วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บูรณาการทฤษฎีการสื่อสารSMCRเข้ากับหลักอริยสัจโมเดล


ทฤษฏีการสื่อสาร SMCR ของ “เดวิด เค. เบอร์โล” (David K.Berlo) ประกอบด้วย ๑. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญใน “การเข้ารหัส” (Encode) เนื้อหาข่าวสาร และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย

๒. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร ๓. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง  ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น หรืออุปกรณ์ต่างๆ

๔. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญใน “การถอดรหัส” (Decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม เช่นเดียวหรือคล้ายคลังกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล 

และตามทฤษฏี  S M C R นี้ มีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและรับที่จะทำการสื่อสารความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่

(๑) ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) มีความชำนาญหรือมีความสามารถในการถอดรหัสในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่าง

(๒) ทัศนคติ (Attitudes) ผู้ส่งและผู้รับต้องมีมีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทำให้การสื่อสารได้ผลดี  (๓) ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไป  (๔) ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติมีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงมีการศึกษาถึงกฎข้อบังคับทางศาสนาของแต่ละศาสนาประกอด้วยด้วย 

ขณะเดียวกันนี้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นที่นิยมคือทฤษฎีการสื่อสารของ ฮาโรลด์ลาสแวลล์ (Harold Lasswell) คือ “5W1H” ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปเช่น  โดยระบุว่า ในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ ๑.Who ใคร คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง ๒.What ทำอะไร คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง ๓.Where ที่ไหน คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน ๔.When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อวัน เดือน ปี ใด ๕.Why ทำไม คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ๖.How อย่างไร คือ สิ่งที่ต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง ซึ่งทฤษฎีการสื่อสาร“5W1H”ของ ฮาโรลด์ลาสแวลล์นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในระเบียบวิธีวิจัยและถือว่าเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ทฤษฏีการสื่อสาร SMCRนั้น สามารถบูรณาการกับกระบวนการสันติวิธีเชิงพุทธตามอริยสัจหรือ 4 แยก และปธาน 4 ดังกล่าวดังนี้ 

1.S คือ นิโรธ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือสันติภาพ นิพพาน หรือคน ต้อใช้อนุรักขนาปธาน เก็บ(รักษา)

2.M คือ ทุกข์ คือความเป็นมาและสภาพปัญหาที่ประกรอบด้วยเกิด แก่ กัด เก็บ ขัดแย้ง  รุนแรงและสงคราม ต้องใช้สังวรปธานคือ(ป้อง)กัน

3.C คือ มรรค คือวิธีการ ขั้นตอน  สันติวิธี ต้องใช้ภาวนาปธานก่อ(สร้างให้เกิดขึ้น)

4.R คือ สมุทัย สาเหตุของปัญาหา ที่ประกอบด้วยอกุศลมูล 3 หรือตัณหา อุปาทาน  หรืออารมณ์ หรือสาเหตุ 5 ประการมีข้อมูลเป็นต้น ต้องใช้ปหานปธานคือแก้(ไข) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วธ.ประเดิมงานใต้ร่มพระบารมี 242 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ เปิดสารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน”

กระทรวงวัฒนธรรมเปิด “งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน” ณ วัดประยุรวงศาวาส  ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี 2...