วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เฟซบุ๊กขนปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอป้องโรฮีนจาในเมียนมา



"ลำพังเฉพาะแรงงานมนุษย์ตามที่เฟซบุ๊กได้ว่าจ้างชาวเมียนมาที่เชี่ยวชาญด้านภาษา เพิ่มอีก 60 คน เพื่อช่วยในการตรวจตราข้อมูล กำจัดข้อความที่สร้างความเกลียดชังและตั้งเป้าจะจ้างเพิ่มให้เป็นถึง 100 คนภายในสิ้นปี คงไม่สามารถช่วยกำจัดคอนเทนต์ไม่ดีตามที่มีการตรวจสสอบพบข้อความแสดงความเกลียดชังชาวโรฮีนจามากกว่า 1,000 ข้อความให้หมดไปได้โดยง่าย เฟซบุ๊กจึงนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) เข้าไปทดลองใช้ในเมียนมาด้วย โดยปัจจุบันนี้ AI สามารถตรวจสอบคอนเทนต์ที่ก่อให้เกิดปัญหาและลบออกได้ถึง 52% ของคอนเทนต์ที่ถูกลบหรือถอดออกทั้งหมด

และจะดำเนินการอย่างเข้มข้นกับสถานการณ์ในศรีลังกา อินเดีย แคเมอรูน และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เช่นเดียวกับที่ทำในเมียนมา ทั้งนี้เพราะเฟซบุ๊กตกเป็นเป้าโจมตีของบรรดานักสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตลอดจนองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) หลังปล่อยให้แพลตฟอร์มของตัวเอง กลายเป็นสื่อในการสร้างความเกลียดชัง ดูหมิ่น เหยียดหยามชาวโรฮีนจา" ซาร่า ซู ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊กเปิดเผยกับวอชิงตันโพสต์, เฟซบุ๊กขนปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอป้องโรฮีนจาในเมียนมา
http://www.banmuang.co.th/news/inter/122207,วันที่ 18 ส.ค.2561 


"นักปั่นข่าวปลอม"ป่วนการเมืองอิเหนา 

ทั้งนี้"กุลจิรา นารอง"จากเว็บไซต์โพสต์ทูเดย์ เปิดเผยว่า  ใน “อินโดนีเซีย” ทีมรับจ้างโพสต์ข้อความปั่นกระแสในโซเชียลมีเดีย หรือที่มีชื่อเรียกว่า “บัซเซอร์” กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทในสนามการเมืองของอินโดนีเซียมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผู้สมัครทั้งหลายมักจะใช้บริการบัซเซอร์ให้โพสต์ข้อความเพื่อโจมตีคู่แข่ง หรือปั่นประเด็นทางการเมืองต่างๆ จึงส่งผลให้ “โรงงานผลิตแอ็กเคานต์ปลอม” ผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก
          

เอ็มซีเอ ใช้บัญชีปลอมและบัญชีที่ไม่ระบุตัวตนนับร้อย เผยแพร่เนื้อหาที่มีการเหยียดเชื้อชาติ ทุกคนในทีมมีเฟซบุ๊ก 5 บัญชี ทวิตเตอร์ 5 บัญชี และอินสตาแกรม 1 บัญชี และถูกห้ามเปิดเผยข้อมูลและสถานที่ทำงานให้ใครรู้  จะเผยแพร่ข้อความรวมทั้งหมดประมาณ 2,400 ข้อความ/วัน และมีการวางแผนว่าในแต่ละวันจะต้องมีการเผยแพร่เนื้อหาและแฮชแท็กเกี่ยวกับประเด็นใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...