วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ไทยแลนด์๔.๐! พุทธศาสนา"ก้าว ทัน ข้าม"อย่างไร?
ไทยแลนด์๔.๐! พุทธศาสนา"ก้าว ทัน ข้าม"อย่างไร? : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ประเทศไทยภายใต้การบริหารงานของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๗ จนถึงปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๖๑) โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ประเทศไทยได้เดินหน้าปฏิรูปประเทศอย่างเต็มรูปแบบในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา เพื่อเตรียมการเข้าสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ๒๕๗๙ และเป็นปีแรกที่ประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) ยุทธศาสตร์การวิจัยแห่งชาติ ๒๐ ปี และแผนการปฏิรูประบบวิจัยแบบบูรณาการของประเทศ ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.๒๕๖๐-พ.ศ.๒๕๖๔) และนโยบาย ไทยแลนด์ ๔.๐ โดยมีเป้าหมายให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
แต่สำนักสำรวจต่างๆได้สำรวจตรงกันอย่างเช่นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เผยผลสำรวจพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ของเด็กไทยพบว่าใช้เวลาในการท่องอินเทอร์เน็ต ๓๕ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทำให้เสี่ยงต่อภัยออนไลน์ถึง ๖๐% ขณะที่สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตโพล วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้สำรวจการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของกลุ่มพระสงฆ์ ซึ่งได้สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ๑,๑๖๙ คน ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๗ ก.ค.๒๕๕๙ พบว่า ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากับเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๖๔.๓๓ มีความคิดเห็นว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์จะสามารถช่วยทำให้ผู้คนได้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น พร้อมกันนี้การรับรู้และการพบเห็นการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มพระสงฆ์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๗๑.๒๖ ระบุว่าเคยพบเห็นกลุ่มพระสงฆ์ที่ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ไปในทางพุทธพาณิชย์ เช่น จำหน่ายวัตถุมงคล ปลุกเสกวัตถุมงคล จำหน่ายยาสมุนไพร เครื่องรางของขลังต่างๆ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๒๘.๗๔ ระบุว่าไม่เคยพบเห็น
ดังนั้นเมื่อสังคมไทยไปสู่ ๔.๐ แล้ว พระพุทธศาสนา ๔.๐ หน้าตาควรเป็นอย่างไร? จะตอบโจทย์ ๔.๐ อย่างไร? จึงจะทำให้ชีวิตและสังคมได้ประโยชน์ ด้วยการวางท่าทีให้รู้เท่าทัน และปรับตัวให้สอดรับกับวิถี ๔.๐ ติดตามแง่มุมดังกล่าวจากศาสตราจารย์ มัวริส ควี ประเทศเนเธอแลนด์ ได้ ณ #วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ #มจร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐น. เป็นต้นไป
"ไทยแลนด์ ๔.๐” หมายถึง วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย หรือ โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่เข้ามาบริหารประเทศบนวิสัยทัศน์ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ที่มีภารกิจส าคัญในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ เพื่อปรับแก้ จัดระบบ ปรับทิศทาง และสร้างหนทางพัฒนาประเทศให้เจริญสามารถรับมือกับโอกาสและภัยคุกคามแบบใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วรุนแรงในศตวรรษที่ ๒๑ ได้
