ม.พุทธฮังการีสอนสติและสมาธิผ่านใช้สื่อออนไลน์ เผย"คนยุโรป-อเมริกา"เรียนพุทธหวังเป็น"คริสต์-มุสลิม"ที่ดี
วันที่ 27 ส.ค.2561 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมด้านวิทยาศาสตร์กับสมาธิสติและเมตตา เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติ (Mindfulness Platform) ณ มหาวิทยาลัยเอล เมืองบูดาเปสด์ ประเทศฮังการี (Budapest ELTE Univeristity Logymanyosi Campus) ซึ่งได้รับความเมตตาจากพระอาจารย์หรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมติดตาม ทำให้เห็นการตื่นตัวของคนในยุโรปมองว่าสมาธิเป็นวาระแห่งชีวิต
จึงตั้งคำถามว่าเพราะเหตุใดคนยุโรปจึงหันมาสนใจในเรื่องของสมาธิ เพราะในปัจจุบันชีวิตของคนยุโรปอยู่กับเทคโนโลยีในทุกเรื่องราว ทุกอย่างใช้เทคโนโลยีเข้ามาบทบาท หรือที่เรารู้จักกันใน AI คือ ปัญญาประดิษฐ์ ถึงแม้จะมีความสะดวกสบายทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ทำให้นึกถึงมุมมองของพระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ซึ่งเป็นอาจารย์พิเศษอยู่ที่มหาวิทยาลัยซานตาคลารา สหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด อังกฤษ มองว่าสาเหตุที่พระพุทธศาสนาเจริญในโลกตะวันตกและยุโรป เพราะเขาไม่ได้เรียนพระพุทธศาสนาเพื่อไปเป็นพุทธ แต่เป็นการศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อเป็น "คริสต์ที่ดี"เป็น"มุสลิมที่ดี"
การศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกตะวันตกและยุโรปจึงใช้วิธีการทดลอง "การเจริญสติ: Mindfulness" จนทำให้ทางการแพทย์พัฒนาขึ้นมา เรียกว่า MBCT หรือ Mindfulness-based Cognitive Therapy คือ การบำบัดจิตบนพื้นฐานของการเจริญสติ หรือการบำบัดจิตแก้ไขเรื่องความเครียด ทำให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาจิต (Mind)จึงมองว่าวิทยาศาสตร์กับการศึกษาจิตมีความเกี่ยวเนื่องกัน คำถามจะศึกษาเรื่องจิต สติ สมาธิ อย่างไรจะทำให้วิทยาศาสตร์สามารถพิสูจน์เรื่องของจิตได้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงใจ
พระปราโมทย์ กล่าวด้วยว่า แม้แต่การปาฐกถาของผู้บรรยายหลักๆ ในการประชุมสัมมนาครั้งนี้ก็ใช้เทคโนโลยีมาเป็นส่วนช่วยสนับสนุนผ่านโลกออนไลน์ เช่น ผู้บรรยายอยู่สหรัฐอเมริกา ก็ใช้สามารถสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าเครื่องบินเดินมายาวไกล โดยผ่านวีดีโอคอนฟอเรนท์แบบสดๆ สามารถถามตอบได้อย่างสบาย ถือว่าเป็นการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ นี่คือการก้าวกระโดดของการเรียนรู้สมัยใหม่ จึงทำให้หลายมหาวิทยาลัยต้องปิดตัวลงขายกิจการ นั่นเพราะความก้าวล้ำของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ดังนั้น การเดินทางมาฮังการีในดินแดนยุโรปในครั้งนี้ ถือว่ามาในมิติของวิชาการด้านพระพุทธศาสนา เรียนรู้ว่าคนยุโรปมิใช่แค่ศึกษาสมาธิแต่พัฒนาไปถึงการเป็นครูสมาธิ สามารถสอนผู้ได้เป็นอย่างดี รวมถึงวิธีการสอนทำให้เกิดความสนใจ
....................
(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Pramote OD Pantapat)
ทำไมชักช้ารีบหน่อย
ตอบลบ
ตอบลบ