที่ทุกเวลา

3. AI ช่วยเป็นติวเตอร์ประสิทธิภาพสูง AI มีโปรแกรมติวเตอร์อย่าง Carnegie Learning สามารถประมวลผลข้อมูลทางการเรียนของนักเรียนแต่ละคน เพื่อให้คำแนะนำได้แบบตัวต่อตัว จะกลายเป็น “อาจารย์ดิจิทัล”

4. AI เป็นอาจารย์ “เสมือนจริง” ได้  อาจารย์หุ่นยนต์   เช่น มัคคุเทศก์ ที่มีการนำระบบนำเที่ยวด้วยเสียงหรือ AR และ VR  ที่ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้ดีมากขึ้นเรื่อยๆ มหาวิทยาลัยบางแห่งเช่น University of Southern California Institute for Creative Technologies ได้พัฒนาสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและเครื่องมือเสมือนจริง (Visual Environments and Platforms) ที่ ‘ฉลาด’ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ เกมสามมิติ และคอมพิวเตอร์แอนิเมชันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าวสำหรับใช้ในการเรียน ดังนั้นในอนาคต ‘คน’ ที่ยืนบรรยายอยู่หน้าห้อง อาจไม่ใช่ ‘คน’ จริงๆ ที่มีเลือดเนื้อ แต่จะแปลกอะไรหากหุ่นยนต์ก็ให้ความรู้ได้ไม่ต่างจากคน และอาจารย์ที่เป็นคนจริงๆ ต่างหาก ที่กำลังถูกท้าทายให้ต้องรีบปรับตัว เพราะอีกไม่นาน ประโยชน์ข้อนี้ของปัญญาประดิษฐ์ อาจทำให้คุณไม่มีงานทำก็เป็นได้ 

อย่างไรก็ตาม แม้ AI จะเข้ามาทำหน้าที่ในระบบการศึกษาได้ดีและครอบคลุมเกือบทุกด้าน และยังท้าทายอำนาจและอาชีพในระบบเดิมอย่างครู อาจารย์ หรือผู้บริหารสถาบันการศึกษาด้วย แต่ถึงอย่างนั้น การจะปล่อยให้ AI ทำหน้าที่ที่สำคัญอย่างยิ่งในการหล่อหลอมอนาคตของมวลมนุษยชาติ ก็จำเป็นต้องได้รับการควบคุมดูแลที่ดีมากพอ โดยเฉพาะต้องไม่ลืมว่า การที่ AI จะคิดเป็นและถ่ายทอดได้นั้น จะต้องมาจากการที่มนุษย์ ‘สอน’ และป้อนข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมให้กับ AI ไม่เช่นนั้น AI ก็คงมีสภาพไม่ต่างจากเด็กมีปัญหาที่สับสนกับข้อมูลจำนวนมหาศาลซึ่งไม่ได้ผ่านการคัดกรองที่ดีพอนั่นเอง CT

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัว อินเทอร์เน็ตจะไปถึงทุกบ้าน การสื่อสารและการเสพข้อมูลข่าวสารสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและไร้พรมแดน หากประชาชนโดยเฉพาะเยาวชนปราศจากความรู้ความเข้าใจและทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ อาจเกิดภัยอันตรายที่บ่อนทำลายคุณภาพชีวิต และคุกคามสุขภาวะของสังคมไทย ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงมีความห่วงใยเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของสถาบันครอบครัว ที่เป็นปราการสำคัญที่สุดในการคัดกรอง สอดส่องดูแล ตลอดจนปลูกฝังภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศในยุคดิจิทัล รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อสังคม

โครงการ “Healthy Digital Family เสพสื่อ ใช้สติ มีสไตล์ ให้สตรอง” ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แบ่งออกเป็น3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมเดินสายให้ความรู้การใช้สื่อดิจิทัล ผ่านนิทรรศการ และการจัดเสวนาในหัวข้อต่างๆ อาทิ จริยธรรมและมารยาทในการใช้สื่อโซเชียล เน็ตเวิร์ค การใช้ธุรกรรมออนไลน์ (Internet Banking)  การเลี้ยงลูกอย่างสร้างสรรค์ในยุคดิจิทัล  การทำธุรกิจบนสื่อออนไลน์  พฤติกรรมเสี่ยงผิดกฎหมาย การพนันออนไลน์ และการปกป้องความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ จากวิทยากรที่มีชื่อเสียงด้านต่าง ๆ และเหล่าดารานักแสดงที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ ในการใช้สื่อออนไลน์ที่เป็นประโยชน์ โดยจะจัดกิจกรรมดังกล่าวที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต (บางใหญ่ นนทบุรี) ระหว่างวันที่ 20 – 26 สิงหาคม 2561 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา วันที่ 30 สิงหาคม - 5 กันยายน 2561 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ชลบุรี วันที่ 1 – 7 ตุลาคม 2561 และที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ZPELL วันที่ 26 - 28 ตุลาคม 2561 

.......................

ที่มา :บทความ “4 Ways AI is Changing the Education Industry” (14 เมษายน 2018) โดย Karl Utermohlen จาก towardsdatascience.com 
บทความ “How AI Impacts Education” (27 ธันวาคม 2017) โดย Adrien Schmidt จาก forbes.com"กรณิศ รัตนามหัทธนะ, เมื่อ AI เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษา,http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/Insight/28489/#เมื่อ-AI-เปลี่ยนโฉมหน้าวงการการศึกษา,วันที่ 17 สิงหาคมพ.ศ.2561 และขอบคุณภาพจาก https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/116952.html,https://www.voathai.com/a/south-korea-english-robots-ct-3-13-11-117913564/924515.htmlและข้อมูลจาก http://www.banmuang.co.th/news/education/122453,http://www.banmuang.co.th/news/relation/122439,21สิงหาคม2561 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...