วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ดร.ศักดิ์เผยโซเชียลมีเดียคือถังข้อมูล Big Data ที่แท้จริง
วันที่ 30 ส.ค.2561 ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA เปิดเผยว่า มุมมองด้านข้อมูลในโลกดิจิทัลที่ปรากฏการณ์โพสต์บนสื่อโซเชียลมีเดียมีมากมายเช่นเหตุการณ์น้ำท่วม เด็กติดในถ้ำ มีทั้งภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อความติดแฮชแท็กภายใน 1 วันมีปริมาณมหาศาล นับเป็นข้อมูลบิ๊กดาต้า (Big Data) อย่างแท้จริง เพราะมีองค์ประกอบทั้งมิติด้านขนาดที่มโหฬารมาก และมีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ บางรูปแบบไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนและยังรวมถึงเวลาของข้อมูลนั้นๆ มีนัยสำคัญมากอีกด้วย
การจัดการบิ๊กดาต้าจึงต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพทั้งการจัดเก็บ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด และทันท่วงที และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้และเตรียมแผนรับมือ ลดการสูญเสียและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย นับได้ว่าเป็นเรื่องยาก
"ข้อดีของการนำข้อมูลจากสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้วิเคราะห์นั้นไม่ยาก เนื่องจากมีระบบรองรับการนำไปต่อยอดอยู่แล้ว และสิ่งที่ยากคือการจัดการบิ๊กดาต้าจึงต้องมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพทั้งการจัดเก็บ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อสร้างความเข้าใจที่สามารถตอบโจทย์ปัญหาต่างๆ ได้อย่างตรงจุด และทันท่วงที และสามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าได้และเตรียมแผนรับมือ ลดการสูญเสียและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่มากก็น้อย" ดร.ศักดิ์ กล่าวและว่า
นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากหลายๆ แหล่งให้เหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าข้อเท็จจริงถูกต้องหรือไม่ ถือเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ และการตีความหมายของข้อมูลที่เป็นภาพ หรือภาพเคลื่อนไหวให้กลายเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์ต่อที่เหมาะสม จำเป็นต้องมีการพัฒนาแบบจำลอง (Model) ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอและใช้ได้ในทุกกรณี จึงต้องมีการเตรียมการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถให้พร้อมด้วย
ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ดังกล่าวจะมีต้องมีการจัดตั้งทีมบิ๊กดาต้าภายในองค์กร เพื่อบริหารจัดการข้อมูลที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) นักสถิติ ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ ดังนั้นเมื่อเริ่มใช้ข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับภาครัฐ หัวใจสำคัญคือ การสร้างคนภาครัฐ ให้เข้าใจว่า บิ๊กดาต้าคืออะไร ลำดับต่อมาคือ การวิเคราะห์จากข้อมูลในลักษณะนี้จะนำมาใช้ทำอะไร อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นเป็นการทำ Small Data หรือ Big Data หัวใจที่สำคัญคือความเข้าใจในการนำไปใช้ต่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด
(หมายเหตุ : ที่มา http://www.banmuang.co.th/news/education/123489)
ทั้งนี้คนที่ทำหน้าที่นำข้อมูลดิบด้านต่าง ๆ มาประมวลผลผ่านการทดสอบจากการตั้งคำถามและสมมติฐานต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ Data Scientist โดยมีทักษะคือ 1.ทักษะการเขียนโปรแกรม 2.ความรู้ด้านสถิติและคณิตศาสตร์ 3.ความรู้ด้านธุรกิจ 4.ทักษะการสื่อสาร ตอนนี้ประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ในด้านนี้อยู่เป็นจำนวนมาก(ข้อมูลจาก NIA : National Innovation Agency, Thailand)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: ไทยใหญ่ใจแกร่ง
ເນື້ອເພງ :: #ດຣສົມພົງສ໌,ai ທຳນອງ: - ຮ້ອງໂດຍ #suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ไทยใหญ่ใจใหญ่พิทักษ์ถิ่น มิหวังลิ้นกลืนกินถิ่นใครเขา รักษาสั...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น