วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ผู้ว่าฯสมุทรสงครามนำธรรมสร้างเยาวชนมีภูมิรู้เท่าทันสื่อ

 

"ปัญหาทางสังคม และวัฒนธรรมนั้น ส่วนหนึ่งเป็นอิทธิพลมาจากสื่อเทคโนโลยีและการรู้ไม่รู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะเด็ก และเยาวชน ที่ยังขาดวุฒิภาวะที่เพียงพอ" คันฉัตร  ตันเสถียร ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม  กล่าวในการเป็นประธานเปิดโครงการธรรมะสร้างภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันสื่อ  ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดฯ มีหัวหน้าส่วนราชการ รวมทั้งสถาบันทางการศึกษา ส่งเด็ก และเยาวชน เข้าร่วมโครงการฯ  จำนวน 700 คน   โดยมีพระมหาสมปอง ตาลปุตโต และพระวรวัฒน์ วรวฑฒโน บรรยาย “ธรรมะสร้างภูมิคุ้มกันรู้เท่าทันสื่อ” เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงธรรมะได้ง่าย สามารถนำหลักธรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นรูปธรรม, 
(http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6108220010070,วันที่ 22 ส.ค.2561) 

 "ขณะเดียวกันปัจจุบันทุกคนสามารถเป็นนักข่าวได้ ผู้ที่มีมือถือสมาร์ทโฟน เมื่ออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ สามารถที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตข่าว และรายงานข่าวได้ด้วยตัวเอง เป็นการรายงานเหตุการณ์สด ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามอาชีพคนทำข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน แต่ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น นักข่าวจะต้องเปลี่ยนบทบาทตัวเอง ไม่ใช่แค่การเขียนลงหนังสือพิมพ์ วิ่งไปทำข่าวในที่เกิดเหตุ แล้วกลับมารายงานข่าวผ่านสื่อที่ตนรับผิดชอบ แต่ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำข่าว เปลี่ยนเป็นการรายงานผ่านสื่อออนไลน์ การทำ LIVE เหล่านี้คือบทบาทของนักข่าวที่จำเป็นต้องเปลี่ยนอย่างแน่นอน" พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน กล่าวในอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ ยุค 4.0” จัดโดย สมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2561 ณ โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.นครราชสีมาเพื่เพิ่มพูนความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี กระบวนการผลิตข่าวผ่านสื่อออนไลน์ มีทักษะทางด้านการรายงานข่าวด้วยมือถือ อันจะนำไปสู่ความเป็นนักข่าวมืออาชีพ สามารถทำหน้าที่ของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นำไปปรับใช้กับองค์กร และนำไปต่อยอดใช้ให้เกิดประโยชน์ในอาชีพสื่อสารมวลชนต่อไป


โดยมีหัวข้ออบรมดังนี้  เล่าเรื่องยุคดิจิทัลด้วยมือถือ,การทำข่าวในยุค สื่อออนไลน์, หลักคิดเรื่อง วารสารศาสตร์มือถือ (Mobile Journalism), การนำไปใช้ในการผลิตเนื้อหาสำหรับสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ, รู้จักมือถือ ทำอะไรได้บ้างในยุคสื่อออนไลน์ 4.0, มารู้จักแอพพลิเคชั่นดี ๆ สำหรับการใช้มือถือทำงานผลิตเนื้อหาข่าว, หลักการถ่ายภาพด้วยมือถือ และการแต่งภาพเพื่อนำไปใช้งาน, แนะนำการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ขาตั้ง ตัวประคองโทรศัพท์มือถือ และไมโครโฟน, เข้าใจการทำงานผลิตวีดีโอเพื่ิอการเล่าเรื่อง การวางแผน การถ่ายทำ และการตัดต่อ การพากย์และการลงเสียงให้น่าฟัง การเปิดหน้าพูดกับกล้อง การสัมภาษณ์ เป็นต้น ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎี และได้ฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการวางแผน การเล่าเรื่อง การถ่ายทำ การตัดต่อ การทำกราฟฟิค และการลงเสียงบรรยาย(รวมพลสื่อทั่วอีสานติวเข้ม”นักข่าวมือถือ มืออาชีพ4.0” https://77kaoded.com/รวมพลสื่อทั่วอีสานติวเ/,วันที่ 22 ส.ค.2561" 


ทั้งนี้เพราะบริษัท เฟสบุ๊ก (Facebook) เริ่มกระบวนการให้คะแนนความน่าเชื่อถือต่อสมาชิกผู้ใช้เฟสบุ๊ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อสู้กับปัญหาข่าวปลอมและการให้ข้อมูลผิดๆ ผ่านเฟซบุ๊ก โดยหนังสือพิมพ์ Washington Post รายงานในวันอังคารว่า ระบบการให้คะแนนนี้จะใช้สเกล 0 - 1 โดย 1 หมายถึงมีความน่าเชื่อถือสูงสุด ซึ่งเทสซ่า ลีออนส์ ผจก.ฝ่ายต่อสู้ข้อมูลเท็จของเฟสบุ๊ก กล่าวว่า การให้คะแนนความน่าเชื่อถือนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องมือที่เฟสบุ๊กนำมาใช้เพื่อจัดการกับปัญหาข่าวปลอมที่กำลังระบาดบนสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้ เฟสบุ๊กยังจะติดตามการที่ผู้ใช้แต่ละคนรายงานความผิดพลาดของข้อมูลที่ผู้ใช้คนอื่นโพสต์หรือนำมาแชร์ รวมทั้ง บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือสื่อต่างๆ ด้วย(https://www.voathai.com/a/facebook-rating-users-trustworthiness/4537987.html,วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2561) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...