"ไทยแลนด์ ๔.๐” คือ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม อย่างการเกษตรก็ต้องเปลี่ยนจากการเกษตรแบบดั้งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีหรือ Smart Farming โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ เปลี่ยนจาก SMEs แบบเดิมไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนจากรูปแบบบริการแบบเดิมซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่บริการที่มีมูลค่าสูง เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้และทักษะสูง
รัฐบาลมียุทธศาสตร์ใรการผลักดันภายใต้กรอบประกอบ ๑) โครงสร้างพื้นฐาน (Digital Infrastructure) ทั้งเน็ตประชารัฐ ซึ่งเป็นการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเข้าถึงหมู่บ้านทั่วประเทศ และเครือข่ายเคเบิลใต้น้ำ โดยเมื่อโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่จะตามมา คือ การใช้ประโยชน์จากเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้าน e-Commerce, e-Health และการเรียนรู้
๒) การผลักดันรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (Government Big Data) ด้วยการพัฒนาศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Goverment) ซึ่งมีองค์ประกอบ ๖ ด้านคือ ๑. Open Data ๒. Base Analytics Data ๓. Cloud Services Data อย่างเช่น Amazon และ Alibaba or MCU ๔. Hard ware,Soff Ware Data ๕. Data Analytic และ ๖. Data center เพราะปัจจุบันข้อมมูลที่มีจะต้องเป็นข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ (Data Analytic) ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ เพราะเป็นเรื่องใหญ่และหัวใจสำคัญคือจะต้องพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะต้องบอกได้ว่าข้อมูลอะไรที่สำคัญ ก่อนจะนำมารวมกันและสามารถนำไปใช้วิเคราะห์หรือสังเคราะห์ต่อได้ สำหรับการรวมข้อมูลในภาพรวมจริงๆ แล้วในประเทศไทยยังไม่ได้มีใครทำ ซึ่งเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่มองว่าเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มอบหมายให้ทุกๆ หน่วยงานเร่งทำ โดยกระทรวงการคลังก็ได้ทำเรื่อง Big Data นี้พอสมควร” นายอภิศักดิ์กล่าว ส่วนแรกที่กระทรวงคลังได้ทำไปแล้วคือการรวมข้อมูลของผู้เสียภาษีอากรให้มีเบอร์บัญชีเดียว ส่วนที่สองคือ ข้อมูลผู้มีรายได้น้อย และสำหรับส่วนที่สาม คือ ข้อมูลของรัฐวิสาหกิจ Big Data กำลังจะเข้าสู่ Digital Economy คณะรัฐมนตรีโดยใช้เอกสารบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่ต้องถ่ายเอกสาร
๓) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)๔) การพัฒนาเพื่อให้เกิดการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล (Application and Development) ได้แก่ IoT Institute, Digital Park, Smart Cities และ ๕) การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล (Digital Manpower) ให้แก่บุคลากรและประชาชนทุกระดับ
หลังจากนั้นได้มีการประชุมสัมมนาประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วนให้เข้าใจ และมีการพิจารณาปรับปรุงแผนการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยวันที่ ๒๓ ส.ค. ๒๕๖๑ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลแล้ว ได้ไห้ทุกหน่วยงานนำไปศึกษา ทบทวน และปฎิบัติตาม เพื่อจัดทำแผนใหม่ และอยากให้ทุกคนย้อนกลับไปดูว่ารัฐบาลเดินหน้าสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลถึงจุดไหนแล้ว และ จะต้องเดินต่อไปอย่างไร ตามนโยบายและคำสั่งการของผม และ เชื่อมั่นคนเก่งของผมจะต้องทำได้ตามหลักการที่ให้ไว้ในวันนี้อย่างแน่นอน
ขณะที่ภาคธุรกิจและเอกชนได้เตรียมพัฒนาคนเพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องถึงขั้นปัญญาประดิษญ์(เอไอ) หรือหุ่นยนต์ มาใช้ในภาคอุตสาหกรรม อาจจะส่งผลให้แรงงานตกงานได้ ภาคการศึกษาก็มีการปรับหลักสูตรพัฒนาคนให้สอดคล้อง
