วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

องค์กรสื่อไทย-เทศจับมือ!ฆ่าข่าวปลอมไม่พอกำจัดข่าวอกุศลด้วย



องค์กรสื่อไทย-เทศจับมือ!ฆ่าข่าวปลอมไม่พอกำจัดข่าวอกุศลด้วย : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน






วันที่ 20 สิงหาคม 2561 ที่โรงแรมสุโกศล กทม. องค์กรสื่อได้แก่ สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์อาเซียน(CAJ) สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (CTJ) และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์(SONP)  ร่วมกันจัด Regional Forum เกี่ยวกับ FAKE NEWS ภายใต้หัวข้อ “The Rise of Fake News and How to Deal with It”

เชิญวิทยากรจากสื่อชั้นนำในอาเซียน จีน   และอินเดีย มาร่วมแบ่งปันข้อมูลและต่อเนื่องในวันที่ 21 สิงหาคม จัดประชุมที่อาคารสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร

นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ ประธานสมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้ระบุว่า  FAKE NEWS ได้เกิดขึ้นทุกวินาทีทั่วโลก ทั้งนี้สาเหตุมาจากอำนาจ มหาอำนาจ ผลประโยชน์และด้านบันเทิงด้วย จึงไม่สามารถที่จะห้ามไม่ให้ FAKE NEWS เกิดขึ้นได้ แต่เราสามารถสร้างประชากรโลกให้รู้เท่าทันได้ จึงเป็นที่มาของการจัดสัมมนาในครั้งนี้

"ปัญหาข่าวลวง ข่าวหลอกนั้นถือเป็นหนึ่งในหายนะของมวลมนุษยชาติ ซึ่งการแพร่กรจายของข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง อันเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งตนมองว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขโดยทำให้หายไปทั้งหมดได้ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนคือ เป็นเรื่องของอำนาจ เรื่องของผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และเรื่องความสนุกสนานส่วนบุคคล อย่างไรก็ตามปัญหานี้สามารถบรรเทาความรุนแรงลงได้ ซึ่งการเสวนาในวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะได้มีการแสวงหาความร่วมมือระดับภูมิภาค เพราะปัญหานี้ไม่สามารถที่จะแก้ไขได้เองลำพังได้ จึงขอเรียกร้องให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีความรู้เท่าทันสื่อด้วยกันเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ"นายปราเมศกล่าวและว่า

สื่อมวลชนจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน องค์กรสื่อต้องมีการให้การศึกษา พัฒนาศักยภาพของตัวเอง ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะใช้เป็นข้ออ้างในการควบคุมสื่อได้




วงสัมมนาได้ให้ผู้เข้าร่วมได้แชร์ประสบการณ์ของ FAKE NEWS ในประเทศต่างๆ ตัวแทนจากประเทศมาเลเซียได้ระบุว่าไม่ค่อยมีปัญหาเพราะมีการระบบการตรวจสอบชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบการศึกษาของประเทศเป็นสำคัญ ขณะที่ประเทศอินโดนีเซียนั้นได้ระบุว่ามีอยู่พอสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีการเลือกตั้ง

ทั้งนี้เพราะมีทีมรับจ้างโพสต์ข้อความปั่นกระแสในโซเชียลมีเดีย หรือที่มีชื่อเรียกว่า “บัซเซอร์” กำลังก้าวเข้ามามีบทบาทในสนามการเมืองของอินโดนีเซียมากขึ้น  โดยเฉพาะในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผู้สมัครทั้งหลายมักจะใช้บริการบัซเซอร์ให้โพสต์ข้อความเพื่อโจมตีคู่แข่ง หรือปั่นประเด็นทางการเมืองต่างๆ จึงส่งผลให้ “โรงงานผลิตแอ็กเคานต์ปลอม” ผุดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก     

นอกจากนี้บัญชีปลอมและบัญชีที่ไม่ระบุตัวตนนับร้อย เผยแพร่เนื้อหาที่มีการเหยียดเชื้อชาติ ทุกคนในทีมมีเฟซบุ๊ก 5 บัญชี ทวิตเตอร์ 5 บัญชี และอินสตาแกรม 1 บัญชี และถูกห้ามเปิดเผยข้อมูลและสถานที่ทำงานให้ใครรู้  จะเผยแพร่ข้อความรวมทั้งหมดประมาณ 2,400 ข้อความ/วัน และมีการวางแผนว่าในแต่ละวันจะต้องมีการเผยแพร่เนื้อหาและแฮชแท็กเกี่ยวกับประเด็นใด

ด้านประเทศเมียนมานั้นได้ระบุมีเช่นเดียวกันแต่ไม่ได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับมีการใช้เฟซบุ๊กข้อความแสดงความเกลียดชังชาวโรฮีนจามากกว่า 1,000 ข้อความในช่วงที่มีการปะทะที่ผ่่านมา  ส่งผลให้ทางผู้บริหารเฟซบุ๊กได้ว่าจ้างชาวเมียนมาที่เชี่ยวชาญด้านภาษา เพิ่มอีก 60 คน เพื่อช่วยในการตรวจตราข้อมูลแฃะกำจัดข้อความดังกล่าว และตั้งเป้าจะจ้างเพิ่มให้เป็นถึง 100 คนภายในสิ้นปี ทั้งนี้คงไม่สามารถช่วยกำจัดคอนเทนต์ไม่ดีดังกล่าวให้หมดไปได้โดยง่าย เฟซบุ๊กจึงนำปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence) เข้าไปทดลองใช้ในเมียนมาด้วย โดยปัจจุบันนี้ AI สามารถตรวจสอบคอนเทนต์ที่ก่อให้เกิดปัญหาและลบออกได้ถึง 52% ของคอนเทนต์ที่ถูกลบหรือถอดออกทั้งหมด

