วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ม.พุทธฮังการีเปิดตลาดนัดนักสติโลกกว่า300ชีวิต หาสูตรยาอัดฉีดจิตอาสา"เยียวยาโรค-รู้เท่าทันโลก"




ตามที่ระหว่างวันที่ 23-27 สิงหาคม พ.ศ.2561 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร.  ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)  พร้อมคณะ เดินทางไปที่วิทยาลัยธรรมะ เกต ปูดาเปสด์ ประเทศฮังการี สถาบันสมทบของ มจร เพื่อปรึกษาหารือกับอธิการบดีจัดทำหลักสูตรร่วมกันในสาขาสติกับสมาธิ (Mindfulness and Meditation)ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญา 2 ใบ ตามนโยบายของพระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีรูปใหม่ ที่ตั้งใจผลักดันให้สำเร็จให้ได้ อันจะทำให้ชาวยุโรปได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติ ทั้งในเชิงวิชาการและการปฏิบัติการเกี่ยวกับสติและสมาธิอย่างเป็นระบบ หลังจากนั้นจะผลักไปสู่การเรียนแบบออนไลน์เชื่อมโยงกับห้องเรียนออนไลน์ ที่กำลังสร้างขึ้น ณ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มจร ภายในปีนี้นั้น





วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2561  พระมหาหรรษาพร้อมคณะได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติ (Mindfulness Platform) ที่มหาวิทยาลัยเอล เมืองบูดาเปสด์ ประเทศฮังการี (Budapest ELTE Univeristity Logymanyosi Campus)กับนักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักการศึกษา นักสังคมศาสตร์ นักจิตวิทยา นักการศาสนา ซึ่งเป็นชาวตะวันตก ทั้งยุโรป อเมริกา อเมริกาใต้ และแอฟริกาใต้กว่า 300 ชีวิต ในจำนวนนี้มีศ.ดร.พระคำหมาย ธัมมสามิ เจ้าอาวาสวัดพุทธวิหารออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ รวมอยู่ด้วย

พระมหาหรรษาเปิดเผยว่า  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเวทีแห่งสติครั้งนี้เปรียบเสมือน“ตลาดนัดนักสติโลก” เพราะมีการประเมินทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ผ่านการนำสติไปใช้ในสถานการณ์จริง ทั้งเยียวยาผู้พิการ ผู้สูงอายุ เด็กนักเรียน ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น ทุกคนสนใจสติ รูปแบบของสติที่มีการนำมาเสนอครั้งนี้ มาจากทั้งสติแบบคริสต์ สติแบบเซ็น สติแบบวิปัสสนา สติแบบวัชรยาน สติแบบมหายาน ทุกเช้าของการสัมมนาจึงเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกคนเลือกเข้าห้องปฏิบัติ เพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ แล้วพระพุทธศาสนาจะวางสถานะ บทบาท และทาทีอย่างไร?? เพื่อรองรับความต้องการ “ด้านสติ” ของชาวโลกครั้งนี้




#สติกับยา

#Mindfulness&Medicine&Meditation





ศาสตราจารย์จอห์น กาบัต ซิน (John Kabat Zinn) ในฐานะผู้ปาฐกถานำ ได้ย้ำผ่าน Live Stream จากอเมริกาว่า “ยาที่ดีที่สุดในการรักษาคือ สติ” การทางแพทย์ในยุคปัจจุบัน ได้นำสติไปช่วยให้ผู้ป่วยได้กำหนดเพื่อให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ไม่ให้มีอาการตึงเครียด ผ่อนคลาย เมื่อจิตใจและร่างกายใจมีท่าทีเช่นนี้ ยิ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีความสุขในการอยู่กับปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เพราะหลายครั้งจะพบว่า ผู้ป่วยจะติดอยู่อาการในอดีต และสับสนกับหนทางที่จะเกิดตามมาในอนาคตเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง ฉะนั้นการมีสติดูลมหายใจของตนเอง จะทำให้ผู้ป่วยสามารถอยู่กับปัจจุบัน และยอมรับกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดตามได้ง่ายยิ่งขึ้น ไม่วิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ




