วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

พระมหาไพรวัลย์ไม่รู้ว่าจะฟังใครดี"โยมเสก-สีกาลีน่า-ปู่มหามุนี"๔.๐




วันที่ ๑๘ ส.ค.๒๕๖๑ เฟซบุ๊ก พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ได้โพสต์ข้อความว่า "เลือกไม่ถูกเลย ไม่รู้ว่าจะฟังใครดี มีแต่ช่องคุณภาพทั้งนั้น ทั้งโยมเสก ทั้งลีน่า ทั้งปู่มหามุนี"  ทั้งนี้บุคคลทั้งสี่ได้ใช้เฟซบุ๊กที่เป็นสื่อออนไลน์ เป็นตัวมาตรวัดในยุคดิจิทอลไทยแลนด์๔.๐  

ก็คงพิจารณาดูว่าประชากรประเทศไทยมีคุณลักษณะยุคศวรรษที่ ๒๑ ที่จะต้องมีการพัฒนาทักษะ ๓ ด้าน (๓ Types of 21st Century SkillS ) คือ 

๑. ทักษะการเรียนรู้ (Learning skills) ประกดอบด้วย ๔ C คือ .๑ ทักษะเชิงวิเคราะห์(จิ)  (Critical thinking)   โดยรู้จักวิเคราะห์ด้วยด้วยทฤษฎีสวอท(Swot Analysis) โดยมีองค์ประกอบคือ จุดแข็ง   (Strength) จุดอ่อน (W=Weakness) โอกาส Opportunity และสิ่งคุกคามหรืออุปสรรค (T=Threat) รู้จักหัวใจนักปราชญ์คือรู้จักฟัง(สุ) รู้ตั้งคำถาม (ปุ)  รู้จักประเมิน  (จิ)  รู้จักสรุปหรือเขียน (ลิ)  ๑.๒ ทักษะการคิดสร้างสรรค์(Creative,Creativity) สร้างความแตกต่าง  สร้างคุณค่า  มีประโยชน์  สังเคราะห์ทางออกใหม่(นวัตกรรม)  นวัตกรรมทางความคิด (Innovation of Thought) มีทัศนคติ (Attituce)  แนวคิด  (Concept) การจำแนกแจกแจง (segmentation)  

๑.๓ ทักษะการสื่อสาระ (Communication)  เข้าถึง เข้าใจ (Knowledge)ทฤษฎีเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างเช่นทฤษฎี SMCR และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในปริบทหรือรูปแบบต่างๆ หรือพัฒนาได้ผลดี อย่างเช่นรู้จักลักษณะของสื่อเช่น Tele communication  Online Muti Journatitsm Convergent Journatitsm  Peace Journalism Online Journalism Convergence , Convergent  Journalism Peace Journalism  Mobie Journalism  Big Journalism ทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนข้อมูลมาก หรือวารสารศาสตร์ บิ๊กสื่อ นิยามจากพิจิตรา หนังสือวารสารสมาคม ทำหน้าที่ประสาน 5G และ IOT Backpack ournalism Robo Journalism (โรบอต) Cross-media journalism Peace Journalism รวมถึงนวัตกรรมการสื่อสาร( Inovation of Communication)  ๑.๔ ทักษะการทำงานร่วมกัน(สังฆะ) (Collaborating, Collaborative) ใจกว้าง เคารพความแตกต่าง (ขันติ)   ทำงานเป็นทีม  (prosperity)  ความรุ่งเรืองร่วมกัน  (Mutual Benefit)  และการมีผลประโยชน์ร่วมกัน  

๒. ทักษะการรู้เท่าทัน (Literacy Skills)   ๒.๑ การรู้เท่าทันข่าวสาร (Information Literacy) เช่นการแชร์( Share)เป็นต้น ๒.๒ การรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)  ๒.๓ การรู้เท่าทันเทคโนโลยี (Technology Literacy) อย่างเช่น Machine Learning E-Electronic

๓. ทักษะชีวิต (Life Skills) ๓.๑ การยืดยุ่นหรือการปรับตัว (Flexibility การจัดวางตัวตน (Positioning) ความไว้เนื้อเชื่อใจ( Mutual Trust)  การเคารพซึ่งกันและกัน  (Mutual Respect)  ๓.๒ ความคิดริเริ่ม ต้นคิด (Initiative)    ๓.๓ ทักษะทางสังคม (Social Skills) เป็นคนมีผลิตภาพ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  ความรับผิดชอบ (Responsibility) ๓.๔ ทักษะด้านคุณภาพ คุณธรรม (Produclivily   Buddist Digital marketing Mindset  Mindfulness  MindmapBuddist Mindset is not I go to AI for All of us)  ๓.๕ มีภาวะผู้นำ (ศาสตร์พระราชา) (Leadership)

พร้อมกันนี้ต้องพิจารณาว่าการใช้สื่อออนไลน์ดังกล่าวเป็นไปตามแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติภาพและการสื่อสารเชิงพุทธซึ่งก็เป็นหลักเดียวกับหลักการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ สำหรับแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติตามแนวคิดของ “โยฮัล กันตุง” นักวิชาการสันติภาพ ประกอบด้วย 1.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นเรื่องสันติภาพ  2.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นรายงานความจริง 3.สื่อเพื่อสันติภาพมุ่งเน้นรายงานเสียงจากประชาชนทั่วไปและเหยื่อ 4.สื่อเพื่อสันติภาพให้น้ำหนักในเรื่องทางออกของความขัดแย้ง 

ขณะที่การสื่อสารเชิงพุทธคือหลัก “วาจาสุภาษิต” ประกอบด้วย 1.การสื่อสารที่สอดคล้องกับกาลเทศะ 2.การสื่อสารที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความจริง 3.การสื่อสารที่ไพเราะอ่อนหวาน 4.การสื่อสารที่เสริมสร้างประโยชน์สุข 5.การสื่อสารที่ประกอบด้วยเมตตา 

นับได้ว่าแนวคิดการสื่อสารเพื่อสันติภาพมีองค์ประกอบสอดรับกับหลัก “วาจาสุภาษิต” แต่มีจุดเด่นคนละมิติ โดยการสื่อสารทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์มีจุดเด่นด้านมิติแห่งกาลเวลาต้องฉับไวทันทีมุ่งกระจายข้อมูล ขณะการสื่อสารเพื่อสันติภาพมีจุดเด่นด้านมิติของการมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ต่อสังคม แต่มีจุดด้อยด้านกระบวนการซึ่งการสื่อสารทั่วไปพิจารณาเพียงมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็นำเสนอแล้ว ขณะที่การสื่อสารเพื่อสันติภาพค่อนข้างสอดคล้องกับหลักการและรูปแบบแห่งวาจาสุภาษิตแต่ติดขัดด้านองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นรายได้ของผู้ส่งสาร

อย่างไรก็ตามจากองค์ประกอบ 5 ประการจของ“วาจาสุภาษิต” นั้น พระพุทธเจ้าจะตรัสหรือสื่อสารเพียง 2 กรณีเท่านั้น คือ คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส และคำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส

หากผู้ส่งสารยูทูบเบอร์ที่ส่งสารผ่านสื่อออนไลน์คือยูทูบนำหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพและการสื่อสารเชิงพุทธแล้ว จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนเองและสังคมอย่างแน่นอน

..............
(หมายเหตุ : ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิตเรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก”(บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559)  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...