ทั้งนี้เพราะ FAKE NEWS นั้นก็สร้างขึ้นมาด้วย  AI เช่นเดียวกันจึงเป็นลักษณะเกลือจิ้มเกลือ แต่ในวงสัมมนาไม่ได้มีการระบุว่าจะมีการนำ AI มาแก้ปัญหา FAKE NEWS มีเพียงสร้างเว็บใช้ขึ้นมาเชคอย่างเช่นทางองค์กรสื่อไทยภายใต้ชื่อ "SONP" ได้สร้างเว็บไซต์ http://sonp.or.th/ ทั้งนี้คงเป็นเพราะต้องให้งบประมาณมากพอสมควร

"พร้อมกันนี้เฟซบุ๊กจะดำเนินการอย่างเข้มข้นกับสถานการณ์ในศรีลังกา อินเดีย แคเมอรูน และสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เช่นเดียวกับที่ทำในเมียนมา ทั้งนี้เพราะเฟซบุ๊กตกเป็นเป้าโจมตีของบรรดานักสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตลอดจนองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) หลังปล่อยให้แพลตฟอร์มของตัวเอง กลายเป็นสื่อในการสร้างความเกลียดชัง ดูหมิ่น เหยียดหยามชาวโรฮีนจา" ซาร่า ซู ผู้จัดการฝ่ายผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊กเปิดเผยกับวอชิงตันโพสต์ ระบุ

อย่างไรก็ตามในวงสัมมนาได้ยกนิยามความหมายของคำว่า FAKE NEWS เช่นข่าวปลอม ข่าวไม่จริง ข่าวเป็นเท็จ ข่าวไม่ดี (BAD NEWS) หากมีการนิยามเพียงเท่านั้น เครื่องมือที่จะควบคุมทางศีลธรรมก็เพียงศีลข้อ 4 คือมุสาวาทเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงวาจาสุภาษิณ 5 คือ จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์และประกอบด้วยเมตตา หรือหลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพหรือการสื่อสารแบบสันติ




และการนิยามความหมายของคำว่า FAKE NEWS ไม่ครอบคลุมถึงคำว่า ข่าวอกุศล ซึ่งหมายถึงข่าว ชั่วช้า, ไม่ดี, ไม่เป็นมงคล ซึ่งตามหลักอกุศลมูลหรือ อกุศลกรรมบถมี 3 ประการคือ คือ 1. โลภะ ความอยากได้เช่นข่าวบันเทิง ยั่วยุให้เกิดกามราคะเป็นต้น  2. โทสะ ความประทุษร้ายที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง รุนแรง และสังคม 3. โมหะ ความเขลา หลง ไม่รู้จริง ข่าวครอบงำให้ทฤษฎีเข็มฉีดยาหรือโฆษณาชวนเชื่อเป็นต้น

หากนำความหมายของคำว่า FAKE NEWS ตามที่นักสื่อสารและนักวิชาการทั่วไปนิยามแล้วจะไม่ครอบคลุ่มถึงข่าวอกุศล และพร้อมกันนี้ตามที่นิยาม GOOD NEWS นั้นก็จัดอยู่ในข่าวอกศลด้วย

วิธีการป้องกันและกำจัด FAKE NEWS โดยที่องค์กรสื่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้ร่วมกันสร้างเครื่องมือขั้นมานั้นอย่างเช่นเว็บไซต์ในการตรวจสอบแล้ว สำหรับผู้รับสารและผู้รับสารจะต้องมีนั้นก็คือการรู้เท่าทัน พร้อมกันนี้จะมีการกระบวนการของการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเริ่มตั้งแต่การชม ก่อนจะแชร์ก็ต้องชัวร์หรือชัวร์ก่อนโพสต์ อย่างไรก็ตาม FAKE NEWS จริงๆ ไม่น่าเป็นห่วงเท่าใดนักเพราะสามารถตรวจสอบง่ายด้วยเครื่องมือ แต่ FAKE NEWS แต่มีสภาพเสมือนเป็น GOOD NEWS โดยใช้ AI ในการสร้าง หรือ FAKE NEWS ใน GOOD NEWS โดยที่ผู้ัรับสารไม่ทราบนี้ยิ่งอันตรายมาก

เมื่อเครื่องมือด้านเทคนิคและวิทยาศาสตร์ไม่สามารถที่จะป้องกันได้ทั้งหมด การนำหลักธรรมโดยเฉพาะอย่างในพระพุทธศาสนาอย่างเช่นหลักของสติ กาลามสูตร โยนิโสมนสิการมาสร้างทักษะคิดรู้่เท่าทันแล้ว เชื่อแน่ว่าจะมี   GOOD NEWS ข่าวสร้างสันติภาพ สงบสันติสุขฉีดเข้าไปในสื่อออนไลน์ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ เว็บไซต์ เป็นต้น ก็เท่ากับเป็นการนำความรู้คู่คุณธรรมาใช้จัดการกับ FAKE NEWS ย่อมจะเกิดผลอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วธ.ร่วมสืบสานพิธีบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณี ส่งเสริมให้เยาวชนเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567  นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่า กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา ร่วมกับคณะสงฆ์ ...