วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์รมว.วิทย์แพร่คลิปฝึกสมาธิสัมพันธ์วิทย์
วันที่ 16 ส.ค.2561 จากกระแสความสนใจการปฏิบัติธรรมทั้งสมถะและวิปัสสนาทั้งภายในประเทศไทยและต่างประเทศอย่างกว้าง มีการเผยกิจกรรมผ่านทางสื่อออนไลน์อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างย่างบล็อก https://siampongsnews.blogspot.com เพราะมีการวิจัยรองรับเป็นวิทยาศาสตร์ วันนี้(16 ส.ค.) คนระดับรัฐมนตรีคือดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยผ่านเฟซบุ๊ก ดร. สุวิทย์ เมษินทรีย์ Dr. Suvit Maesincee ความว่า ทำไมจึงไม่สามารถบรรลุธรรมได้ด้วยการคิด
ผมเชื่อว่าหลายคนคงเคยฝึกปฎิบัติธรรม วิปัสสนา หรือนั่งสมาธิกันนะครับ หลายท่านทำได้ดีมีสภาวะธรรมที่ก้าวหน้า หลายท่านไม่สามารถทำได้ รู้สึกทรมานติดขัด ไม่มีสมาธิ
ผมมีคลิปสั้นๆ จาก Thaipbs ที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายการฝึกสมาธิ กับการทำงานของสมองตามหลักทางแพทย์ ทำให้เราเข้าใจหลักการของสมอง ร่างกาย ว่าสัมพันธ์กับการนั่งสมาธิอย่างไรในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ครับ
https://youtu.be/qh7dPl0HQdk
เชื่อแน่ว่า ดร.สุวิทย์ นำไปเปิดให้คณะรัฐมนตรีชมและปฏิบัติตามคลิปนี้เชื่อแน่ว่าดังไปทั่วโลกแน่ไม่ต้องใช้งบประมาณพีอาร์ผ่านสื่อต่างๆ รวมถึงสื่อออนไลน์ที่มีกระแสข่าวหมดไปหลายประมาณเป็นแน่ พร้อมกันนี้จะสามารถช่วยลดความขัดแย้งความเชื่อลงได้บ้าง แต่ไม่ทราบวัตถุประสงศ์ของดร.สุวิทย์ ในการโพสต์ครั้งนี้นำสมาธิสนับสนุนวิทย์หรือว่าจะวิทย์สนับสนุนสมาธิ หรือว่าวินๆทั้งสอง
"หรือว่าสมาธินี้คือคำตอบสำหรับ 3 ผู้นำโลกยุคใหม่คือ “แจ็ก หม่า” ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหารของกลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group Holding Lim-ited) “อีลอน มัสก์” นักธุรกิจและนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้ง และผู้บริหารของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (Space Exploration Technologies Corporation-SpaceX) และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และสถาปนิกผลิตภัณฑ์ของเทสลามอเตอร์ส (Tesla Motors, Inc.) และ “มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก (Facebook) เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่สุดของโลก ที่มองว่า เสนอว่า โลกยุคใหม่สถานการศึกษาต้องสอนสิ่งที่ AI ทำไม่ได้
“มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาการศึกษาในบันทึกบนเฟซบุ๊กของเขา เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2017 ว่า การสร้างผลลัพธ์ระยะยาวจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้ครูทุกคนในโรงเรียนทุกแห่งสามารถให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาแก่นักเรียนทุกคนได้ในแบบสนับสนุนแนวคิดการเรียนรู้แบบส่วนบุคคล (personalized learning)
“โดยในบันทึกนั้นเขายืนยันความคิดว่า การศึกษาดีที่สุด คือ การศึกษาที่เหมาะกับความต้องการของนักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง รวมถึงเขาเชื่อว่าการเรียนรู้ส่วนบุคคลสามารถพัฒนาได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี เพราะจะช่วยให้ครูสามารถกำหนดบทเรียนสำหรับนักเรียนในระดับความสามารถที่แตกต่างกันได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้น เด็ก ๆ ยังฝึกทักษะของตนเองผ่านแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ดีกว่าการเรียนในห้องเรียนแบบเดิมอีกด้วย”
ทั้งนั้นเพราะเป้าหมายของ “มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก” คือ การช่วยเรื่องการศึกษาของเด็กนับพันล้านคน ผ่านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่บริษัทเขาสร้างขึ้น เพราะหากพูดถึงเฟซบุ๊ก ครูและนักเรียนสามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือนี้ได้มาก เพราะแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ เป็นแหล่งข้อมูล, เป็นที่ทำโปรเจ็กต์ และการบ้าน, ช่วยในการแชร์ข้อมูลข่าวสาร, เป็นแหล่งแสดงความร่วมมือ และแสดงความคิดเห็น และใช้เป็นเครื่องมือจัดการห้องเรียนและองค์กร
“ผมมองว่าการศึกษาในยุคเทคโนโลยี คือ การที่ผู้สอนไม่จำเป็นต้องใช้ห้องเรียน และไม่ใช่คนสอน แต่ครูจะเป็นผู้ช่วยของนักเรียนมากกว่า โดยนักเรียนจะเรียนแบบจัดกลุ่มกันทำงานผ่านโน้ตบุ๊ก และเลือกใช้ซอฟต์แวร์ที่เหมาะกับงานที่ตนได้รับมอบหมาย และดิ้นรนหาคำตอบด้วยตนเองโดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
"ประชาชาติออนไลน์,3 มุมคิด “ผู้นำโลกยุคใหม่” “เราต้องสอนสิ่งที่ AI ทำไม่ได้”-,https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-204824วันที่ 16 สิงหาคมพ.ศ.2561
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น