ทางด้านพระพุทธศาสนาที่ประชากรไทยส่วนใหญ่นับถือนั้นจากรายงานข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา ประจำปี ๒๕๕๙ ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีพระสงฆ์ทั้งมหานิกายและธรรมยุต จำนวน ๒๙๘,๕๘๐ รูป ปัจจุบันคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาตามที่มหาเถรสมาคมในฐานะองค์กรสูงสุดของสถาบันสงฆ์ไทย ได้กำหนดไว้ซึ่งมี ๖ ด้าน บวก ๑ แล้ว โดยมีความมุ่งหวังให้ “พระสงฆ์และวัดเป็นแกนนำเป็นศูนย์กลางของชุมชน” และสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี คือ “คณะสงฆ์ ไทยก็อาจจะทันสมัยยิ่งขึ้น ไม่กลายเป็นกลุ่มคนที่ล้าหลังในสังคม”อีกต่อไป
ขณะนี้ยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ได้เริ่มที่‘สมาร์ทการ์ดพระ’ มหาเถรสมาคม (มส.) ได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการประสานงานแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา (คปพ.) เสนอแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาระยะ ปี ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ มีโครงการเชิงยุทธศาสตร์ จำนวน ๑๔ โครงการ ประกอบด้วยโครงการนวัตกรรมเชิงพุทธ และฐานข้อมูลศาสนบุคคล (Smart Card) เป็นต้น โดยแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนานี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายศาสนจักรโดย มส.กับฝ่ายอาณาจักรโดยรัฐบาล เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งรักษาไว้ซึ่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในการยึดมั่นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นเข็มทิศสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะสถาบันศาสนาถือเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติที่จะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนชาวไทยให้เกิดความรัก สามัคคี และสร้างความมั่นคงทางศีลธรรม
พร้อมกันนี้มียุทธศาสตร์พระพุทธศาสนา ๔.๐ เพื่อสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี มีพระราชวรเมธี รักษาการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นประธานคณะกรรมการประสานแผนงานยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา จากการประชุมขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา ได้ระบุว่า คณะกรรมการได้ติดตามแผนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ โดยเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนและประสานระดับจังหวัดโดยเฉพาะฝ่ายปกครองที่ต้องเร่งจัดโครงการพระพุทธศาสนา ๔.๐ ฐานข้อมูลศาสนบุคคล หรือสมาร์ทการ์ดพระแทนใบสุทธิที่ใช้ในปัจจุบันให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๑ เพื่อนำไปต่อยอดทำแผนเพื่อการพัฒนาตรวจสอบข้อมูลศาสนบุคคลป้องกันกรณีการปลอมบวช การมีคดีความ โดยวัดที่มีความพร้อมจะกรอกข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ ส่วนวัดไม่พร้อมด้านเครื่องมือจะให้กรอกแบบฟอร์ม รายละเอียดฐานข้อมูลเพื่อส่งให้เจ้าคณะปกครองรวบรวมส่งมาสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
"แนวทางหนึ่งที่รัฐบาลเตรียมนำมาใช้คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้สำหรับการจัดทำข้อมูลและเก็บประวัติพระสงฆ์ด้วยการทำบัตรดังกล่าว ซึ่งแนวคิดเบื้องต้นหน้าตาจะคล้ายๆ กับบัตรประจำตัวประชาชนที่ฆราวาสใช้กันอยู่ทั่วไป และจะมี IC Chip หรือหน่วยความจำที่บันทึกข้อมูลสำคัญของพระสงฆ์แต่ละรูป บัตรสมาร์ทการ์ดพระจะบันทึกข้อมูลสำคัญๆ ของพระสงฆ์แต่ละรูปคือ ประวัติส่วนตัว (สถานะเดิม) เริ่มบวชเมื่อใด (วันที่อุปสมบท) วัดที่จำพรรษา ข้อมูลการสอบเปรียญธรรม การเลื่อนสมณศักดิ์ ประวัติอาชญากรรม เคยสึก หรือกลับมาบวชอีกหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถตรวจสอบประวัติพระรูปนั้นๆ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากใบสุทธิที่ใช้ปัจจุบันนี้เป็นบัตรกระดาษ ไม่สามารถบันทึกข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน โดยเบื้องต้นจะนำมาใช้กับพระชั้นผู้ใหญ่และพระที่บวชมากกว่า ๑ ปี"พระราชวรเมธี ระบุ