#สติกับความกดดัน

Mindfulness and Depress



รองศาสตราจารย์ ดร.แอนโทเนีย ซัมบุนดู (Antonia Zambundu) #นักจิตวิทยาคลีนิคจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้ย้ำว่า “เครื่องมือที่ดีที่สุดในการลดความกดดันในชีวิตและแารทำงานคือสติ” โดยจากผลการดำเนินโครงการ Mindfulness Based Cognitive Therapy: MBCT ของศูนย์สติ มากวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เทียบกับการศึกษาในประเด็นเดียวกันนี้ ในประเทศอเมริกา ได้ชี้ชัดไปในทิศทางเดียวกันกันว่า “การใช้สติเข้าไปพิจารณาและกำหนดรู้ลมหายใจ และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้อยู่กับตัวเอง รู้เท่าทันจิตใจของตัวเองนั้น ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผ่อนคลาย ไม่เครียด หรือหวาดกลัวต่อปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามากระทบจิตใจ




#คุณค่าสติในการศึกษาเรียนรู้

#Mindfulness in Education




“ในกระบวนการเรียนรู้ผ่านการจัดการศึกษานั้น สติเป็นเครื่องมือสำคัญในการกล่อมเกลาเด็กนักเรียน แต่ผู้ที่มีอิทธิพลมากในเรื่องนี้ คือ ครูสติ” เอมี่ เบริก กับเควิน (Amy Burke&Kevin Hawkins) สองสามีภรรยา ที่เปิดโรงเรียนนานาชาติอยู่ที่ปราก ประเทศเชโกสโลวาเกีย ได้ตอกย้ำเรื่องนี้ ผ่านประสบการณ์ที่นำสติไปปรับใช้การการศึกษา โดยการพัฒนาครูสติ (Mindful Teachers) เพื่อให้เกิดเป็นโรงเรียนสติ (Mindful School)

สองสามีภรรยาได้นำเสนอแง่มุม 3 ประการของการพัฒนาสติในการศึกษา (Three aspects of Mindfulness in Education) นั้นประกอบด้วยการมีสติ (Being Mindful) การสอนอย่างมีสติ (Teaching Mindfullly) และการสอนสติ (Teaching Mindfulness) หมายความว่า ผู้สอนหรือครูนั้น จะต้องมีสติอย่างเต็มกำลัง หลังจากนั้นจึงนำไปสู่การสอนสติ และสอนอย่างมีสติ ดังนั้น คุณภาพชีวิตที่ดีของครู พ่อแม่ และเด็กนั้น ควรเอาสติไปเป็นแกนในการพัฒนาทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม อารมณ์ และการเรียนรู้ ครูจึงควรเป็นเป็นมากกว่า Teaching แต่ควรเน้นไปที่ Learning




การศึกษาหรือสิกขา แกนกลางอยู่ที่สติ

ในพระพุทธศาสนานั้น กล่าวถึงไตรสิกขา ได้แก่อธิศีลสิกขา การศึกษาที่เน้นพัฒนาพฤติกรรมให้สอดรับกับสังคม และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อธิจิตตสิกขา การศึกษาที่เน้นการพัฒนาจิตใจให้รู้เท่าทันอารมณ์ที่เข้ามากระทบ และอธิปัญญาสิกขา การศึกษาที่เน้นการพัฒนาทักษะการใช้ปัญญาและความคิดให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจ และพัฒนานวัตกรรมและสิ่งต่างๆ ใก้เกิดคุณค่าแก่ชีวิต มนุษย์ และสังคม

ทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญานั้น แกนหลักจึงอยู่ที่ “สติ” เพราะสติจะทำหน้าที่เชื่อมโยงสิ่งต่างๆ ให้เกิดการประสมกลมกลืนกัน จนก่อให้เกิดพลังในการศึกษาและเรียนรู้ สิ่งแรกของการศึกษาจึงหมายถึงการรู้จักตัวเอง การเห็นตัวเองได้อย่างชัดเจน จะเป็นสิ่งอื่นมิได้ หากเราไม่สามารถดึงพลังของสติออกมาทำหน้าที่เป็นตัวผลักดันให้การศึกษา หรือสิกขาทั้งสาม ได้เปยตัวตนออกมาได้อย่างชัดเจน ยิ่งพัฒนาตัวสติให่เจริญเติบโตได้มากเพียงใด ยิ่งจะให้การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาให้สามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากเพียงนั้น




