วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

"กระบวนการ-สภาวะ-ขอบเขต-จุดเริ่มต้น"สันติภาพมุมมองพระพรหมบัณฑิต



พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  ในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรสัรติศึกษา มจร ปาฐกถาเรื่อง “สันติภาพและความขัดแย้ง” ที่หลักสูตรสันติศึกษา โดยมีนิสิตปริญญาโทปริญญาเอก เข้าร่วมรับฟังในวันอาทิตย์ที่ 19 นสิงหาคม พ.ศ.2561 

พระพรหมบัณฑิตได้ระบุถึงกระบวนการ ความหมาย สภาวะ ขอบเขต และจุดเริ่มต้นของสันติภาพดังนี้  วิศวกรสันติภาพตามสันติศึกษามจรต้องใช้กระบวนการสันติวิธีตามอริยสัจ 4 หรือ 4 แยก แล้วต้องใช้กระบวนการสันติวิธี ตาม 4 ก.คือ กัน แก้ ขัดแย้ง รุนแรง สงครามและสาเหตุ เพื่อก่อและเก็บ Peace ภาษาอังกฤษ ศานติภาวะ กษานติภาวะ ตามภาษาสันสกฤต สันติภาพ ที่มีรากศัพท์มาจาก สม แปลว่า ความสงบ  ดังคำว่า วูปสโม สุโข แปลว่า สงบระงับเป็นสุข  มีนิพพานเป็นไวพจน์ โดยมีความหมายตามการตีความคือความสงบเป็นการไม่มีความขัดแย้ง

สันติภาพมี 2  สภาวะ คือ 1.สภาวะที่ไม่มีสงครามและความขัดแย้ง (The absence of war and conflict) และ 2 ) สภาวะที่มีเอกภาพ สามัคคี เสรีภาพ และความยุติธรรม (The presence of unity harmony freedom and justice) นั้นแสดงว่าที่ใดไม่มีความขัดแย้งไม่ได้หมายความว่ามีสันติภาพ  เพราะอาจอำนาจอาวุธ มืด กดไว้ ภูเขาไฟรอวันระเบิดถ้าไม่มีเสรีภาพ ไม่มีความสามัคคี ไม่มีความยุติธรรม และไม่เรียกว่ามีเสรีภาพที่สมบูรณ์ 


พุทธพจน์แสดงขอบเขตสันติภาพไว้ดังนี้ 1) อัชฌัตติกสันติ ความสงบภายในคือ นัตถิ สันติปะรัง สุขัง สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี หมายถึงความสงบภายในจิตใจ จิตใจเราไม่มีกิเลส  และ2) พาหิรสันติ สันติภาพภายนอก คือ สุขา สังฆัสสะ สามัคคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้ หมายถึงสันติภาพในสังคม เป็นความปรากฏแห่งความปรองดอง สถานที่ใดอยู่ร่วมกันอย่างยุติธรรมจะเกิดความสามัคคี 


แสดงให้เห็นที่ว่าพระพุทธศาสนาระบุถึงจุดเริ่มต้นของสันติภาพคือ ใจ ทำให้ยูเนสโกได้ประกาศว่า Since wars begin in the mind of men, it is in the mind of men that the defenses of peace must be constructed. เป็นนำธรรมนูญประโยคทองเขียนไว้ที่ปารีสแปลเป็น 10 ภาษา แปลว่า เนื่องจากสงครามเริ่มที่จิตใจของมนุษย์ ดังนั้น ปราการแห่งสันติภาพ จึงต้องสร้างที่ใจของมนุษย์”

สรูปกระบวนการสันติวิธีเชิงพุทธตามอริยสัจหรือ 4 แยก และปธาน 4 ดังกล่าวดังนี้

1.ทุกข์ คือความเป็นมาและสภาพปัญหาที่ประกรอบด้วยเกิด แก่ กัด เก็บ ขัดแย้ง  รุนแรงและสงคราม ต้องใช้สังวรปธานคือ(ป้อง)กัน

2.สมุทัย สาเหตุของปัญาหา ที่ประกอบด้วยอกุศลมูล 3 หรือตัณหา อุปาทาน  หรืออารมณ์ หรือสาเหตุ 5 ประการมีข้อมูลเป็นต้น ต้องใช้ปหานปธานคือแก้(ไข)

3.นิโรธ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือสันติภาพ นิพพาน หรือคน ต้อใช้อนุรักขนาปธาน เก็บ(รักษา)


4.มรรค คือวิธีการ ขั้นตอน  สันติวิธี ต้องใช้ภาวนาปธานก่อ(สร้างให้เกิดขึ้น) (ในหลวงร.9เอานำหน้าในการพัฒนาประเทศไทย-โลก)

ทั้งนี้กระบวนการของสันติวิธีเชิงพุทธดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ  “โยฮันกัลตุง”ได้เสนอเป็นลักษณะ 3 เหลี่ยมคือ 1.การทำให้เกิดขึ้น 2.การสร้างสรรค์ และ 3.การรักษา พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ได้เสนอคือ 1.การป้องกัน (Prevention)   2.การเปลี่ยนผ่าน (Transformation)   และ 3.การแก้ไข   (Resolution)  ขณะที่ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาส ได้เสนอคือ 1.การป้องกัน 2.การแก้ไข  และ 3. การเยียวยา ซึ่งก็ตรงกับหลักปธาน 4  ตามที่“พระพรหมบัณฑิต” และ “พระราชปริยัติกวี” อธิการบดี มจร  ได้นำเสนอ  พร้อมกันนี้วิธีการพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส  ได้เสนอหลัก 3 แยกใน 4 คือ 1.แยกอารมณ์ออกจากคน  2.แยกคนออกจากปัญหา  และ 3. แยกปัญหาออกจากการแก้ไข(วิธีการ) เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแบบวิภัชชวาท (Segmentation) ซึ่งพระพุทธเจ้าให้จัดการกับตัณหาไม่ได้ให้จัดการกับตัวปัญหา  อย่างไรก็ตาม “โคทม อาริยา” ได้เสนอว่า “การจะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามได้นั้น จึงต้องแก้ที่ทัศนคติ  สร้างสันติวัฒนธรรม คือการปลอดพ้นจากความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมที่สันติวัฒนธรรม

...............

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก pramote OD Pantapat)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง

ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...