วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เมื่อสื่อออนไลน์ทะลุกำแพงวัด!ทักษะสื่อสารตามSMCRจำเป็นที่พระต้องมี?



ประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ประชากรของประเทศรวมถึงคณะสงฆ์มีการใช้สื่อออนไลน์มากขึ้นทั้งเฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตราแกรม ทวิตเตอร์  อย่างไรก็ตามสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้สำรวจการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๑,๑๖๙ คน ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๗ ก.ค.๒๕๕๙ พบว่า ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๖๔.๓๓  มีความคิดเห็นว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์จะสามารถช่วยทำให้ผู้คนได้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น 

ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๖๒.๗๙ มีความคิดเห็นว่าการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๕๘.๗๗ มีความคิดเห็นว่าการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา จะมีส่วนทำให้ผู้คนเข้าใจหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น  กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๔.๐๘ มีความคิดเห็นว่า ในปัจจุบันมีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาที่ไม่ถูกต้อง/ผิดไปจากหลักธรรมคำสั่งสอนที่แท้จริง 

ด้านความคิดเห็นต่อการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ ๖๘.๐๙ เห็นด้วยกับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มพระสงฆ์เพื่อเผยแพร่/ ตอบปัญหา/ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๙๘  เห็นด้วยกับการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มพระสงฆ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น การจัดสวดมนต์/นั่งสมาธิ การเปิดสอนพระพุทธศาสนา การบวช หรือกิจกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นต้น 

ด้านความรับรู้และการพบเห็นการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๗๑.๒๖ ระบุว่าเคยพบเห็นกลุ่มพระสงฆ์ที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปในทางพุทธพาณิชย์ เช่น จำหน่ายวัตถุมงคล ปลุกเสกวัตถุมงคล จำหน่ายยาสมุนไพร เครื่องรางของขลังต่างๆ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๒๘.๗๔  ระบุว่าไม่เคยพบเห็น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ ๕๒.๘๗ ยอมรับว่าเคยพบ เห็นพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มพระสงฆ์ เช่น ลงรูป ภาพที่ไม่เหมาะสม เขียนข้อความที่ไม่เหมาะสม สนทนาในเรื่องที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น  ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๔๗.๑๓  ระบุว่าไม่เคยพบเห็น  (เว็บไซต์ข่าวสด, สำนักวิจัยชูนิ้วสื่อออนไลน์ ช่วยประชาชนใกล้ชิดพุทธศาสนา,http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOekUyTURnMU9RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE5pMHdPQzB4Tmc9PQ==,วันที่ ๒๒ สิงหาคมพ.ศ.๒๕๖๑)  

นั้นแสดงว่าทุกภาคส่วนของสังคมไทยได้รับผลกระทบจากสื่อออนไลน์ทั้งด้านบวกและลบไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์อย่างเช่นกรณีเงินทอนวัด ส่งผลต่อภาพลักษณ์ สาเหตุเกิดจากข้อมูลข่าวสารที่ผ่านทางสื่อออนไลน์ขณะเดียวกันก็เกิดจากโครงสร้างของคณะสงฆ์ในการกำกับดูแลพระสงฆ์หรือเรียกว่าการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมาหรือตกเป็นเครื่องมือทั้งทางด้านการเมือง สัมพันธ์ และความเชื่อ จึงมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของพระสงฆ์ หรือเรียกว่า “องค์กรคุณธรรม” หมายถึงองค์กรพระสงฆ์ที่ใช้หลักคุณธรรมจริยธรรมในการสื่อสาร อันจะเป็นปัจจัยทำให้พระสงฆ์เสริมสร้างสังคมไทยให้เกิดสันติสุข เพื่อพัฒนาพระสงฆ์ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศยุคไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาด้านองค์ความรู้ และสองคล้องกับแผนพัฒนาทางพระพุทธศาสนาภาวนา ๔ คือ “พัฒนากาย พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา” เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นมนุษย์สากล 

อีกทั้งสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม ๔ ด้านคือ พอเพียง มีวิจัย สุจริต จิตอาสา สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ องค์กรแห่งการสื่อสารเชื่อมโยงมีการสื่อสารเปี่ยมด้วยกรุณาใช้การสื่อสารออนไลน์เสริมสันติภาพเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญเมื่อการสื่อสารไม่เข้าถึง แล้วจะสร้างความเข้าใจแล้วนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ก็ต้องดูว่าการสื่อสารของพระสงฆ์ในสังคมไทยปัจจุบันได้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในยุค ดิจิตอลได้มากน้อยเพียงใด และจะเป็นการสื่อสารมวลชนที่เป็นการสื่อสารที่ทรงพลังหรือไม่ แล้วเป็นไปตามพระพุทธพจน์ที่ว่าพหุชนหิตายหรือไม่ ส่งผลให้เจ้าคณะผู้ปกครองระดับต่างๆ เรื่องให้พระสังฆาธิการตรวจสอบพฤติกรรมและลงโทษพระภิกษุสามเณรในปกครอง ที่มีพฤติกรรมวิพากษ์วิจารณ์ที่ส่อไปในทางยุยงปลุกปั่น หรือ การใช้สื่อออนไลน์ในทางที่ไม่เหมาะสม การใช้อุปกรณ์สื่อสารผิดกาลเทศะ 

ดังนั้นพระสงฆ์จำเป็นต้องเรียนรู้และมีทักษะในการใช้และรู้เท่าทันสื่อออนไลน์"โดยเข้าใจวิธีการและกระบวนการสื่อสารทั้งระบบตามหลัก SMCR ของ “เดวิด เค. เบอร์โล” (David K.Berlo) ประกอบด้วย

๑. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญใน “การเข้ารหัส” (Encode) เนื้อหาข่าวสาร และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย

๒. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสาร

๓. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง  ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น หรืออุปกรณ์ต่างๆ

๔. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญใน “การถอดรหัส” (Decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรม เช่นเดียวหรือคล้ายคลังกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อสารความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล 

ตามทฤษฏี  S M C R นี้ มีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและรับที่จะทำการสื่อสารความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่

(๑) ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) มีความชำนาญหรือมีความสามารถในการถอดรหัสในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่าง

(๒) ทัศนคติ (Attitudes) ผู้ส่งและผู้รับต้องมีมีทัศนคติที่ดีต่อกันจะทำให้การสื่อสารได้ผลดี 

(๓) ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไป 

(๔) ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติมีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีความแตกต่างกัน รวมถึงมีการศึกษาถึงกฎข้อบังคับทางศาสนาของแต่ละศาสนาประกอด้วยด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...