ขณะที่มหาวิทยาลังสงฆ์โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)นั้น เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ เปิดสอนระดับปริญญาตรี ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐสภาได้ตราพระราชบัญญัติรับรองเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกำกับของรัฐบาลใน พ.ศ. ๒๕๔๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เริ่มขยายการศึกษาไปสู่ต่างประเทศในปี พ.ศ.๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยร่วมกันองค์กรพระพุทธศาสนาทั่วโลกได้ร่วมกันลงนามจัดตั้งสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลกขึ้น เพื่อกระตุ้นให้องค์กรพระพุทธศาสนาได้ร่วมกันเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาโลกปัจจุบันนี้เป็นครั้งที่ ๑๕ แล้ว และได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลเป็นแม่งานในการจัดงานต่อเนื่องมา
พร้อมกันนี้ได้พัฒนายกระดับมหาวิทยาลัยนานาชาติ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานานาชาติ โดยย้ายจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ไปตั้งอยู่ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มีส่วนในการจัดทำหนังสือพระไตรปิฎกสากล ดังนั้น ผลงานของ มจร ๔.๐ จึงนับได้ว่าเป็นการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเชื่อมโยงกับนานาชาติ เพื่อการสื่อสารธรรมพัฒนาให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งปัญญาที่เป็นแสงสว่างในโลก โดยบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม มีส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมตั้งแต่ระดับชุมชนและระดับโลก มีการเรียนการสอนหลายระดับซึ่งในระดับปริญญาโทและปริญญามีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการสร้างนิสิตที่สามารถสร้างเครือข่ายแห่งปัญญาให้เกิดขึ้น ด้วยการเกิดสติและปัญญาบ่มเพาะโพธิแห่งปัญญา
ทั้งนี้สามารถประมวลพัฒนาการตามโมเดลไทยแลนด์ ๔.๐ ดังนี้ มจร ๑.๐ ยุคราชวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนเฉพาะภาษาบาลีซึ่งใช้เวลา ๖๐ ปี มจร ๒.๐ ยุคเรียนภาษาบาลีกับศาสตร์สมัยใหม่ใช้ระบบหน่วยกิตซึ่งยังไม่ได้รับการรับรองปริญญา มจร ๓.๐ ยุคเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีการรับรองปริญญา มีวิทยาลัยเขต มีเครือข่ายทั่วประเทศ มจร ๔.๐ ยุคมหาวิทยาลัยนานาชาติ เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานานาชาติ โดยย้ายจากวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร ไปตั้งอยู่ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มีส่วนในการจัดทำหนังสือพระไตรปิฎกสากล
ดังนั้น ผลงานของ มจร ๔.๐ จึงนับได้ว่าเป็นการสร้างนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเชื่อมโยงกับนานาชาติ เพื่อการสื่อสารธรรม พร้อมกันนี้มีการผลักดันให้เปิดการเรียนการสอนออนไลน์ โดยยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษบางแห่งได้เปิดสอนปริญญาโททางพุทธศาสนาออนไลน์มาหลายปีแล้ว จึงตั้งสมมติฐานการเปิดปริญญาโทสาขาปรัชญาออนไลน์เป็นต้น รวมถึงเปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนานิสิตให้เรียนรู้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโลกได้เพราะไม่เช่นนั้นก็จะตามโลกไม่ทัน ภายใต้การสนับสนุนของพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) ขณะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เพราะเห็นว่า "ยุคดิจิตอลเป็นยุคสังคมข่าวสาร เราจึงมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและพัฒนามาเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมในปี ๒๕๕๙ (Ministry of Digital Economy and Society) ถือว่าเรามาอยู่ยุคร่วมสมัย