#ไร้สติไร้เมตตากรุณา

No Compassion without Mindfulness


"สติเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนให้เกิดความเมตตากรุณา เพื่อเป็นแรงพลักให้มนุษยรักผู้อื่น และออกไปทำงานรับใช้ผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข และพร้อมที่จะมีจิตอาสา เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น การอัดฉีดพลังของสติเข้าไปในจิตใจมากเท่าใด ย่อมส่งผลานุภาพของความเมตตากรุณาที่จะออกไปทำหน้าที่รับใช้มนุษยชาติได้อย่างทรงพลังมากเพียงนั้น จะเห็นว่า กลุ่มคนที่ออกไปทำหน้าที่รับใช้คนอื่นในสังคมจึงมีฐานการพัฒนาสติมาในระดับหนึ่ง มิฉะนั้น จะทำให้ยากต่อการเดินผ่านกระแสของโลกธรรมไปได้อย่างรู้เท่าทัน" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า



#กระแสสติกำลังตื่นตัว
#โอกาสพระพุทธศาสนา
#โอกาสแห่งการหยิบยื่นสติแก่ชาวโลก


ขณะที่สาขาต่างๆ มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วโลกที่มีความซ้ำซ้อนและขาดจุดแข็งกำลังปิดตัวลงไป พระพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบ “กฏแห่งสติ” และได้นำเสนอกฏนี้มากว่า 2,600 ปี นั้น กำลังได้รับโอกาสที่สำคัญในการทำหน้าที่หยิบยื่น “พลังแห่งสติ” แก่มนุษยชาติ และพระพุทธศาสตร์จะยังคงอยู่ตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์ที่มีความทุกข์ และต้องการสติเข้าไปช่วยกล่อมเกลา สติของชาวตะวันตกจึงไม่ใช่สติแบบท่องจำแบบนกแก้วนกขุนทอง หากแต่เป็นการนำสติลงสู่การปฏิบัติ (Inplementation) ดังจะเห็นได้จากการที่นักจิตวิทยาคลีนิคที่เป็นวิทยากรได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมประชุมว่า ทำอย่างไร?? ลูกจึงจะมีสติ คำตอบที่สวนกลับมาแทบจะทันทีคือ “พ่อแม่ต้องมีสติเสียก่อน” ฉะนั้น อย่าไปเสียเวลาอธิบายให้ลูกฟังว่าสติคืออะไร แต่จึงฝึกหัดสติให้เกิดขึ้นในจิตใจของตนเอง เมื่อนั้นลูกจะสามารถรับพลังแห่งสติผ่านวิถีชีวิตและลมหายใจของพ่อแม่



วิถีสติสำหรับเด็กในยุคดิจิทัล 

ประเทศตะวันตก ทั้งยุโรป และอเมริกาไปไกลมาก ในการออกแบบเครื่องมือในการฝึกสติ (Mindfulness Training) แก่เด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา Amy Burke และ Kevin Hawkins สองสามีและภรรยาจากแคนาดา และปราร์ก ได้ทุ่มเทอย่างหนักในการทำงานนี้ ท่านที่ทำงานกับเด็ก ซึ่งสนใจทำงานเช่นนี้ สามารถติดตามผลงานได้ที่ https://mindfulnessinschools.org/

.................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รัฐบาลจัดใหญ่เตรียม 24 ขบวน อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ “พระเขี้ยวแก้ว” จากจีน คาดผู้เข้าร่วมกว่า 2,700 คน

พระเขี้ยวแก้วจีนเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับการเคารพบูชาอย่างสูงในพระพุทธศาสนา การอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐานในประเทศไทยสะท้อนถึงความร...