มีลักษณะ "ความรวดเร็ว" เช่นกรณีหมูป่าออกจากถ้ำเราสามารถรับรู้อย่างรวดเร็วแม้จะเป็นเหตุการณ์ในป่าในภูเขา ยุคดิจิตอลจึงต้องถือโอกาสแสวงหาความรู้ "ไม่มีขอบเขตจำกัด" สามารถไปได้ทั่วโลก และ "เชื่อมโยงเครือข่าย" โลกปัจจุบันจึงเชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่าย เราจะเลือกเป้าอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม ปัจจุบันครุศาสตร์เปิดสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ หลักสูตร ๔ ปี เป็นยุคดิจิทัล ถือว่าเป็นโอกาสของมหาจุฬาฯ เราจะสอนไปถึงการเขียนโปรแกรม ซึ่งอดีตเลขศูนย์ไม่มีคนอินเดียเป็นคนคิดเลขศูนย์ เพราะคนอินเดียชอบนั่งกรรมฐาน ปัจจุบันดิจิทัลมีราคาถูก อย่างเช่นกรณีการช่วยชีวิต ๑๓ หมูป่า ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเพราะอาศัยดิจิตอลถือว่าเป็นจิตอาสาของบุคคลทั่วโลก ครุศาสตร์ต้องมีการสอนด้วยจิตอาสา ออกไปช่วยสังคม
มหาจุฬาฯต้องมีความรวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุบัน มีจิตอาสาด้วยความสมัครใจทำงานเพื่อประโยชน์สุขแห่งประชาชนและสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทนเป็นเงินหรือสิ่งอื่นใด เราอยากเห็นการปฏิบัติศาสนกิจของนิสิตมหาจุฬาฯด้วยจิตอาสา โดยเฉพาะนิสิตที่ไปปฏิบัติศาสกิจกับชาวเขา แต่เราต้องถอดบทเรียนจากสิ่งที่เราพื้นที่ ต่อไปใครจะขอตำแหน่งทางวิชาการ จะต้องทำบริการวิชาการเพื่อสังคม ลักษณะของจิตอาสานั้นต้องเสนอตัวเข้าร่วมกิจกรรม อันเป็นประโยชน์สุขแห่งประชาชนและสังคม ด้วยความสมัครสมานเต็มใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ครูครุศาสตร์จะต้องมีจิตอาสาเป็นเครื่องนำทาง จิตอาสาจึงเป็นสังคหวัตถุธรรมด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตา"
หลังจากนั้นภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมกับ มูลนิธิเศรษฐีเรือทอง วัดพุน้อย จังหวัดลพบุรี จัดโครงการพัฒนาทรัพยากรสงฆ์เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาภาคใต้หัวข้อ “อบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนา Mobile Applicationบนระบบปฏิบัติการ Android” ระหว่างวันที่ ๑๐ - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ วัดพุน้อย ตำบลหนองม่วง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี โดยมีพระโสภณพัฒนคุณ เจ้าคณะอำเภอหนองม่วง เจ้าอาวาสวัดพุน้อย เป็นประธาน มีพระสงฆ์เข้าร่วมอบรมมากกว่า ๖๐ รูป ประกอบด้วยพระนิสิตสาขาวิชาการสอนพระพุทธศาสนาและจิตวิทยาการแนะแนว จำนวน ๔๐ รูป พระนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการเทศนา (ป.ทศ.) จำนวน ๒๐ รูป ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ จำนวน ๑๐ รูป/คน
สำหรับโครงการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ สามารถพัฒนาสื่อการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาผ่านระบบ Mobile Application บนระบบปฎิบัติการ Android ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “สังคมเปลี่ยนไปรูปแบบการนำเสนอธรรมก็ต้องเปลี่ยนแปลง” วิธีการนำเสนอธรรมให้เข้าถึงวิถีชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันผ่านระบบดิจิตอลจะทำอย่างไร? การอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนา Mobile Application บนระบบปฏิบัติการ Android จึงเป็นการให้ความรู้และประสบการณ์แก่พระสงฆ์ในการนำเสนอธรรมทางพระพุทธศาสนาบนโทรศัพท์มือ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงธรรมได้อย่างรวดเร็วตามวิถีการดำเนินชีวิตที่ยึดติดอยู่กับเทคโนโลยี ขณะเดียวกันยังเป็นการปฏิบัติรูปการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการสร้างองค์ความรู้จากการปฏิบัติ (Learning Outcome) ของผู้เรียน อย่างไรก็ตามโครงการนี้ถือเป็นโครงการนำร่องเพื่อนำไปสู่การขยายผลสำหรับการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสังคมยุคดิจิตอลต่อไป
พร้อมกันนี้ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ (IBSC) มจร ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการ IBSC ได้ร่วมกับบริษัท Google ประเทศไทย นำโดยนายไมเคิล จิตติวาณิชย์ หัวฝ่ายการตลาด Google ประเทศไทย ได้ประชุมเพื่อปรึกษาหารือแนวทางในการนำ Digital และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิทยาลัยให้ก้าวไปสู่ Smart College ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หรือ EdPEx เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ แนวทางในการนำดิจิทัลและเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความเป็นเลิศให้แก่วิทยาลัยนั้น ประกอบไปด้วยการพัฒนาองค์ประกอบภายในของวิทยาลัย คือ การนำ Big Data มาพัฒนาระบบการบริหารจัดการวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ และการพัฒนา และบูรณาการรูปแบบการเรียนการสอนของวิทยาลัยให้สามารถตอบสนองความต้องการของนิสิต และผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิผล และตอบโจทย์ของคณาจารย์ และนิสิต รวมถึงการให้การบริการด้านการศึกษาของเจ้าหน้าที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น ขณะที่การพัฒนาองค์ประกอบภายนอกนั้น เป็นการเปิดพื้นที่และจัดวางสถานะของพระพุทธศาสนาอยู่ในเวทีระดับโลก ๒ เวที (Global Platform) คือ
(๑) Smart Mind เวทีที่สามารถทำให้พระพุทธศาสนาสามารถสนองตอบความต้องการด้านสติ สันติ สมาธิ จิตใจ สุขภาพ ที่สังคมโลกกำลังกำลังอิ่มเอมกับวัตถุนิยมแล้วโหยหาความสุขจากภายในจิตใจ และ (๒) Smart Intelligence เวทีทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ที่นักวิชาการทั่วโลก ทั้งผู้สนใจเรียนด้านวิชาการ และนักวิจัย ที่สนใจมาศึกษาพระพุทธศาสนาแบบลึกซึ้งจนสามารถเข้าใจแก่นของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติจนเข้าถึงความจริงสูงสุดการดำเนินการโดยการนำ ดิจิทัล และเทคโนโลยีมาพัฒนาทั้งภายในองค์กร และภายนอกองค์กรโดยการศึกษาพระพุทธศาสนาสู่เวทีโลกนั้น จะสามารถนำ IBSC ไปวางเอาใน Platform อื่นๆ ในโลกนี้ ประดุจเอาสิ่งวางจำหน่ายในพื้นที่ขอบตลาดนัด (Sunday Market) ซึ่งจะทำให้ IBSC สามารถเป็นสะพานในการเชื่อมให้ชาวโลกได้รู้จัก ศึกษา เรียนรู้ แล้วกลุ่มคนที่สนใจพระพุทธศาสนาในมิติต่างๆ ทั้ง Texual Buddhism, Intellectual Buddhism, Practical Buddhism และ Engaged Buddhism เดินเข้ามาสู่โลกของพระพุทธศาสนาทั้งในมิติของจิตใจ และมิติของการศึกษาทางวิชาการ ณ วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติต่อไป
เมื่อนั้นภาพแห่งความฝันที่ว่า "ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ" จะบรรลุผลในที่สุด ต่อมาบริษัท กูเกิล ประเทศไทย ผนึกกำลังกับวิทยาลัยพุทธศาสตร์ มจร จัดหลักสูตร "Google for Education" ให้แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของวิทยาลัย เพื่อนำเครื่องมือของ Google ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน การจัดประชุม การบริหารจัดการสำนักงาน เพื่อให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาของวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากการประมวลมาทั้งหมดนี้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการรับฟังแง่มุมจากศาสตราจารย์ มัวริส ควี ประเทศเนเธอแลนด์ในวันดังกล่าว
..................
(หมายเหตุ : ข้อมูลจาก https://elibrary.trf.or.th/elibrarytalk.asp, http://www.banmuang.co.th/news/politic/122711,วันที่ 23 ส.ค.2561,https://www.posttoday.com/social/general/552371,เฟซบุ๊ก Hansa Dhammahasoและข้อมูลจากเว็บไซต์บ้านเมืองออนไลน์)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง
ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น